กศน.ตำบลท่าประดู่ ต้นแบบแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต
ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน โดยจัดทำฐานเรียนรู้เพื่อเป็นจุดถ่ายทอดการจัดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน ซึ่งประกอบด้วยฐานเรียนรู้ ทั้งหมด 8 ฐานเรียนรู้ ซึ่งฐานการเรียนรู้เป็นไปตามความต้องการของคนในชุมชน เพื่อที่จะเป็นสถานฝึกปฏิบัติและค้นหาความรู้ได้อย่างสมบูรณ์ ประกอบด้วย
๑.๒.1 ฐานการขยายพันธุ์พืช ในการขยายพันธุ์พืชมีจุดสาธิต 8 จุด โดยได้รับการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการจากเกษตรอำเภอ และได้รับการสนับสนุนจากคนในชุมชนเข้ามาจัดกระบวนการการเรียนรู้ พื้นฐานการขยายพันธุ์จะมีแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ และขยายพันธุ์ด้วยเนื้อเยื่อ มีการเน้นเรื่องของการปลูกและขยายพันธุ์พืชที่มีอยู่ในท้องถิ่นและเป็นพืชที่สามารถใช้ประโยชน์ตลอดทั้งปี
จุดสาธิตที่ 1 การเพาะเห็ดมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ตั้งแต่การผสมก้อนเห็ด การใส่เชื้อเห็ดจนถึงขั้นตอนการดูแลโดย นายโยธิน พรหมณี หัวหน้า กศน.ตำบลท่าประดู่ เป็นวิทยากรหลักในการให้ความรู้ โดยผู้ที่เข้ามาฝึกสามารถนำผลผลิตกลับไปใช้ประโยชน์ได้โดยแบ่งหนึ่งส่วนไว้สำหรับจำหน่ายเพื่อเป็นต้นทุนในการจัดซื้อวัสดุในการฝึกต่อไป
จุดสาธิตที่ ๒ การปลูกไผ่กิมซุง ซึ่งเป็นไผ่ที่ทนแล้ง ให้ผลผลิตตลอดทั้งปี ประชาชนสามารถเข้ามาเรียนรู้วิธีการปลูกการดูแลรักษา รวมทั้งการขยายพันธุ์ไม้ไผ่ สามารถนำกลับไปปฏิบัติในครัวเรือนได้
จุดสาธิตที่ ๓ การปลูกผักสวนครัวแบบผสมผสาน มีการแบ่งแปลงให้คนในชุมชนเข้ามาปลูกผักสวนครัวได้ โดยที่ กศน.ตำบลท่าประดู่ จะเป็นผู้ดูแลในเรื่องของระบบน้ำ ปุ๋ย และเมล็ดพันธุ์ผัก โดยยึดหลักเกษตรธรรมชาติไม่ใช้สารเคมี มีเกษตรอำเภอเป็นผู้ให้ข้อมูลด้านวิชาการ มีครอบครัวเข้ามาทำแปลงผัก จำนวน ๑๐ ครอบครัว ซึ่งเป็นครอบครัวที่สมัครใจและมีความสนใจ บุคคลเหล่านี้สามารถเป็นวิทยาการถ่ายทอดความรู้ให้กับคนที่สนในเข้ามาศึกษาดูงานที่ กศน.ตำบลท่าประดู่
นอกจากนี้ กศน.ตำบลท่าประดู่ มีกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโทษของยาฆ่าแมลงและสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร รวมทั้งอบรมเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนให้กับครอบครัวที่เข้ามาทำเกษตรและคนในชุมชนที่สนใจเข้าฝึกเพื่อเป็นการเพิ่มความรู้และช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น
จุดสาธิตที่ ๔ การปลูกผักกางมุ้ง เป็นการจัดฐานการเรียนรู้วิธีการปลูกผักแบบควบคุมโรคและแมลงต่างๆ เป็นพืชผักที่ปลูกในที่ที่มีอากาศเย็น
จุดสาธิตที่ ๕ เป็นการปลูกไม้เลื้อยเป็นพืชพื้นเมืองที่หายาก รวมทั้งถั่วชนิดต่างๆ ซึ่งฐานนี้เป็นการรวบรวมพันธุ์ไม้ไว้ศึกษาเรียนรู้และสามารถนำกลับไปเพาะขยายได้
จุดสาธิตที่ ๖ การปลูกผักกูดกลางแจ้ง เป็นแปลงทดลองที่นำผักที่อยู่ในป่าชื้นมาปลูกไว้กลางแจ้ง โดยการควบคุมการรับแสงและการให้น้ำ เป็นฐานการเรียนรู้ที่เน้นให้เยาวชนได้รู้จักประโยชน์และ หวงแหนพันธุ์ไม้ของท้องถิ่น
จุดสาธิตที่ ๗ การปลูกพืชสมุนไพร เป็นการรวบรวมพืชสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เป็นยารักษาหรือบรรเทาโรคเบื้องต้นได้ และได้รับการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลท่าประดู่ รวมทั้งได้รับความร่วมมือในการนำสมุนไพรมาร่วมกันปลูกไว้ โดยกลุ่มชมรมเยาวชนคนรักษ์ถิ่นและร่วมกันดูแลและกลุ่มเยาวชนสามารถเป็นวิทยากรให้ความรู้กับผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงาน
จุดสาธิตที่ ๘ การทำนาข้าว มีการเตรียมพื้นที่ให้เหมาะแก่การปลูกข้าวแต่ละวิธี เช่น นาหว่าน นาดำ โดยเน้นให้เยาวชนได้ศึกษาวิถีชีวิตชาวนา โดยมี ผู้อาวุโส ภูมิปัญญาในท้องถิ่นร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้
|