เป็นสถานศึกษาสังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาอัธยาศัยจังหวัดสงขลา
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอระโนด เดิมชื่อ ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอระโนด
ได้จัดตั้งตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จัดตั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ/กิ่งอำเภอ ประกาศ ณ วันที่ 27 สิงหาคม 2536
และกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ นายประดิษฐ์ ศิวิไล เป็นหัวหน้าศูนย์ 1 ศูนย์บริการการศึกษานอก
โรงเรียนอำเภอระโนด ในขณะนั้น จนถึงวันที่ 4 กรกฎาคม 2546 ต่อมาสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาได้มีคำสั่งให้ นางสาวอังสิยาภรณ์ อุ่นจิตต์
ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอระโนด ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2546 จนถึงวันที่ 25 มิถุนายน 2552
และได้มีคำสั่งสำนักงาน กศน.จังหวัดสงขลา แต่งตั้งให้ นางปาณิสรา อภิชัยสรพันธุ์ ตำแหน่งครูชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอระโนด ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2552 ถึงวันที่ 8 ตุลาคม 2552 นายประดิษฐ์ ศิวิไล
ได้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอระโนด ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2552 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2555
และมีนายไพโรจน์ คเชนทองสุวรรณ์ ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอระโนดในปัจจุบัน
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอระโนด เป็นสถานศึกษาที่ได้รับการประกาศในบัญชีรายชื่อศึกษา
ในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษา
ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 ตามประกาศ ณ วันที่ 10 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2551
เป็นชื่อสถานศึกษา “ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ เรียกโดยย่อว่า กศน.อำเภอ
ประวัติอำเภอระโนด
ตามประวัติเดิม อำเภอระโนดเป็นกิ่งอำเภอขึ้นกับอำเภอสทิงพระ ขณะนั้นแบ่งการ
ปกครองออกเป็น 10 ตำบล ได้แก่ ตำบลระโนด ตำบลท่าบอน ตำบลปากแตระ ตำบลระวะ ตำบลพังยาง ตำบลบ่อตรุ ตำบลวัดสน
ตำบลโรง ตำบลเชิงแส และตำบลเกาะใหญ่ โดยถือเอาคลองระโนด เป็นเขตระหว่างจังหวัดนครศรีธรรมราช กับจังหวัดสงขลา ต่อมา
ได้ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อ พ.ศ.2467 และได้รับโอนตำบลคลองแดน ตำบลบ้านใหม่ อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช และ
ตำบลตะเครียะ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มาขึ้นการปกครองของอำเภอระโนดด้วย รวมเป็น 12 ตำบล
คำว่า “ระโนด” ตามตำนานกล่าวถึงที่มาเป็น 2 ทาง คือ
1. มาจากคำว่า ระน๊ต ซึ่งเป็นภาษาขอมโบราณ แปลว่า “คราด” เป็นเครื่องใช้ในการทำนา อย่างหนึ่ง เพื่อทำให้
พื้นดินเรียบก่อนทำการปักดำข้าว เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้คงจะมีการทำนามาก จึงเรียกว่า “ทุ่งคราด” หรือ “ทุ่งระน๊ต” แล้วต่อมา
เพี้ยนเป็น “ทุ่งระโนด”
2. มาจากคำว่า “ราวโหนด” เพราะชาวเรือที่เดินทางมาติดต่อค้าขายได้อาศัยต้นตาลโตนด ซึ่งงอกเป็นทิวแถวเป็น
ที่หมายในการเดินเรื่อ ต่อมา “ราวโหนด” ได้เพี้ยนมาเป็น “ระโนด”
เมื่อปี พ.ศ.2505 อำเภอระโนดได้เปลี่ยนจากคำว่า “ระโนต” อักษร “ต” สะกดเป็น
“ระโนด” ใช้อักษร “ด” สะกด
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2521 ได้แยกตำบลโรง ตำบลเกาะใหญ่ และตำบลเชิงแส ตั้งเป็น
กิ่งอำเภอ ขึ้นใหม่ 1 แห่ง เรียกว่า กิ่งอำเภอกระแสสินธุ์ ทั้งนี้ เพราะพื้นที่อำเภอระโนด กว้างใหญ่มาก
และเมื่อปี พ.ศ.2525 อำเภอระโนด ได้แยกตำบลเพิ่มขึ้นอีก 1 ตำบล คือ แยกจากตำบลตะเครียะ เป็นตำบลบ้านขาว ปัจจุบันอำเภอระโนด
มีเขตการปกครอง 12 ตำบล 2 เทศบาล 73 หมู่บ้าน
ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน
ลักษณะการปกครอง
แบ่งเขตการปกครอง พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 เป็นตำบล 12 ตำบล
73 หมู่บ้าน มีเทศบาลตำบล 2 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 12 แห่ง
4.2 ลักษณะภูมิศาสตร์
อำเภอระโนดตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดสงขลา ที่ว่าการอำเภอระโนดห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 106 กิโลเมตร
มีเนื้อที่ 451.38 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 282,112.5 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอชะอวด อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสทิงพระ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับทะเลสาบสงขลา อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
4.3 ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มโดยทั่วไป ภูเขา ไม่มีภูเขา พื้นที่ ติดต่อกับทะเลสองด้านทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทย
ทิศตะวันตกติดต่อกับทะเลสาบสงขลา มีชายฝั่งติดต่อกับทะเลยาว
64 กิโลเมตร
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะทางภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมมี 2 ฤดู คือ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ กุมภาพันธุ์ - พฤษภาคม
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ มิถุนายน - มกราคม
ทรัพยากรลักษณะดิน
สภาพดินโดยทั่วไปเป็นดินเหนียว ส่วนพื้นที่ติดกับทะเลสาบสงขลาบางส่วนเป็นดินพรุพื้นที่ติดต่อกับอ่าวไทยเป็นดินเหนียวปนทราย
ทรัพยากรน้ำ
อำเภอระโนด ตั้งอยู่ระหว่างทะเลสาบสงขลาและอ่าวไทย มีลำคลองที่สำคัญ 12 สาย ยาว 153 กม. มีสระเก็บน้ำ ฝาย ทำนบ
กั้นน้ำ และอื่น ๆ 304 แห่ง
ทรัพยากรป่าไม้
อำเภอระโนด ไม่มีพื้นที่ป่าไม้แต่อย่างใด
ข้อมูลประชากรอำเภอ
มีประชากรทั้งสิ้น 74,680 คน แยกเป็นชาย 37,063 คน หญิง 37,617 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ยต่อพื้นที่ ประมาณ
165.12 คน/ตารางกิโลเมตร จำนวนครัวเรือน 18,093 ครัวเรือน
ด้านเศรษฐกิจและอาชีพ
เกษตรกรรม ได้แก่
1. การทำเป็นอาชีพหลัก อำเภอมีพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น 159,200 ไร่ ครอบครัว
เกษตรจำนวน 9,670 ครอบครัว สภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่
ที่
|
พืชเศรษฐกิจ
|
พื้นที่ปลูก(ไร่)
|
ผลผลิตเฉลี่ย (กก./ไร่/ปี)
|
จำนวนครัวเรือนที่ปลูก
|
1
|
ข้าวนาปี
|
132,000
|
400
|
9,200
|
2.
|
ข้าวนาปรัง
|
74,000
|
600
|
9,200
|
2. การเลี้ยงสัตว์ โค กระบือ สุกร แพะ แกะ ไก่ เป็ด ห่าน
3. อาชีพเสริมได้แก่ การรับจ้างทั่วไป
การอุตสาหกรรม ได้แก่
มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตดำเนินการและประกอบการ จำนวน 113 แห่ง
การพาณิชย์
1. มีสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ จำนวน 7 แห่ง
2. มีธนาคาร จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ,ธนาคารทหารไทย , ธนาคาร
ออมสิน,ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
3. มีสหกรณ์ จำนวน 1 แห่ง ได้แก่สหกรณ์การเกษตรอำเภอระโนด
การบริการ
1. มีโรงแรม/รีสอร์ท จำนวน 4 แห่ง สถานบริการและเริงรมย์ จำนวน 1 แห่ง
การท่องเที่ยว
1. มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ ทะเลสาบสงขลา ชายหาดอ่าวไทย หาดระวะ
ด้านสังคม
การศึกษา
มีสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาพื้นฐาน จำนวน 53 โรง
สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จำนวน 2 แห่ง
การศึกษาอื่น ๆ
มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกรวม 2 แห่ง ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด 12 แห่ง มัสยิด 2 แห่ง
การศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
การศาสนาประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณ 98 % ศาสนาอื่น ๆ ประมาณ 2 %
มีสถาบันหรือองค์กรทางศาสนา วัด ที่พักสงฆ์ จำนวน 44 แห่ง มัสยิด จำนวน 2 แห่ง
ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
ประเพณีชักพระ ทำบุญวันสาร์ทเดือนสิบ , ลอยกระทง
ด้านการสาธารณสุขและสาธารณูปโภค
สาธารณสุข
มีการให้บริการด้านการสาธารณสุข โดยมีสถานบริการ โรงพยาบาล 2 แห่ง
สำนักงานสาธารณสุข จำนวน 1 แห่ง สถานีอานมัย จำนวน 12 แห่ง
อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 98.06
หอกระจายข่าว จำนวน 45 แห่ง ครอบคลุมได้ร้อยละ 64.28
สาธารณูปโภค
มีการประปาระดับอำเภอและตามตำบล หมู่บ้าน
1) การประปาส่วนภูมิภาค จำนวน 1 แห่ง
2) การประปาหมู่บ้าน จำนวน 30 แห่ง
แหล่งน้ำกิน - น้ำใช้ประเภทอื่น
1) บ่อน้ำบาดาล จำนวน 182 บ่อ
2) บ่อน้ำตื้น จำนวน 87 บ่อ
3) ถังเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง
4) โอ่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน - ใบ
ด้านการคมนาคม
การคมนาคม ติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัด รวมทั้งการคมนาคมภายในตำบลและหมู่บ้าน มีรายละเอียดดังนี้
- ทางหลวงแผ่นดิน สายสงขลา – ระโนด ยาว 94 กิโลเมตร
- ถนนลาดยางสายระโนด – กระแสสินธุ์
- ถนนลาดยางสายระโนด – ตะเครียะ
- ถนนสายบ้านหัววัง - บ้านลานควาย
- ถนนลาดยางสายมาบเตย - บ้านพรวน
- ถนนลาดยางสายมาบบัว - บ้านเตย
- ถนนลาดยางสาวปากระวะ - คลองแดน
สำหรับเส้นทางเชื่อมระหว่างตำบลและหมู่บ้านเป็นสภาพถนนลูกรัง จำนวน 184 สาย
การโทรคมนาคมติดต่อสื่อสาร
- มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 1 แห่ง
- มีการให้บริการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ โดยมีคู่สาย
- มีหน่วยบริการผู้ใช้ไฟฟ้า สังกัดการไฟฟ้าภูมิภาคจังหวัด จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคระโนด
สถานที่สำคัญ
1. โครงการพระราชดำริฯ (ลุ่มน้ำปากพนัง) ติดเขตของอำเภอระโนด รวม 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลคลองแดน และตำบลบ้านขาว
พื้นที่รับผิดชอบ
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอระโนด มีพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 12 ตำบล รวม 73 หมู่บ้าน
นวนเทศบาล 2 แห่ง ดังนี้
ลำดับที่
|
ตำบล
|
จำนวนหมู่บ้าน
|
ชาย(คน)
|
หญิง(คน)
|
รวม(คน)
|
1.
|
ระโนด
|
7
|
6,599
|
6,541
|
13,140
|
2.
|
คลองแดน
|
5
|
1,943
|
2,062
|
4,005
|
3.
|
ตะเครียะ
|
5
|
2,332
|
2,515
|
4,847
|
4.
|
ท่าบอน
|
10
|
4,759
|
4,760
|
9,519
|
5.
|
บ้านใหม่
|
9
|
2,464
|
2,432
|
4,896
|
6.
|
บ่อตรุ
|
5
|
4,095
|
4,111
|
8,206
|
7.
|
ปากแตระ
|
6
|
2,883
|
2,922
|
5,805
|
8.
|
พังยาง
|
4
|
1,949
|
1,978
|
3,927
|
เทศบาลที่รับผิดชอบ 2 แห่ง
ลำดับที่
|
ตำบล
|
รวมชุมชน/
หมู่บ้าน
|
ชาย(คน)
|
หญิง(คน)
|
รวม(คน)
|
1
|
เทศบาลตำบล
ระโนด
|
8 ชุมชน
|
2,464
|
2,529
|
4,993
|
2
|
เทศบาลตำบล
บ่อตรุ
|
11 หมู่บ้าน
|
5,798
|
6,007
|
11,805
|
กรรมการสถานศึกษา
1. นายศุภพัฒน์ ตันธนกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ประธานกรรมการ
2. นายบุญแก้ว เทพฉิม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านความมั่นคง กรรมการ
3. นางสุทธิมา รัตนะ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศ กรรมการ
4. นายนราธิป สินโน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสาธารณสุข กรรมการ
5. นายเชิดศักดิ์ สถานติ้น ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเมืองการปกครอง กรรมการ
6. นางณัฏภัทร โชติช่วง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพัฒนาสังคมและชุมชนและสิ่งแวดล้อม กรรมการ
7. นายแลบ เพ็งศรี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น กรรมการ
8. นายอับดนเหล๊าะ นิยมเดชา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม กรรมการ
9. นายไพโรจน์ คเชนทองสุวรรณ์ ผอ.กศน.อำเภอระโนด กรรมการและเลขานุการ
10. นางบุสรา นิลเต๊ะ ครูผู้ช่วย ผู้ช่วยเลขานุการ
ครูและบุคลากร
ครูและบุคลากร รวม จำนวน 26 คน ประกอบด้วย
- ข้าราชการครู จำนวน 2 คน
- ข้าราชการพลเรือน จำนวน 1 คน
- ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน จำนวน 6 คน
- ครู กศน.ตำบล จำนวน 11 คน
- ครูสอนการศึกษาพิเศษ(สอนคนพิการ) จำนวน 4 คน
บุคลากรจ้างเหมา จำนวน 2 คน
อาคารสถานที่
- อาคารสำนักงาน จำนวน 1 แห่ง
- อาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอ จำนวน 1 แห่ง
- อาคารศูนย์การเรียนชุมชน(กศน.ตำบล) จำนวน 12 แห่ง/12 ตำบล