ประวัติความเป็นมา
ตำบลทับช้าง เป็นตำบลหนึ่งในเขตการปกครองของอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา คำว่า "ทับช้าง"
จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมา ครั้งหนึ่งช้างของพระยาปัตตานีจำนวน 1 เชือก ชื่อว่าพระยาหน้าดำได้หลบหนีมา
อยู่กับช้างป่าในบริเวณบ้านทับช้าง เมื่อท่านพระยาปัตตานีสืบทราบจึงได้ยกขบวนทัพมาเพื่อล้อมจับเชือกนั้น
โดยมีการตั้งเป็นเพนียดกั้นช้างมิให้หลบหนี ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าควนค่ายช้างซึ่งใช้เวลานานหลายเดือนจึง
สามารถจับช้างเชือกนั้นกลับปัตตานีได้ คำ "ทับช้าง" จึงน่าจะมาจาก "ทัพช้าง" ที่ยกมาจับช้าง
สภาพทั่วไป
ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ
ตำบลทับช้าง เป็นตำบลหนึ่งใน 10 ตำบล ของอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลาซึ่งตั้งอยู่ห่างจากอำเภอ
นาทวีไปทางทิศใต้ ตามถนนทางหลวงแผ่นดินสายนาทวี-บ้านประกอบ ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร
โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ จดเขต ตำบลสะท้อน อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ทิศใต้ จดเขต ตำบลประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันตก จดเขต ตำบลคลองกวาง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันออก จดเขต ตำบลสะท้อน อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
เนื้อที่
ตำบลทับช้าง มีพื้นที่ครอบคลุมทั้งหมด 10 หมู่บ้าน โดยมีเนื้อที่ทั้งหมด จำนวน
93 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่จำนวน 58,125 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ของตำบลทับช้าง เป็นที่ราบสลับกับเป็นที่ราบสูงและเนินเขา
ลักษณะภูมิอากาศ
แบ่งออกเป็น 2 ฤดูกาล
ฤดูร้อน จะเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม แต่อากาศของตำบลทับช้างจะไม่ร้อน
มากนัก เนื่องจากพื้นที่ของตำบลทับช้าง ตั้งอยู่ระหว่างแนวเขาน้ำค้าง และเทือกเขาสันกาลาคีรีซึ่งเป็น
พื้นที่ที่มีป่าไม้สมบูรณ์
ฤดูฝน จะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมซึ่งจะได้รับอิทธิพลจาก
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออีกครั้งในช่วงเดือนตุลาคมถึง
เดือนมกราคม ของทุกปี
จำนวนหมู่บ้าน 10 หมู่บ้าน
หมู่ที่ 1 บ้านทับช้าง
หมู่ที่ 2 บ้านเกาะงุน-กะทิงตาย
หมู่ที่ 3 บ้านโคกจง-คลองปราง
หมู่ที่ 4 บ้านไร่-หัวควน-หน้าวัด
หมู่ที่ 5 บ้านใหญ่
หมู่ที่ 6 บ้านคอก-วังไทร
หมู่ที่ 7 บ้านโคกเอาะ
หมู่ที่ 8 บ้านลุ่ม
หมู่ที่ 9 บ้านช่อนทอง
หมู่ที่ 10 บ้านเกาะจง
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (ระบบบริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน)
การคมนาคม
ตำบลทับช้าง มีเส้นทางคมนาคมที่สามารถใช้ติดต่อระหว่างหมู่บ้าน ระหว่างตำบล
ใกล้เคียง และติดต่อกับที่ว่าการอำเภอได้ตลอดปี ซึ่งมีเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ ดังนี้
ถนนสายอำเภอนาทวี - ตำบลประกอบ
มีระยะทาง 30 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง เริ่มต้นจากสามแยกบ้านวังโต้ หมู่ที่ 6
ตำบลนาทวี ผ่านตำบลท่าประดู่, หมู่ที่ 1, 7 ตำบลสะท้อน หมู่ 2,3 ตำบลทับช้าง สิ้นสุดที่ หมู่ที่ 5 ตำบลประกอบ ราษฎรจากตำบลทับช้าง จำนวน 10 หมู่บ้าน สามารถใช้ถนนสายนี้ได้ตลอดปี ถนนสายนี้เป็นทางหลักของตำบลทับช้าง ในการออกสู่ตลาด อำเภอนาทวี
ทางหลวงชนบท ถนน รพช. สายทับช้าง - บ้านลุ่ม
มีระยะทาง 9,900 เมตร เป็นถนนลาดยางในเขตชุมชน เริ่มต้นจากทางแยกจากถนนสายนาทวี-ประกอบ หมู่ที่ 7 ตำบลสะท้อน เข้าเขตตำบลทับช้างที่ หมู่ที่ 1 บ้านทับช้าง, ผ่านหมู่ที่ 4 บ้านไร่ ,หมู่ที่ 6 บ้านวังไทร, หมู่ที่ 7 บ้านโคกเอาะ สิ้นสุดที่หมู่ที่ 8 บ้านลุ่ม
ถนนลาดยาง บ้านช่อนทอง -บ้านเกาะจง
มีระยะทาง 2,000 เมตร เป็นถนนที่ราษฎรใช้ติดต่อระหว่างหมู่บ้าน สามารถใช้สัญจรได้ตลอดปี
ถนนลาดยาง นพค.43 สายบ้านลุ่ม - เกาะจง
มีระยะทาง 7,400 เมตร (เป็นถนนลูกรัง 5,400 เมตร ลาดยางแล้ว 2,000 เมตร) ราษฎรสามารถใช้เป็นเส้นทางในการประกอบอาชีพ และติดต่อระหว่างหมู่บ้าน
ถนน สปก. สายบ้านโคกจง - บ้านคลองปราง
ระยะทาง 5,394 เมตร สร้างโดยสำนักงานปฏิรูปที่ดิน (สปก.) ราษฎรใช้เป็นเส้นทางในการประกอบอาชีพและติดต่อระหว่างหมู่บ้าน ใช้ได้ตลอดปี
ถนน สปก. บ้านใหญ่ - บ้านช่อนทอง
ระยะทาง 3,500 เมตร สร้างโดยสำนักงานปฏิรูปที่ดิน (สปก.) เป็นถนนลูกรัง ราษฎรใช้เป็นเส้นทางในการประกอบอาชีพและใช้ติดต่อระหว่างหมู่บ้าน
ถนนลูกรัง สายทางหลวงชนบท บ้านวังไทร – บ้านนาปรัง
ระยะทาง 8,000 เมตร ราษฎรใช้เป็นเส้นทางในการประกอบอาชีพและติดต่อระหว่างหมู่บ้าน ใช้ได้ตลอดปี
ถนนลาดยางสายบ้านคอก- บ้านใหญ่
ถนนลาดยางระยะทาง 3,872 เมตร เริ่มหมู่ที่ 6 สิ้นสุดสามแยกบ้านใหญ่ –บ้านลุ่ม
ถนนสายเข้าบ้านทับช้าง
ระยะทาง 549 เมตร เริ่มจากสามแยกเข้าบ้านทับช้าง สิ้นสุดบ้านทับช้าง เป็นถนนคอนกรีตบล็อค
ถนน คสล. จำนวน 47 สาย ได้แก่
หมู่ที่ 1 บ้านทับช้าง จำนวน 4 สาย
หมู่ที่ 2 บ้านเกาะงุน –กะทิงตาย จำนวน 5 สาย
หมู่ที่ 3 บ้านโคกจง-คลองปราง จำนวน 4 สาย
หมู่ที่ 4 บ้านไร่-หัวควน จำนวน 5 สาย
หมู่ที่ 5 บ้านใหญ่ จำนวน 7 สาย
หมู่ที่ 6 บ้านคอก-วังไทร จำนวน 4 สาย
หมู่ที่ 7 บ้านโคกเอาะ จำนวน 4 สาย
หมู่ที่ 8 บ้านลุ่ม จำนวน 6 สาย
หมู่ที่ 9 บ้านช่อนทอง จำนวน 3 สาย
หมู่ที่ 10 บ้านเกาะจง จำนวน 5 สาย
การโทรคมนาคม
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง ( หมู่ที่ 2 )
การไฟฟ้า
- ปัจจุบันครัวเรือนของประชากรในตำบลทับช้าง มีไฟฟ้าใช้ประมาณ 99 %
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แหล่งน้ำที่ธรรมชาติ
- ลำน้ำ – ลำห้วย 16 สาย
- บึง,หนอง และ อื่น ๆ 5 แห่ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝาย 1 แห่ง
- บ่อน้ำตื้น 80 แห่ง
- บ่อโยก 7 แห่ง
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
ในส่วนของทรัพยกรธรรมชาติในพื้นที่ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ในตำบลทับช้าง เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ดังนั้น ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ จึงเป็นพืชจำพวกเศรษฐกิจ เช่น ยางพารา, ไม้ผล เป็นต้น ซึ่งเป็นรายได้หลักที่ทำให้ราษฎรในพื้นที่มีรายได้ดี
ด้านสังคม
สภาพทางสังคม
กลุ่มอาชีพประเภทต่าง ๆ จำนวน 13 กลุ่ม ได้แก่
- เกษตรกรกลุ่มเลี้ยงสัตว์ จำนวน 3 กลุ่ม
1. กลุ่มเลี้ยงสุกรบ้านใหญ่ หมู่ที่ 5
2. กลุ่มเลี้ยงสุกรบ้านโคกเอาะ หมู่ที่ 7
3. กลุ่มเลี้ยงปลาบ้านโคกเอาะ หมู่ที่ 7
- เกษตรกรกลุ่มน้ำยางสด จำนวน 4 กลุ่ม
1. กลุ่มน้ำยางสดบ้านหัวควน หมู่ที่ 4
2. กลุ่มน้ำยางสดคลองเป็ด หมู่ที่ 4
3. กลุ่มน้ำยางสดบ้านวังไทร หมู่ที่ 6
4. กลุ่มน้ำยางสดบ้านลุ่ม หมู่ที่ 8
- ร้านค้าสหกรณ์ หมู่ที่ 4 (จำนวน 4 กลุ่ม)
- ร้านค้าสหกรณ์ หมู่ที่ 6 (จำนวน 2 กลุ่ม)
- ร้านค้าสหกรณ์ หมู่ที่ 7
- ร้านค้าสหกรณ์ หมู่ที่ 8
- ร้านค้าสหกรณ์ หมู่ที่ 9 (จำนวน 2 กลุ่ม)
การศึกษา
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 แห่ง ได้แก่
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกะทิง หมู่ที่ 2
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวังไทร หมู่ที่ 6
3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านช่อนทอง หมู่ที่ 9
- โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 4 แห่ง ได้แก่
1. โรงเรียนบ้านกะทิง หมู่ที่ 2
2. โรงเรียนวัดวังไทร หมู่ที่ 6
3. โรงเรียนวัดบ้านลุ่ม หมู่ที่ 8
4. โรงเรียน ตชด.เชิญพิศลยบุตร หมู่ที่ 9
สาธารณสุข
- สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่
1. สถานีอนามัยทับช้าง หมู่ที่ 1
2. สถานีอนามัยวังไทร หมู่ที่ 6
3. สถานีอนามัยเกาะจง หมู่ที่ 10
- ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน ประจำหมู่บ้าน 10 หมู่บ้าน
- อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
ศาสนา
- ตำบลทับช้างมีสถานที่สำหรับประกอบพิธีทางศาสนาดังนี้
1. วัดทับช้าง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1
2. วัดวังไทร ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 6
3. วัดเทพนิมิตร ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 10
เข้าชม : 3194 |