พิพิธภัณฑ์พธำมรงค์ จังหวัดสงขลา
พิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์ หรือ บ้านของตระกูลติณสูลานนท์ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 1 ถนนจะนะ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา(ใกล้กับพิพิธภัณฑ สถานแห่งชาติสงขลา) ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีก แห่งหนึ่งของจังหวัดสงขลา จัดสร้างขึ้นโดยกรมราชทัณฑ์ในสมัยของนายสนิท รุจิณรงค์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ในขณะนั้น ทำการก่อสร้างเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2530 บนเนื้อที่143.5 ตารางวา งบประมาณ 736,039.26 บาท
เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2532 โดยนายพิศาล มูลศาสตร์สาทร ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในขณะนั้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้อนุชนรุ่นหลังได้ระลึกถึงตำแหน่ง "พะทำมะรง" (เดิมใช้คำว่า "พธำมะรงศ์") อันเป็นตำแหน่ง เก่าแก่ของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
ในขณะเดียวกันก็เป็นการ เชิดชูวงศ์ตระกูล "ติณสูลานนท์" ที่ครั้งหนึ่ง รอง อำมาตย์โทขุนวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) บิดาชองพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี ท่านได้เคยดำรงตำแหน่ง พะทำมะรง พิเศษเมืองสงขลา (พ.ศ.2457) จนกระทั่งได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช 2479 ตำแหน่งพะทำมะรงจึงได้ถูกยกเลิกไป
พิพิธภัณฑ์พธำมรงค์ จังหวัดสงขลา เป็นพิพิธภัณฑสถานที่จำลองรูปแบบบ้านพัก เดิมของรองอำมาตย์โทขุนวินิจทัณฑกรรม ในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งพระทำมะรงพิเศษ เมืองสงขลา จากความทรงจำของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตัวพิพิธภัณฑ์เป็นเรือนไม้ยกพื้นชั้นเดียว หลังคาทรงปั้นหยา 2 หลังคู่ มีชานเปิดโล่งเชื่อมถึงกัน ภายในมีการจัดแสดงข้างของเครื่องใช้ของครอบครัวติณสูลานนท์ในอดีต และประวติสกุลวงศ์ ปัจจุบันเทศบาลนครสงขลาเป็นผู้รับผิดชอบดูแลและพัฒนาให้เป็นศูนย์ข้อมูลการ ท่องเที่ยว
อนึ่งที่มาของตระกูล "ติณสูลานนท์" นี้ได้รับพระราชทานมาจาก "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว" เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ปีพ.ศ. 2462 เพื่อ ให้ปวงชนชาวไทยได้มีนามสกุลเพื่อเป็นหลักในการสืบเชื้อสาย เป็นธงชัแห่งครอบครัว และให้ผู้สืบสกุลได้ตั้งทั่นในคุณงามความดี โดยการรักษา ชื่อเสียงเกียรติยศของบรรพบุรุษผู้เป็นต้นตระกูล ให้มีความเจริญรุ่งเรืองมั่นคงสืบไป
คำว่า ติณสูลานนท์ เป็นนามสกุลของหลวงวินิจ ทัณฑกรรม นามเดิมว่า "บึ้ง" ผู้เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้องรวม 4 คน ของนายสุก และนางขลิบ ราษฎรชาวสวนแห่งบ้านท่าใหญ่ ตำบลท่าดี อำเภอลานสกา นายบึ้ง เกิดเมื่อ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2424
คำว่า ติณสูลานนท์ มีความหมาย ดังนี้
"ติิณ "แปลว่า "หญ้า"
"สูลา" แปลว่า "คม ยอด "
"นนท์ " แปลว่า "ความพอใจ"
เมื่อรวมกันเข้าเป็นคำว่า "ติณสูลานนท์" แล้วจะแปลว่า "ความยินดีในหญ้าที่มีคม"
ภาพประกอบ : กิตติพร ไชยโรจน์ www.siamsouth.com
เข้าชม : 804
|