การถือศีลอดคืออะไร ?
การถือศีลอดตามความหมายทางศาสนาของอิสลาม คือการงดเว้นจากการกิน การดื่ม การเสพ และการมีความสัมพันธ์ทางเพศ ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตกตลอดทั้งเดือนรอมฎอนของทุกปีซึ่งอาจจะมีระยะเวลา 29 หรือ 30 วัน โดยมีเจตนาว่าทำเพื่ออัลลอฮฺ
วัตถุประสงค์ของการถือศีลอดคืออะไร ?
เมื่อเราศึกษาจากคัมภีร์กุรอาน ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่บันทึกวจนะของอัลลอฮฺผู้ทรงกำหนดให้เราถือศีลอด เราได้พบบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการถือศีลอดว่า : "โอ้บรรดาผู้ศรัทธา การถือศีลอดได้ถูกกำหนดแก่สูเจ้าเช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้คนก่อนหน้าสูเจ้า ทั้งนี้เพื่อที่สูเจ้าจะได้รู้จักยับยั้งตนเองและเกรงกลัวพระเจ้า" (กุรอาน 2.183)
จากบทบัญญัติดังกล่าวทำให้เราได้รู้ว่าวัตถุประสงค์สำคัญของการถือศีลอดก็คือ "เพื่อที่สูเจ้าจะได้รู้จักยับยั้งตนเองและเกรงกลัวพระเจ้า"
"การยับยั้งตนเอง" หมายถึงการยับยั้งจากการกิน การดื่มและการมีความสัมพันธ์ทางเพศซึ่งเป็นความต้องการขั้นต่ำของสัตว์ทั้งหลายโดยทั่วไป
ส่วน "ความเกรงกลัวพระเจ้า" นั้นเป็นวัตถุประสงค์สำคัญที่อิสลามต้องการจะปลูกฝังให้แก่ผู้ศรัทธาเกิดความรู้สึกเกรงกลัวพระองค์ เพราะในเดือนรอมฎอน บางสิ่งบางอย่างที่เราเคยกินและเคยทำได้ถูกสั่งห้ามเป็นการชั่วคราวตลอดเวลากลางวันเรายังงดเว้นได้ทั้งๆที่มิใช่ของต้องห้าม เรามีเงินอยู่ในกระเป๋า แต่เราก็ไม่ซื้ออะไรกิน เราสามารถที่จะแอบกินได้ แต่เราก็ไม่ทำ เพราะเรามีความสำนึกว่าพระเจ้าเฝ้ามองเราอยู่ ดังนั้น เมื่อพ้นจากเดือนถือศีลอดไปแล้ว การถือศีลอดจะเป็นบทเรียนสอนให้เราเกรงกลัวพระเจ้าและงดเว้นจากการกินหรือทำในสิ่งที่พระองค์ทรงห้ามเป็นการถาวร เช่น สุรา การพนัน ดอกเบี้ย การผิดประเวณีและอบายมุขอื่นๆซึ่งไม่เกิดประโยชน์อะไรต่อตัวเองและสังคมแต่ประการใด
นอกจากนั้นแล้ว จากบทบัญญัติแห่งคัมภีร์กุรอานดังกล่าวข้างต้นยังบอกให้เราได้ทราบว่าการถือศีลอดมิใช่เพิ่งจะมีขึ้นในสมัยของท่านนบีมุฮัมมัด (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) เมื่อประมาณ 1,400 ก่อน หากแต่ได้มีการก่อนหน้านี้นานแล้ว
การถือศีลอดมีหลายประเภทเช่น
2. ศีลอดภาคสมัครใจ ที่ชายหญิงมุสลิมถือศีลอดในวันอื่น ๆ นอกเดือนรอมะฎอน
มุสลิมที่ต้องถือศีลอดเดือนรอมะฎอน
1. บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ หรือที่เรียกว่า บรรลุศาสนภาวะ ด้วยเหตุนี้ ศีลอดจึงไม่เป็นข้อบังคับสำหรับเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ (เด็กต้องมีอายุ 15 ปีจันทรคติบริบูรณ์หรือมีสัญลักษณ์อื่น ๆ เช่นฝันเปียกหรือมีประจำเดือน)
2. มีสติสัมปชัญญะครบบริบูรณ์ ศีลอดจึงไม่เป็นข้อบังคับสำหรับคนที่วิกลจริต แม้ว่าอาการวิกลจริตจะเกิดขึ้นชั่วขณะหนึ่งในเวลากลางวันก็ตาม
3. ไม่เมาหรือหมดสติ
4. ไม่เจ็บป่วย เพราะการถือศีลอดอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพกรณีที่ไม่สบาย
สาเหตุทำให้ศีลอดเสีย[แก้]
หมายถึง ผู้ถือศีลอดคนใดคนหนึ่งได้กระทำในสิ่งดังต่อไปนี้ถือว่า ศีลอดของเขาเสียทันที่ และจะต้องถือศีลอดชดใช้ภายหลังจากเดือนร่อมะฎอนได้ผ่านพ้นไปแล้ว สิ่งที่ทำให้ศีลอดเสียมีดังต่อไปนี้
1. ตั้งใจกิน ไม่ว่าจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม
2. ตั้งใจดื่ม ไม่ว่าจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม
3. ร่วมประเวณี ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
4. ตั้งใจให้ฝุ่นละออง หรือควัน หรือไอน้ำที่มีจำนวนมากเข้าไปในลำคอ
5. การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ไม่ว่าชายหรือหญิง
6. การสวนทวารด้วยของเหลวทุกชนิด
7. การตั้งใจอาเจียน
เข้าชม : 904
|