[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
ธงชาติเคลื่อไหวประเทศเวียดนาม
 

ยินดีต้อนรับสู่    ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอเมืองสงขลา โทร 074-440048 , Fax 074315255 

 

 
ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองสงขลา



ชื่อสถานศึกษา

          ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองสงขลา ตั้งอยู่  ชั้น  ๔  อาคารเลขที่ ๒  ถนนรามวิถี  ตำบลบ่อยาง  อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา รหัสไปรษณีย์ ๙๐๐๐๐   ซึ่งใช้อาคารร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสงขลา โทรศัพท์. ๐-๗๔๔๔-๐๐๔๘ โทรสาร. ๐-๗๔๓๑-๕๒๕๕  E-mail muang-nfe@hotmail.com

 สังกัด

          สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสงขลา

                   สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน         

                             สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

 

 ประวัติความเป็นมา

ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองสงขลา    จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ  ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๓๖ โดย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายปราโมทย์  สุขุม  เป็นผู้ลงนามโดยประกาศจัดตั้งพร้อมกันทั่วประเทศ  จำนวน  ๗๘๙  แห่ง  โดยมีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ  ดังนี้

 จัดและให้บริการการศึกษานอกโรงเรียน การศึกษาเพื่อเสริมในระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย  ตามความต้องการสภาพท้องถิ่นจัดให้มีศูนย์การเรียน   หน่วยจัดการศึกษานอกโรงเรียน เพื่อเป็นเครือข่ายการบริการการศึกษานอกโรงเรียนได้อย่างกว้างขวางและทั่วถึง  และส่งเสริมให้ชุมชนจัดการศึกษาของตนเอง  ในลักษณะศูนย์การศึกษาชุมชนเพื่อเป็นศูนย์กลางในการจัดการศึกษาวางแผน และบริการการศึกษาต่อสมาชิกในชุมชนและระหว่างชุมชน

 สนับสนุนสิ่งจำเป็นต่าง ๆ ที่ใช้ในการดำเนินงานการศึกษานอกโรงเรียนของเครือข่ายทั้ง

ภาครัฐและเอกชน  เพื่อให้เกิดกระบวนการการเรียนการสอนและการบริการแก่กลุ่มเป้าหมาย

กำกับ  ดูแล  ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานการศึกษานอกโรงเรียน

โดยมี นายพลอย  ขวัญเพ็ชร  ผู้อำนวยการคนแรกของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองสงขลาได้ขอใช้ห้องทำงานของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสงขลา เป็นสถานที่ทำงานเป็นห้องขนาดเล็กเพียงห้องเดียว แต่มีการแบ่งสัดส่วนอย่างเป็นระเบียบ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้ไปใช้อาคารของห้องสมุดประชาชนประมาณ ๑ ปี ทางห้องสมุดก็ขออาคารคืน

          ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้กลับไปใช้พื้นที่ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสงขลา  เป็น

สถานที่ทำงานอีกครั้งหนึ่ง โดยในครั้งนี้ได้สถานที่ทำงานคนละฝั่งกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสงขลามีเพียงกระจกกั้นสามารถที่จะติดต่อกันได้  ฝ่ายนโยบายและแผน  ฝ่ายอัธยาศัยทำงานอยู่ชั้นล่าง ส่วนงานฝ่ายทะเบียนอยู่ชั้นสอง

          ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ นายอุดร  พงศ์พิบูลเกียรติ ได้เข้ามารับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นจุดเปลี่ยนผู้อำนวยการคนต่อมา  คือ  นายเจริญ  สุวรรณวงศ์  และในปี  ๒๕๕๑  ได้มีประกาศจากสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนให้เปลี่ยนชื่อจาก ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ........... เป็น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ.............. เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๑ ที่ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองสงขลาได้เปลี่ยนชื่อสถานศึกษา  เป็นศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองสงขลาใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน

 

 ทำเนียบผู้บริหาร

 

ลำดับที่

ชื่อ – สกุล

ตำแหน่ง

ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง

นายพลอย  ขวัญเพ็ชร

หัวหน้าศูนย์ กศน.อำเภอเมืองสงขลา 

ตั้งแต่  ๒๕๓๖-๒๕๔๖

นายอุดร  พงศ์พิบูลเกียรติ

ผอ.ศูนย์ กศน.อำเภอเมืองสงขลา

ตั้งแต่  ๒๕๔๖-๒๕๕๑     

นายเจริญ  สุวรรณวงศ์  

ผอ.ศูนย์ กศน.อำเภอเมืองสงขลา

ตั้งแต่  ๒๕๕๑-ปัจจุบัน

 
อัตลักษณ์สถานศึกษา

“ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง”


เอกลักษณ์สถานศึกษา

การศึกษาตามอัธยาศัยเด่น


 ปรัชญาสถานศึกษา

          วิสัยทัศน์ก้าวไกล ใส่ใจการเรียนรู้  คู่คุณธรรม

 วิสัยทัศน์สถานศึกษา

          ประชาชนอำเภอเมืองสงขลา  ได้รับการศึกษาตลอดชีวิตอย่างทั่วถึง  ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  มุ่งสู่ประชาคมอาเซียน

 พันธกิจ    

๑. จัดการศึกษาให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่อยู่นอกโรงเรียนตามความต้องการและความจำเป็น

๒. พัฒนาการเรียนรู้ให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้มีคุณธรรมนำความรู้ และมีทักษะการดำรงชีวิตบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

๓. ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

๔. ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตจากสื่อเทคโนโลยี เพื่อการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย

๕. พัฒนาประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

 เป้าประสงค์

          เพื่อให้ประชาชนในอำเภอเมืองสงขลา  ได้รับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ  อย่างทั่วถึง  เท่าเทียมเสมอภาค  และต่อเนื่องบนพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน 

 เป้าหมาย

๑. เป้าหมายด้านการยกระดับการศึกษาและการขยายโอกาสทางการศึกษา

                   เป็นการยกระดับการศึกษาพื้นฐานให้กับประชาชนวัยแรงงาน และการขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีความประสงค์จะได้รับการศึกษา โดยกำหนดเป้าหมายไว้ ดังนี้

          ๑.๑ เป้าหมายระดับบุคคล

                   ๑) ประชากรวัยแรงงาน (อายุ ๑๕-๕๙ ปี) ได้รับการยกระดับการศึกษาที่สูงขึ้นถึงระดับมัธยมศึกษา และการศึกษาต่อเนื่อง จำนวน ๒,๒๘๔,๐๐๐ คน โดยจำแนกเป็น

                             ๑.๑ ประชากรวัยแรงงานอายุ ๑๕-๕๙ ปี จำนวน ๑,๑๒๑,๐๐๐ คน ได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา

                             ๑.๒ ประชากรวัยแรงงานอายุ ๔๐-๕๙ ปี ได้รับการศึกษาต่อเนื่อง (การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ และการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน)

                   ๒) ประชากรกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน ๑๒๕,๐๐๐ คน ได้รับการศึกษาต่อเนื่อง ประกอบด้วยการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การศึกษาพัฒนาทักษะชีวิต และการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน และได้รับการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย

                   ๓) ประชากรกลุ่มผู้ด้อยโอกาส เช่น ประชากรกลุ่มชาติพันธ์ เด็กจากครอบครัวที่

ยากจน สตรี เด็กและเยาวชนในสถานพินิจ ผู้ต้องขัง ประชากรพื้นที่บริเวณชายแดน ประชากรในพื้นที่ชนบทห่างไกล ผู้พิการ ผู้ไม่รู้หนังสือ และกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ จำนวน ๙๔,๐๐๐ คน รวมทั้งคนไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ ได้รับบริการการศึกษานอกระบบที่เหมาะสมกับสภาพของผู้เรียน

                   ๔) ประชากรที่ได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย จำนวน ๗,๐๐๐,๐๐๐ คน

          ๑.๒ เป้าหมายระดับครัวเรือน

                   ครัวเรือนไม่ต่ำกว่า ๙๐๐,๐๐๐ ครัวเรือน ได้รับบริการการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างน้อย ๑ กิจกรรม

กิจกรรมการศึกษานอกระบบ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองสงขลา  มีดังนี้

                             ๑. การศึกษานอกระบบ

                                      ๑.๑ การส่งเสริมการรู้หนังสือ

                                      ๑.๒ การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

                                      ๑.๓ การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

                                      ๑.๔ การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน

                                      ๑.๕ การพัฒนาอาสาสมัคร กศน.

                                       ๑.๖ การจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                                      ๑.๗ โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุ

                                      ๑.๘ โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กด้อยโอกาส

                                      ๑.๙  การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                                                - ระดับประถมศึกษา

                                                - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

                                                - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

                                      ๑.๑๐ การเทียบระดับการศึกษา

                                                - ระดับประถมศึกษา

                                                - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

                                                - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

                             ๒. การจัดศึกษาตามอัธยาศัย

พื้นที่รับผิดชอบ

                   ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองสงขลา มีพื้นที่รับผิดชอบ ๖ ตำบล ดังนี้

 

 

 ข้อมูลตำบลและสภาพพื้นที่

          อำเภอเมืองสงขลามีพื้นที่ทั้งหมด  ๑๘๙.๒๖๙ ตร.กม. แบ่งเป็น ๖ ตำบล ดังนี้

ที่

ตำบล

พื้นที่

(ตร.กม.)

สภาพพื้นที่

จำนวนประชากร (คน)

หมายเหตุ

ชาย

หญิง

พะวง

๔๐.๓๔

เป็นที่ราบลุ่ม สลับเนินเขา

๑๑,๔๕๖

๑๑,๙๑๐

 

เกาะยอ

๑๕.๐๐

เป็นเกาะล้อมรอบด้วยทะเลสาบสงขลา

๒,๑๒๓

๒,๓๓๖

 

เกาะแต้ว

๒๘.๓๘

เป็นที่ราบลุ่มสลับกับที่ราบดอน

๕,๑๘๑

๕,๔๕๐

 

เขารูปช้าง

๒๑.๖๘

เป็นพื้นที่ลาดเอียงเชิงเขาสลับกับพื้นที่ราบลุ่ม

๑๘,๐๓๘

๒๐,๓๘๓

 

บ่อยาง

๙.๒๗

เป็นที่ราบชายฝั่งทะเล

๓๖,๐๗๕

๒๘,๙๖๓

 

ทุ่งหวัง

๕๘.๒๕

เป็นที่ราบลุ่ม

๔,๗๐๕

๕,๑๖๓

 

 

รวมทั้งสิ้น

๑๘๙.๒๖๙

 

๗๗,๕๗๘

๗๔,๒๐๕

 


การบริหารจัดการศึกษา

กศน.อำเภอเมืองสงขลา บริหารจัดการการศึกษาโดยยึดแนวปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) .. 2545 มาตรา 9 (3) ให้มีการdกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภทการศึกษา โดยเฉพาะในมาตรา 47 กำหนดไว้ว่าให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานทุกระดับ อันประกอบด้วย ระบบประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก และ ในมาตรา 48 กำหนดให้สถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายใน เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง กศน.อำเภอเมืองสงขลา จึงได้กำหนดการบริหารงานให้สอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพ ของสถานศึกษาในสังกัด กศน. 6 มาตรฐาน 26 ตัวบ่งชี้ ดังนี้

 

1. งานบริหารสถานศึกษาตามภารกิจของผู้บริหารสถานศึกษา

งานที่ 1 ชื่อ งานบริหารกิจการสถานศึกษา

สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 1 ( .1-8 )

สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 2 ( .1-7)

สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 3 ( .1-2 / .4-5 )

สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 4 ( .1-2 )

งานที่ 2 ชื่อ งานบริหารบุคคล

สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 2 ( . 2-4 )

งานที่ 3 ชื่อ งานบริหารงบประมาณ

สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 3 ( .1-5)

งานที่ 4 ชื่อ งานบริหารทั่วไป

สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 3 ( .1-5)

สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 4 ( .1-2 )

สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 5 ( .1-2 )

สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 6 ( .1-2 )

2. งานโครงสร้างการบริหารสถานศึกษา

กลุ่มงานที่ 1 ชื่อ กลุ่มงานอำนวยการ

สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 3 ( .1-5)

สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 4 ( .1-2 )

สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 5 ( .1-2 )

สอดคล้องกับมาตรฐานการประกันคุณภาพ มาตรฐานที่ 6 ( .1-2

กลุ่มงานที่ 2 ชื่อ กลุ่มงานจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

สอดคล้องกับการประกันคุณภาพมาตรฐานที่ 1 ( .1-8 )

สอดคล้องกับการประกันคุณภาพมาตรฐานที่ 2 ( .1-7)

กลุ่มงานที่ 3 ชื่อ กลุ่มงานส่งเสริมภาคีเครือข่ายและกิจการพิเศษ

สอดคล้องกับการประกันคุณภาพมาตรฐานที่ 6 ( .1 – 2 )

 

นโยบายสถานศึกษา

1. มุ่งมั่นสร้างสรรค์ พัฒนาระบบบริหารจัดการและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรตามหลัก ธรรมาภิบาล

2. ส่งเสริมสนับสนุน การนำเทคโนโลยีสนสนเทศและการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ

3. ส่งเสริมสนับสนุน ภาคีเครือข่ายจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

4. พัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้ผู้เรียน ผู้รับบริการมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษา  

5. เร่งรัดพัฒนาข้าราชการครู ครู กศนและสร้างความสัมพันธ์กับภาคีเครือข่าย  ส่งเสริมให้การดำเนินงานของสถานศึกษาได้มาตรฐาน

ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน

ยุทธศาสตร์ที่ 1 มุ่งเน้นบริการด้านการศึกษา

1. ให้ประชากรวัยแรงงาน ในอำเภอเมืองสงขลา ได้รับบริการด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกระดับ

2. ให้ประชาชนได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพอย่างทั่วถึงและหลากหลาย

3. ให้ผู้เรียน/ผู้รับบริการ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (Community Base Learning)

1. พัฒนา กศนตำบล ให้มีความเป็นเลิศสู่ประชาคมอาเซียน

2. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชน ให้มีศักยภาพในการบริการการศึกษาตลอดชีวิต อย่างหลากหลายบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

3. พัฒนาบุคลากรให้มีความเป็นเลิศสู่ประชาคมอาเซียน



เข้าชม : 12745
 
 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเมืองสงขลา
ชั้น 4 อาคารเลขที่ 2 ถนนรามวิถี อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000
   โทร  0-7444-0048 โทรสาร 0-7431-5255
songkhla@nfe.go.th http://sk.nfe.go.th/msk
Powered by MAXSITE 1.10 Modify by นิกร เกษโกมล Version 2.05