ชื่อ กศน.ตำบล
|
ที่ตั้ง
|
ผู้รับผิดชอบ
|
กศน.ตำบลบ่อยาง
|
วัดสระเกษ ต.บ่อยาง อ.เมืองสงขลา
|
นางสาวพัชณี กังแฮ
|
ข้อมูลทั่วไปของตำบลบ่อยาง
คำขวัญ
คำขวัญประจำจังหวัดของจังหวัดสงขลาในปัจจุบันคือ “นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานป๋า ศูนย์การค้าแดนใต้” ซึ่งเปลี่ยนมาจากคำขวัญเมื่อจังหวัดสงขลาเป็นเจ้าภาพกีฬาแห่งชาติคือ “นกน้ำเพลินตา สมิหลาเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานป๋า เฟื่องฟ้าสุดสวย” และคำขวัญท่องเที่ยวครั้งแรกเมื่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยออกแคมเปญ Visit Thailand คือ “นกน้ำเพลินตา เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานติณ ถิ่นธุรกิจแดนใต้”
พื้นที่ 9.27 ตารางกิโลเมตร
ที่ตั้ง
อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลบ่อยางทั้งหมด มีลักษณะเป็นแหลมอยู่ระหว่างทะเลสาบสงขลากับฝั่งทะเลหลวง (อ่าวไทย) พื้นที่ 9.27 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ5,793.75 ไร่ ตั้งอยู่ ณ เส้นรุ้งที่ 7 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 101 องศาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครตามเส้นทางรถไฟ 947 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดิน 950 กิโลเมตร และทางทะเลประมาณ 725 กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดใกล้เคียงประเทศมาเลเซีย
สิงคโปร์ ดังนี้
- ระยะทางจากเมืองสงขลาถึงจังหวัดปัตตานี ทางหลวงแผ่นดิน 99 กิโลเมตร
- ระยะทางจากเมืองสงขลาถึงจังหวัดยะลา ทางหลวงแผ่นดิน 128 กิโลเมตร
- ระยะทางจากเมืองสงขลาถึงจังหวัดสตูล ทางหลวงแผ่นดิน 125 กิโลเมตร
- ระยะทางจากเมืองสงขลาถึงจังหวัดพัทลุง ทางหลวงแผ่นดิน 121 กิโลเมตร
- ระยะทางจากเมืองสงขลาถึงจังหวัดนครศรีธรรมราช ทางหลวงแผ่นดิน 161 กิโลเมตร
- อยู่ห่างจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย 480 กิโลเมตร
- อยู่ห่างจากประเทศสิงคโปร์ ประมาณ 718 กิโลเมตร
(ที่มา : แขวงการทางสงขลา)
อาณาเขต
เทศบาลนครสงขลามีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตอำเภอสิงหนคร
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองเขารูปช้าง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับทะเลสาบสงขลา
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบชายฝั่งทะเล มีลักษณะเอียงลาดจากฝั่งทะเลหลวงไปทางด้านทะเลสาบ รูปร่างของพื้นที่มีลักษณะเป็นแหลมแคบยาวตามแนวทิศใต้สู่ทิศเหนือลงสู่ทะเล ระหว่างทะเลสาบสงขลาทางด้านตะวันตกและทะเลอ่าวไทย ทางด้านตะวันออก มีคลองสำโรงไหลตามแนวทิศตะวันออกสู่ตะวันตก เชื่อมระหว่างอ่าวไทยและทะเลสาบสงขลา ความยาว 5.27 กิโลเมตร มีชายหาดที่สวยงาม หาดทรายขาวสะอาด จากหาด เก้าเส้ง ชลาทัศน์ สมิหลา แหลมสนอ่อน ความยาวประมาณ 8 กิโลเมตร ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเฉลี่ย 4 เมตร ระดับน้ำใต้ดินลึกจากผิวดินประมาณ 1–3 เมตร ด้านริมฝั่งทะเลสาบเหมาะแก่การจอดเรือ เพราะคลื่นลมสงบ ชายฝั่ง ไม่ลาดชัน ภายในเขตเทศบาลมีภูเขาเล็ก ๆ ทางด้านเหนือจำนวน 2 ลูก คือ เขาน้อยและ เขาตังกวน ยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 60 และ 80 เมตร ตามลำดับ มีคลองระบายน้ำจำนวน 2 สาย ได้แก่ คลองขวาง ความยาวประมาณ 1.4 กิโลเมตร และคลองสำโรง ความยาวประมาณ 5.27 กิโลเมตร
ประชากร
ประชากรในเขตเทศบาลนครสงขลา มีจำนวน 70,899 คน เป็นชาย 34,200 คน เป็นหญิง 36,669 คน จำนวนบ้าน 25,644 หลัง จำนวนครัวเรือน 20,127 ครัวเรือน บ้านชั่วคราว 1,855 หลัง ความหนาแน่นเฉลี่ย 7,648.22 คน/ตร.กม. จานวนประชากรเฉลี่ย 2.76 คน/หลังคาเรือนจำนวนราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 51,171 คน เป็นชาย 24,062 คน เป็นหญิง 27,109 คน (ขอมูล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2554
ศาสนา ประชากรนับถือ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์
ประวัติชุมชนโดยย่อ อายุชุมชน ปี เทศบาลนครสงขลา เดิมเรียกว่า ต่อมา
สมัยโบราณสงขลาเป็นชุมชนประมงบนคาบสมุทรสทิงพระต่อมาพ่อค้าชาวตะวันตกใช้เป็นท่าเรือสินค้าชุมชนจึง ขยายตัวเป็นเมืองท่าสำคัญปรากฏชื่อในแผนที่เก่าของชาวตะวันตก ว่า “Singora” เจ้าเมืองสงขลาย คนแรกเป็นชาวมุสลิม
สมัยกรุงศรีอยุธยาสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ส่งกองทัพมาปราบทําลายเมืองอย่างราบคาบ จึงมีการย้ายเมืองไปอยู่ที่แหลมสน (ปัจจุบันอยู่ที่บ้านบ่อเตย อําเภอสิงหนคร) เจ้าเมืองเป็นชาวพื้นเมืองบ้าง ชาวจีนบ้าง ตามยุคตามสมัย สมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมืองสงขลามีฐานะเป็นประเทศราชของอาณาจักรสยาม :ซึ่งทรงให้สร้างเมืองที่ฝั่งตำบลบ่อยาง ใช้เวลาสร้างเมืองถึง 10 ปีและรัชกาลที่ 4 ทรงเสด็จมาพํานักถึง 2 ครั้ง พ.ศ.2439 สงขลาเป็นที่ว่าการมณฑลนครศรีธรรมราช และ พ.ศ.2463 สถาปนาเป็นสุขาภิบาลเมืองสงขลา พ.ศ. 2478
ยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองสงขลาและ พ.ศ. 2542 มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองสงขลาเป็นเทศบาลนครสงขลา (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอน 110 ก. วันที่ 10 พฤศจิกายน 2542 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2542)
สงขลาจึงเป็นเมืองประวัติศาสตร์และศูนย์รวมของวัฒนธรรมทั้งไทย – จีน - มุสลิม และฝรั่ง ทั้งยังเป็น จุดยกพลขึ้นบกของกองทัพญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ประเพณี / วัฒนธรรม
ชาวสงขลาทั่วไปได้รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมโบราณของตนไว้หลายอย่าง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเพณีที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาซึ่งตนเลื่อมใสศรัทธา โดยได้ปฏิบัติสืบต่อกันมา
ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ
1. ประเพณีลากพระและตักบาตรเทโว เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนาน จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ณ บริเวณสระบัว(แหลมสนอ่อน) และการตักบาตรเทโว บริเวณเชิงบันไดเขาตังกวน โดยพระสงฆ์หลายร้อยรูปได้เดินลงมาจากเขาตังกวน และในช่วงสาย ๆ จะมีเรือพระจากวัดต่าง ๆ มารวมกันที่บริเวณสระบัวเพื่อร่วมประกวดและให้ประชาชนได้ชมความสวยงามและร่วมทำบุญ
2. ประเพณีสงกรานต์ เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวไทยมาตั้งแต่โบราณกาลถือกันว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่หรือเถลิงศกใหม่แบบไทย ๆ เทศบาลได้ร่วมสืบสานวัฒนธรรมไทยเป็นประจำทุกปีโดยจัดให้มีการทำบุญตักบาตรปล่อยนกปล่อยปลาจัดขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์อันเป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำจังหวัดสงขลาพิธีรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส ณ บริเวณศาลาไทยพร้อมการแข่งขันก่อเจดีย์ทรายบริเวณชายหาดแหลมสมิหลาทำให้งานประเพณีสงกรานต์เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ สามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวได้อีกทางหนึ่ง
3. งานประเพณีลอยกระทง วันเพ็ญเดือนสิบสองน้ำนองเต็มตลิ่ง...เป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา เพื่อขอขมาและบูชาแม่น้ำลำคลอง (พระแม่คงคา) ที่ชาวไทยใช้เป็นแหล่งอาศัยตั้งแต่สมัยโบราณกาลเทศบาลร่วมสืบสานวัฒนธรรม เป็นงานประเพณีที่จัดขึ้นประจำทุกปี โดยเริ่มจัดงานการรื่นเริงให้ประชาชนในจังหวัดสงขลาและละแวกใกล้เคียงได้ร่วมลอยกระทง ชมกิจกรรมการแสดงบนเวที ณ บริเวณสระบัวแหลมสมิหลา เป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมประเพณีให้เป็นที่รู้จักและส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา
4. งานแข่งขันว่าวนานาชาติ การละเล่นว่าวเป็นกิจกรรมนันทนาการที่ได้รับความนิยมและแพร่หลาย ซึ่งก่อให้เกิดความสนุกสนาน ผ่อนคลายความตึงเครียด เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์จนกลายเป็นวัฒนธรรมการละเล่นที่สืบต่อกันมา จนกระทั่งเทศบาลเล็งเห็นว่าเป็นวัฒนธรรมที่ควรส่งเสริมและเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จัก เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา เทศบาลจึงจัดให้มีการแข่งขันว่าวประเภทต่างๆขึ้นประจำทุกปี ณ บริเวณสนามสระบัว แหลมสมิหลา โดยมีผู้สนใจจากจังหวัดต่าง ๆ และชาวมาเลเซียเข้ามาร่วมกันแข่งขันเป็นจำนวนมาก
5. เทศกาลอาหารสองทะเลและอาหารพื้นบ้าน เทศบาลนครสงขลาได้ชื่อว่าเป็นเมืองสองทะเล คือติดกับทะเลด้านอ่าวไทยและทะเลสาบสงขลา ดังนั้นวิถีชีวิตของคนสงขลาจึงมีความผูกพันกับทะเลทะเลเป็นแหล่งประกอบอาชีพ และที่สำคัญเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เทศบาลเล็งเห็นความสำคัญของเมืองสองทะเล จึงจัดให้มีงานเทศกาลอาหารสองทะเลและอาหารพื้นบ้าน เริ่มตั้งแต่ปี 2543 โดยจัดให้มีกิจกรรมมากมาย อาทิ การประกวดนางสาวสมิหลา การออกร้านอาหารทะเลและอาหารพื้นบ้านมากมายบริเวณสนามสระบัว แหลมสมิหลา
6. มหรสพพื้นเมือง ที่นิยมกันมากคือ หนังตะลุง มโนราห์ โดยมีสถานที่ให้ชมที่ลานดนตรีและลานวัฒนธรรม
ผู้มีความรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านต่าง ๆ ในชุมชน
1. นายเธียรชัย เธียรประสิทธิ์ ที่อยู่ 20 ถ.สะเดา ซ. 5 ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา ความรู้ความสามารถ หมอนวดแผนโบราณ
2. นายสมปอง ชลเจริญ ที่อยู่ 91 ซ. 5 ไทรงาม ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา ความรู้ความสามารถ เชิดหนังตลุง
3. นายปราโมทย์ อินทนุ ที่อยู่ 62 ถ.สะเดา ซ. 5 ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา ความรู้ความสามารถ ด้านการทาสีบ้าน
4. นายเจริญ แก้วหล้า ที่อยู่ 48 ถ.สะเดา ซ. 5 ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา ความรู้ความสามารถ ด้านการเกษตร - ขยายพันธ์พืช
5. นางดรุณี มีลาย ที่อยู่ 39/1 ถ.สะเดา ซ. 5 ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา ความรู้ความสามารถ การเกษตร การขยายพันธุ์พืช เบอร์ติดต่อ 086-9588082
6. นางเตือนใจ สุวรรณรัตน์ ที่อยู่ 48 ซ. 1 ไทรงาม ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา ความรู้ความสามารถ ในการทำข้าวยำ - ขนมจีน
7. นางศิริรัตน์ ศรีสุทธิ์ ที่อยู่ 52 ซ. 1 ไทรงาม ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา ความรู้ความสามารถ การทำเถ้าคั่ว (เปรี้ยวหวาน)
8. นางล่วน อะหิงสระโร ที่อยู่ 113 ซ. 5 ไทรงาม ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา ความรู้ความสามารถ ขับกลอนสภา
9. นายตุ้ง ราชเมืองฟาง ชุมชนสมหวัง ความรู้ความสามารถ แสดงหนังตะลุง หมอบ้าน
10. นายประเสริฐ สังข์ทอง ชุมชนสมหวัง ความรู้ความสามารถ แสดงหนังตะลุง
11. นายอนันต์ ผ่องสุวรรณ ที่อยู่ 151/8 ชุมชนสมหวัง ถ.ริมทางรถไฟนอก ความรู้ความสามารถ การหล่อเทียนเข้าพรรษา
12. นายเรียง ชุมชน ที่อยู่ 144/13 ชุมชนสมหวัง ถ.ริมทางรถไฟนอก ความรู้ความสามารถ ช่างไม้ ช่างปั้น ช่างแกะสลัก
13. ด.ต.ปรีชา วงศ์รอด ที่อยู่ หมวดพยาบาล กก.ตชด.43 ความรู้ความสามารถ แพทย์แผนไทย/สมุนไพร/หมอพื้นบ้าน
14. นายเชือบ แก้วคีรีวรรณ ที่อยู่ 367 ราษฎร์อุทิศ 1 ความรู้ความสามารถ การทำลูกประคบ การทำยาดมสมุนไพร เบอร์โทรศัพท์ 081-6791495
สถานที่ท่องเที่ยวในเขตเทศบาล ได้แก่
จังหวัดสงขลาเป็นจังหวัดชายแดนภาคใต้ติดต่อกับประเทศมาเลเซียโดยสภาพทั่วไปจังหวัดสงขลามีศักยภาพที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะในเขตเทศบาลนครสงขลามีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติมีหาดทรายขาวสะอาดและโบราณสถาน ที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย สิงคโปร์ และชาติอื่น ๆ เข้ามาเที่ยวเป็น จำนวนมาก
จำนวนและลักษณะสถานที่แหล่งท่องเที่ยวในเขตเทศบาล
- ย่านเมืองเก่า อยู่บริเวณถนนนางงาม ถนนนครใน ถนนนครนอก ถนนยะลา เป็นถนนเล็ก ๆ เปิดให้รถวิ่งได้ทางเดียว ตึกและบ้านเรือนร้านค้าในละแวกนี้สร้างตามสถาปัตยกรรมแบบจีนปนยุโรป มีลวดลายปูนปั้นประดับที่กรอบหน้าต่างและหัวเสาสวยงาม นอกจากนี้ที่นี่ยังเป็นย่านอาหารพื้นเมืองของสงขลา เช่น ก๋วยเตี๋ยวสงขลา เต้าคั่ว และบริเวณหัวถนนนางงามก็มีร้านขายขนมกระบอก ซึ่งในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงเจ้าเดียวเท่านั้น
- แหลมสมิหลา อยู่ห่างจากตลาดทรัพย์สิน (ตลาดสดเทศบาล) ประมาณ 2.5 กิโลเมตรมีหาดทรายและทิวสนร่มรื่น เห็นทิวทัศน์ของแหลมสนอ่อนและหาดชลาทัศน์ และหากวันใดอากาศดีจะมองเห็นเขาเก้าเส้งอยู่ลิบๆนอกจากนี้ที่หาดสมิหลายังมีรูปปั้นนางเงือก สัญลักษณ์โดดเด่นของจังหวัด ซึ่งมีความเชื่ออยู่ว่าถ้าหากใครได้แตะต้องรูปปั้นนี้ก็จะได้กลับมาที่นี่อีกครั้ง
- แหลมสนอ่อน อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแหลมสมิหลา บรรยากาศร่มรื่นไปด้วยทิวสนขนาบสองข้างทาง เทศบาลได้พัฒนาเป็นสวนสองทะเลตามลักษณะภูมิศาสตร์ คือ ด้านทิศตะวันออกติดกับทะเลอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดกับทะเลสาบสงขลา ตรงปลายแหลม เป็นที่ประดิษฐานอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทั้งยังเหมาะแก่การนั่งพักผ่อนชมทิวทัศน์ด้วย และจากสวนสองทะเลเป็นจุดที่มองเห็นเกาะหนูได้ใกล้และชัดเจนที่สุด
- เขาเก้าเส้ง เดิมเรียกเขาเก้าแสนอยู่ติดกับหาดสมิหลาทางทิศใต้ใช้เส้นทางไปสถาบันเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งแห่งชาติ เป็นหาดสวยงาม ไม่พลุกพล่าน ริมหาดจะเห็นเรือกอและ และเรือหัวสิงห์จอดเกยหาดอยู่ เพราะใกล้กันนั้นเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมงมุสลิม ชายหาดเรียงรายไปด้วยก้อนหิน มีก้อนหนึ่งที่ตั้งเด่นอยู่เหนือโขดหินชาวบ้าน เรียกว่า “หัวนายแรง”
- เขาตังกวน อยู่บริเวณแหลมสมิหลา บันไดทางขึ้นอยู่ทางถนนราชดำเนินใน ก่อนถึงยอดเขามีศาลาวิหารแดง เป็นพลับพลาที่ประทับซึ่งรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างถวายตามพระราชประสงค์ ของรัชกาลที่ 4 บนยอดเขามีเจดีย์พระธาตุคู่เมืองสงขลาประดิษฐานอยู่ สร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราชเป็นศิลปะสมัยทวาราวดี จากยอดเขามองเห็นทิวทัศน์ของเมืองสงขลาได้โดยรอบ ทุกๆ ปีทางจังหวัดจะใช้สถานที่แห่งนี้สำหรับพิธีห่มผ้าองค์เจดีย์ ประเพณีตักบาตรเทโว และลากพระ ปัจจุบันมีลิฟต์ขึ้นเขาตังกวนที่มีรางวิ่งยาว 136 เมตร น้ำหนักบรรทุก 1,350 กิโลกรัม บรรจุผู้โดยสารได้ประมาณ 20 คน ให้บริการทุกวันเวลา 08.30 -18.30 น.
- พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสงขลา อยู่ที่ถนนจะนะตรงข้ามกำแพงเมืองเก่าสงขลา เดิมเป็นบ้านพักของพระยาสุนทรารักษ์ (เนตร ณ สงขลา) เป็นสถาปัตยกรรมจีนที่ยังสมบูรณ์ เก็บรวบรวมโบราณวัตถุต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จากบ้านเชียง สมัยหินกลาง หินใหม่ จากกาญจนบุรี ตลอดทั้งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยศรีวิชัย นอกจากนี้ยังจัดแสดงเครื่องใช้และเฟอร์นิเจอร์ที่ท่านเจ้าของบ้านเคยใช้อีกด้วย เปิดให้ชมเวลา 09.00 - 12.00 น. และเวลา 13.00 - 16.00 น.หยุดวันจันทร์ อังคารและวันหยุดราชการ
- วัดมัชฌิมาวาส (วัดกลาง) อยู่ที่ถนนไทรบุรี เป็นวัดใหญ่และสำคัญที่สุดของสงขลาอายุประมาณ 400 ปี เดิมเรียกว่า “วัดยายศรีจันทร์” พระอุโบสถเป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังแสดงถึงวิถีชีวิตของชาวเมืองในอดีต ใกล้กันนั้นยังมีพิพิธภัณฑ์ภัทรศิลป์เก็บวัตถุโบราณจากอำเภอต่าง ๆ เช่น อำเภอเมือง อำเภอสทิงพระ อำเภอระโนด ซึ่งนับเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์
- ประติมากรรมพญานาคพ่นน้ำ เป็นประติมากรรมลอยตัวมองเห็นได้รอบด้านเนื้อวัตถุประติมากรรมเป็นโลหะทองเหลืองรมสนิมเขียว ประกอบด้วย 3ส่วนคือ
1. ส่วนหัวพญานาค มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำตัว 1.20 เมตร ส่วนสูงจากฐานลำตัวจนถึงปลายยอดสุดประมาณ 9 เมตร ตั้งอยู่ที่บริเวณแหลมสนอ่อน สวนสองทะเลพ่นน้ำสู่อ่าวไทย
2. ส่วนลำตัวพญานาคหรือส่วนสะดือพญานาค เป็นลักษณะลำตัวโค้งครึ่งวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำตัว 1.20 เมตร ยาว 5.00 เมตร สูง 2.50เมตร ตั้งอยู่บริเวณสระบัว
3. ส่วนหางพญานาค มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.20 เมตร เรียวไปส่วนหาง ความยาว 4.00 เมตร สูง 4.50 เมตร ตั้งอยู่บริเวณถนนชลาทัศน์ หาดสมิหลา
- ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (ลานแคมปิ้ง) ให้บริการนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยจัดสร้างลานแคมปิ้งซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณแหลมสนอ่อน เป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวในรูปแบบเชิงอนุรักษ์ให้สอดคล้องกับการพัฒนาสงขลาไปสู่ความเป็นเมืองน่าอยู่ควบคู่ไปกับธรรมชาติ
- สวนประติมากรรมนานาชาติกับสิ่งแวดล้อมเฉลิมพระเกียรติฯ เทศบาลนครสงขลา ร่วมกับสมาคมประติมากรรมไทยและสถาบันศิลปะในประเทศไทย ได้จัดสร้างประติมากรรมนานาชาติขึ้น จำนวน 17 ชิ้น ตั้งอยู่บริเวณชายหาดสมิหลา, ลานคนเมือง ,สวนเสรีและสวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 50 พรรษา และในวโรกาสมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่นิสิต นักศึกษา และเยาวชนได้ศึกษาทางด้านสิ่งแวดล้อมอีกทั้งเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลาอีกด้วย
- สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อเป็นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีคุณภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มแก่กิจกรรมการท่องเที่ยวและบริการด้านท่องเที่ยว อันจะส่งเสริมให้กิจการท่องเที่ยว ของเทศบาลนครสงขลาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และจะเป็นแหล่งเรียนรู้หรือสถานที่ศึกษาของนักเรียน นักศึกษา เยาวชนและประชาชน ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพันธุ์สัตว์น้ำอย่างยั่งยืน และเป็นการสร้างจิตสำนึก ในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำประเภทที่ต้องการอนุรักษ์ต่อไป
- สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จัดสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา เพื่อเป็นศูนย์รวมและสร้างแรงจูงใจของพสกนิกรชาวไทยและนักท่องเที่ยวได้แสดงถึงความจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ และเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์สวนป่าบริเวณแหลมสนอ่อนหาดสมิหลา มีเนื้อที่ประมาณ 111 ไร่
- สวน 72 พรรษา มหาราชินี ตั้งอยู่บริเวณริมปากคลองสำโรงด้านทะเลสาบ พื้นที่ประมาณ 8 ไร่ เป็นโครงการที่ต้องการปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เทศบาลนครสงขลาใช้งบประมาณในการพัฒนาทั้งสิ้น จำนวน 35 ล้านบาท เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของชุมชนที่มีฐานะยากจน บริเวณใกล้เคียงภายในเขตเทศบาลนครสงขลา และพื้นที่ของเทศบาลตำบลเขารูปช้าง เป็นการเปิดมิติใหม่ของการท่องเที่ยวทะเลสาบสงขลา โดยใช้เป็น ที่จอดเรือท่องเที่ยวของประชาชนที่ว่างจากการทำประมงพื้นบ้าน นอกจากนี้ยังเป็นการรักษาคุณภาพน้ำให้ดีขึ้นโดยการปลูกต้นโกงกางประมาณ 25,000 ต้น เพื่อปรับปรุงระบบนิเวศน์ รองรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างแท้จริง
- พิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์ เป็นเรือนไทยที่สร้างจากความทรงจำของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ณ สถานที่ที่เคยเป็นที่ตั้งบ้านพักของ รองอำมาตย์โทขุนวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) บิดาของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งพะทำมะรงพิเศษหรือพัศดีที่เมืองสงขลาภายในจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้และประวัติสกุลติณสูลานนท์ พิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์เปิดให้เข้าชมระหว่าง 08.30 - 16.00 น. เว้นวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
แหล่งเรียนรู้ชุมชน
1. ชื่อแหล่งเรียนรู้ ชุมชน เรียนรู้ด้าน พัฒนา ที่ตั้ง ถ.ไชยา ซ. 4 ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา
2. ชื่อแหล่งเรียนรู้ อสม. เรียนรู้ด้าน สาธารณสุข ที่ตั้ง วัดตีนเมรุฯ
3. ชื่อแหล่งเรียนรู้ อาหาร เรียนรู้ด้าน การทำเครื่องแกง ที่ตั้ง 22/1 ถ.นาสาร ซ.1 ต.บ่อยาง
4. ชื่อแหล่งเรียนรู้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เรียนรู้ด้าน การศึกษา ที่ตั้ง ถ.เก้าเส้ง ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา
5. ชื่อแหล่งเรียนรู้ มัสยิดชุมชน เรียนรู้ด้าน ศาสนา ที่ตั้ง ถ.เก้าเส้ง ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา