หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
จำนวนครัวเรือน
|
จำนวนประชากร
|
รวม
|
หมายเหตุ
|
ชาย
|
หญิง
|
1
|
บ้านอ่าวทราย
|
142
|
171
|
162
|
333
|
|
2
|
บ้านตีน
|
52
|
93
|
97
|
190
|
|
3
|
บ้านนอก
|
193
|
268
|
279
|
547
|
|
4
|
บ้านแหลมพ้อ
|
120
|
196
|
223
|
419
|
|
5
|
บ้านท่าไทร
|
115
|
153
|
167
|
320
|
|
6
|
บ้านาผิน
|
120
|
181
|
157
|
338
|
|
7
|
บ้านป่าโหนด
|
77
|
110
|
126
|
236
|
|
8
|
บ้านห้วยเซาะ
|
52
|
68
|
83
|
151
|
|
9
|
บ้านสวนใหม่
|
89
|
118
|
127
|
245
|
|
รวม
|
960
|
1,358
|
1,421
|
2,779
|
|
การประกอบอาชีพ
การประกอบอาชีพโดยทั่วไปของชาวเกาะยอ เป็นแบบผสมผสานกันระหว่างการเกษตร การประมงและอุตสาหกรรมในครัวเรือน การเกษตรที่สำคัญ คือ การทำสวนผลไม้และสวนยางพารา การประมง มีทั้งการออกจับกุ้ง ปลา ตามธรรมชาติในทะเลสาบสงขลา และการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง ส่วนอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปของเกาะยอ คือ การทอผ้า นอกจากอาชีพดังกล่าวชาว เกาะยอในปัจจุบันยังตื่นตัวในเรื่องการค้าขาย โดยเฉพาะผู้ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่สองข้างทางหลวงสงขลา – นครศรีธรรมราช จะพยายามลงทุนทำการค้าโดยเปิดร้านอาหาร เครื่องดื่ม และของชำโดยเฉพาะในเขตหมู่บ้านที่ 2และ 3
ข้อมูลการเมือง/ การปกครอง ประกอบด้วย
ที่
|
ชื่อ - สกุล
|
ตำแหน่ง
|
หมายเหตุ
|
1
|
นายบรรหาร วรรณโร
|
ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1
|
|
2
|
นายนิพนธ์ แซ่ตัน
|
กำนันตำบลเกาะยอ
|
|
3
|
นายวีระ ศรีสุวรรณ
|
ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3
|
|
4
|
นางอารีย์ ไชยบุบผา
|
ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4
|
|
5
|
นายสงบ ศรีสุวรรณ
|
ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5
|
|
6
|
นายระเวียง นิลวรรณ
|
ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 6
|
|
7
|
นายจารึก กาลานุสนธิ์
|
ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7
|
|
8
|
นายชัยยุทธ เสาวคนธ์
|
ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 8
|
|
9
|
นายถวิล ไพโรจน์ภักดิ์
|
ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 9
|
|
ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและที่พัก
1. สถาบันทักษิณคดีศึกษา
เป็นหน่วยงานราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากับคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัยทักษิณ มีหน้าที่ในการศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับทักษิณคดี และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ ตลอดถึงเปิดการเรียนการสอนในระดับมหาดุษฎีบัณฑิตสาขาวัฒนธรรมศึกษา และสถาบันแห่งนี้เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา เป็นแหล่งเรียนรู้ของวัฒนธรรมภาคใต้ และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงของภาคใต้และประเทศไทย
2. วัดท้ายยอ
เป็นวัดเก่าแก่อายุกว่า 200 ปี มีสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่ล้ำค่า เช่น กุฏิแบบเรือนไทย สระน้ำโบราณ หอระฆัง นอกจากนี้ด้านหลังเป็นที่ประดิษฐ์สถานของเจดีย์ทรงลังกาที่งดงามของเขาเพหาร สันนิฐานว่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ 4
3. สวนสมรม
เป็นสวนที่ปลูกพืชผลไม้นานาชนิด เช่น ทุเรียน ลองกอง จำปาดะขนุน ส้มโอ กระท้อน เงาะ ฯลฯ รวมทั้งพืชชนิดอื่นๆ และมีการดูแลรักษาสวนโดยใช้แนวทางเกษตรชีวภาพ ใช้สมุนไพรป้องกันกำจัดศัตรูพืช เน้นเกษตรธรรมชาติไม่ใช้สารเคมี นอกจากนี้ผู้ที่ไปท่องเที่ยวยังได้ชมการสาธิตการทำปุ๋ยชีวภาพ ชิมผลไม้หลากหลายชนิดตามฤดูกาล
4. ศาลเจ้าไท้ก๋ง
สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งขณะนั้นชนชาติจีนเข้ามาค้าขายกับไทยเป็นจำนวนมาก ส่วนหนึ่งได้ตั้งรกรากสืบเชื้อสายในเกาะยอ และได้สร้างศาลเจ้าไท้ก๋งขึ้นเพื่อสักการะบูชา สร้างขวัญและกำลังใจแก่ชาวเกาะยอในสมัยนั้นจนถึงปัจจุบัน
5. สำนักสงฆ์เขากุฏิ
ตั้งอยู่บนเขากุฏิซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในเกาะยอ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานขององค์สมเด็จเจ้าเกาะยอ หรือสมเด็จเจ้าเขากุฏิ ตามตำนานเล่ากันว่าเป็นพระสงฆ์ที่เดินทางมาจากอยุธยาพร้อมสมเด็จเจ้าพะโค๊ะที่มาเผยแพร่พุทธศาสนา เป็นศูนย์รวมความเชื่อ ความศรัทธา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเกาะยอให้ความเคารพนับถือ เป็นที่กราบไหว้บูชาของชุมชนมาหลายร้อยปี และมีประเพณีสมโภชในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ของทุกปี ชาวเกาะยอจะร่วมใจกันขึ้นไปทำบุญตักบาตร และห่มผ้าองค์เจดีย์ ชาวบ้านเรียกกันว่า “ประเพณีขึ้นเขากุฏิ”
6. ฟาร์มเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง
ชาวเกาะยอนิยมเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังกันมาช้านาน กล่าวกันว่าเกาะยอเป็นแหล่งเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ปลากะพงขาวที่เลี้ยงในเกาะยอได้ชื่อว่ามีเนื้อรสชาติอร่อยที่สุด เพราะเป็นปลาที่เลี้ยงในระบบสามน้ำตามธรรมชาติ คือน้ำในทะเลสาบสงขลาจะมีช่วงระดับความเค็มอยู่3 ช่วง คือ ช่วงน้ำจืด ช่วงน้ำกร่อย และช่วงน้ำเค็ม “จึงเรียกกันว่าปลาสามน้ำ”
7. เรือนไทยโบราณ
เกาะยอเป็นถิ่นที่มีวัฒนธรรมท้องถิ่นผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมจีนและวัฒนธรรมไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ ทั้งประเพณี ความเชื่อ และศิลปหัตถกรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมอันแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาอันลึกซึ้งของชาวเกาะยอเกี่ยวกับการสร้างที่อยู่อาศัย เป็นเรือนแบบทรงไทยทรงจั่วยกพื้นสูง การก่อสร้างเป็นเรือนไม้ใช้เดือยหรือลูกสิ่วไม้แทนตะปู หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาเกาะยอ และที่สำคัญคือการนำหลักธรรมทางพุทธศาสนา “มงคลสูตร” มาใช้เป็นตัวกำหนดสัดส่วนต่าง ๆ ของตัวเรือน จึงเรียกว่า “เรือนมงคลสูตร” ตัวอย่างของเรือนมงคลสูตรที่สวยงามได้แก่ กุฏิเจ้าอาวาสวัดท้ายยอ และบ้านทรงเรือนไทยโบราณที่พบทั่วไปบริเวณเกาะยอ
ที่พัก
1. เกาะยอรีสอร์ท หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย
2. อ่าวทรายรีสอร์ท หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย
3. ภูผารีสอร์ท หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย
4. กรีนวิวรีสอร์ท หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย
5. ป.ทองรีสอร์ท หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย
6. มาร์ครีสอร์ท หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย
7. เกาะยออินน์ หมู่ที่ 6 บ้านในบ้าน
8. ริมเล หมู่ที่ 4 บ้านสวนทุเรียน
9. ริมเขา หมู่ที่ 1 บ้านอ่าวทราย
10. บ้านสวนรีสอร์ท หมู่ที่ 4 บ้านสวนทุเรียน
ประเพณีวัฒนธรรมที่สำคัญของเกาะยอ
1. ประเพณีแห่ผ้าขึ้นเขากุฎิ
ประเพณีแห่ผ้าขึ้นเขากุฎิ เป็นประเพณีที่สืบเนื่องมาจากความเชื่อเกี่ยวกับสมเด็จเจ้าเกาะยอ
หรือสมเด็จพระราชมุนีเขากุฎิของชาวบ้านตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ซึ่งชาวเกาะยอ มีความเชื่อว่าสมเด็จเจ้าเกาะยอเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเกาะยอที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างสูงและเป็นศูนย์รวมของคติความเชื่อความศรัทธาของชุมชนมาเป็นเวลายาวนาน โดยเฉพาะบนยอดเขากุฎิหรือเขากุดจะมีเจดีย์บรรจุอัฐิของสมเด็จเจ้าเกาะยอ ดังนั้นในแต่ละปีเมื่อถึงวันวิสาขบูชาขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ชาวบ้านจะนัดหมายกันขึ้นไปบูชา หรือสมโภชเจดีย์บนยอดเขากุฎิ มีการห่มผ้าเจดีย์ และองค์พระพุทธรูปแทนสมเด็จเจ้าเกาะยอ จนกลายเป็นประเพณีประจำปีที่ชาวเกาะยอถือปฏิบัติสืบทอดกันมาจนปัจจุบัน (แหล่งข้อมูล : สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ)
ประเพณีทำบุญเดือนสิบ
ประเพณีทำบุญเดือน 10 หรือชาวภาคใต้ทั่วไปเรียกว่า “วันชิงเปรต” หรือ ประเพณีชิงเปรต
เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่เปรตชนหรือบิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ที่ล่วงลับไปแล้วตามคติความเชื่อของชาวบ้านทั่วไป โดยการทำบุญบริจาคทานถวายพระภิกษุสงฆ์เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตาย กำหนดเวลาทำบุญเดือน 10 ไว้ 2 ครั้ง คือ วันแรม 2 ค่ำ เดือน 10 และวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ชาวบ้านมีความเชื่อกันว่าวันแรม 1 ค่ำ เป็นวันที่ยมบาลปล่อยให้เปตชนขึ้นมาเยี่ยมลูกหลานในเมืองมนุษย์ บุตรหลานจะเป็นผู้ทำบุญเลี้ยงต้อนรับครั้งหนึ่ง เรียกว่า “ทำบุญเดือน 10แรก” เมื่อถึงวันแรม 15 ค่ำ เป็น วันที่เปตชนจะต้องกลับยมโลก บุตรหลานจะทำบุญเลี้ยงส่งอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับส่งสิ่งของให้นำติดตัวกลับไปด้วย เช่น ขนมที่เก็บกินได้นาน ๆ หอม กระเทียม เป็นต้น
ประเพณีวันว่าง
ประเพณีวันว่าง ในวันนี้ชาวเกาะยอจะหยุดการทำงานต่าง ๆ ทุกคนจะไปร่วมชุมนุมกันที่วัด คนเฒ่าคนแก่จะไปทำบุญบังสุกุล พ่อ แม่ ตา ยาย ที่ล่วงลับไปแล้ว สำหรับวัดท้ายยอนั้นจะกำหนดวันว่างตรงกับ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 5 ส่วนวัดโคกเปี้ยวจะกำหนดวันว่างตรงกับ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 5
ประเพณีชักพระหรือประเพณีลากพระ
เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมานาน จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ชาวตำบลเกาะยอจะร่วมขบวนแห่เรือพระของวัดท้ายยอเข้าประกวด ณ บริเวณสระบัว (แหลมสนอ่อน)
5. ประเพณีสงกรานต์
เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวไทยมาตั้งแต่โบราณกาลถือกันว่าเป็นขึ้นปีใหม่หรือเถลิงศกใหม่แบบไทย ๆ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยอได้ร่วมสืบสานวัฒนธรรมไทยเป็นประจำทุกปี โดยจัดพิธีรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส ณ บริเวณวัดแหลมพ้อ
งานประเพณีลอยกระทง
วันเพ็ญเดือนสิบสองน้ำนองเต็มตลิ่ง........ เป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา เพื่อขอขมาและบูชาแม่น้ำลำคลองที่ชาวไทยใช้เป็นแหล่งอาศัยตั้งแต่สมัยโบราณกาล องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยอร่วมสืบสานวัฒนธรรม เป็นงานประเพณีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยเริ่มจัดงานรื่นเริงให้ประชาชนในตำบลเกาะยอได้ร่วมกันลอยกระทง ชมกิจกรรมการแสดงบนเวที
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนตำบลเกาะยอมีการประกอบอาชีพที่เกิดจากความคิดของบรรพ
บุรุษ ที่เป็นของเกาะยอหลายด้าน เนื่องมาจากตำบลเกาะยอสมัยก่อน การคมนาคม และการติดต่อสื่อสารกับสถานที่อื่นค่อนข้างลำบาก เพราะการคมนาคมทางเดียว คือ ทางเรือ ดังนั้นคนเกาะยอจึงประดิษฐ์ในสิ่งต่าง ๆ เพื่อใช้สอย และเพื่อดำรงชีวิตของคนในเกาะยอ ดังนี้
1. ผ้าทอเกาะยอ
ผ้าทอเกาะยอ เป็นผ้าทอพื้นเมืองของชาวเกาะยอ มีชื่อเสียงมาก มีความประณีตในการทอและมีสีสันลวดลายต่าง ๆ สวยงาม ผ้าทอเกาะยอเป็นศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านอันเป็นเอกลักษณ์ของเกาะยอและของจังหวัดสงขลา ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าชาวเกาะยอเริ่มทอผ้าในสมัยใดแต่ชาวเกาะยอรู้จักการทอผ้ามานานนับเป็นร้อยปี ตั้งแต่ครั้งมีผู้คนอพยพมาตั้งถิ่นฐานทำกินและมีการสอนสืบต่อกันภายในครัวเรือน ในปัจจุบัน ชาวเกาะยอมีอาชีพทอผ้า ประมาณ 200 คน สามารถผลิตผ้าทอเกาะยอ ได้ประมาณปีละ 100,000 หลา สามารถหาเลี้ยงชีพ อยู่ได้อย่างพอมีพอกินได้อย่างยั่งยืน ในปีพ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ยังให้เกียรติ นายกริ้ม สินธุรัตน์ ครูสอนทอผ้าเกาะยอโดยการพิจารณาอนุมัติให้ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาการออกแบบประยุกต์ศิลป์ ประจำปี 2549 จึงนับเป็นเกียรติอย่างยิ่ง แก่วงการทอผ้าเกาะยอ
พ.ศ. 2549 ผ้าทอเกาะยอ ได้รับการพิจารณา คัดสรรให้เป็นผลิตภัณฑ์ดีเด่นของจังหวัดสงขลาและยังได้รับ เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ทั้งนี้เพื่อเป็นการรับรอง คุณภาพและสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้ผ้าทอเกาะยอ “ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” (สินค้าโอทอป) โดยจัดให้มีการประกวด หมู่บ้านหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ หมู่บ้านโอทอปท่องเที่ยว ดีเด่นในระดับประเทศ ในการนี้ทางจังหวัดสงขลา ได้พิจารณาคัดเลือกให้ตำบลเกาะยอ หมู่ที่ 3 (บ้านนอก) ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ผ้าทอเกาะยอส่งเข้าประกวดและสามารถชนะการประกวดหมู่บ้าน “ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” (OTOP VILLAGE CHAMPION) ดีเด่นในระดับประเทศ
2. การดักไซนั่งและไซนอน
เป็นวิธีการทำมาหากิน ที่เป็นวิถีชีวิตของคนเกาะยออีกอย่างหนึ่ง เพื่อให้ได้สัตว์น้ำประเภทกุ้ง ปลา ในทะเลสาบสงขลามาใช้เป็นอาหารและจำหน่ายในครอบครัว ซึ่งวิธีการทำและการนำไปดักในทะเลสาบมีเทคนิคที่เป็นของคนเกาะยออีกอย่างหนึ่ง ปัจจุบันยังสามารถดูได้เกือบทุกหมู่บ้านในตำบลเกาะยอ
3. การป้องกันแมลงวันทองทำลายผลจำปาดะ
โดยใช้ทางมะพร้าวห่อผล (โคล๊ะ) เกษตรกรนำทางมะพร้าวมาตัดให้เหลือก้านใบ 10 -15 ก้าน จำนวน 2 ทางใบ นำมาสานในลักษณะลายขัด เป็นลูกขนาดกว้างและยาวพอเหมาะกับผลจำปาดะ นำมาสวมผลจำปาดะตอนผลเล็ก อายุประมาณ 20 -30 วัน ไม่ต้องเอาออกจนสุกเก็บเกี่ยวได้ แมลงวันทองหรือแมลงวันผลไม้ จะไม่เข้าทำลายผลจำปาดะ เป็นการลดการเสียหายของผลผลิต ปลอดภัยจากสารเคมี