ภูมิปัญญาตาลโตนด
อาชีพการทำน้ำตาลโตนด ถือว่าเป็นอาชีพที่มีมาช้านานซึ่งไม่ทราบแน่นอนว่ามีการทำอาชีพนี้มาตั้งแต่เมื่อไร แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ในชนบทที่มีดงตาล จะมีอาชีพการทำน้ำผึ้งเหลวเป็นอาชีพหลักเป็นการหารายได้เลี้ยงครอบครัวในปัจจุบันการทำน้ำผึ้งเหลวจะไม่ค่อยมีให้เราเห็นมากนักเนื่องจากสภาพแวดล้อมและภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงไปเป็นสาเหตุอันเนื่องมาจากการโค่นดงตาลเพื่อแปรสภาพพื้นที่ให้เป็นบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำหรืออาจเป็นสาเหตุอื่นๆที่ทำให้อาชีพการทำน้ำผึ้งเหลวค่อยๆหายไป ซึ่งคนรุ่นต่อไปอาจไม่รู้จักก็ได้
การทำน้ำผึ้งเหลว
ตาลโตนดเป็นพืชยืนต้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้สารพัดประโยชน์ และช่วยสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่นที่มีต้นตาลโตนด เช่นใบนำมาทำเป็นเครื่องจักสาน ลูกตาลนำมาใช้ทำเป็นอาหารและขนมหวานได้ ไม้ตาลโตนดนำมาแปรรูปเป็นเครื่องเรือนได้ และงวงตาลโตนดสามารถนำไม้ไปคาบงวงตาลเพื่อให้ได้น้ำตาลและสามารถนำไปแปรรูปเป็นน้ำผึ้งเหลวได้
การทำน้ำตาลโตนด สามารถทำได้ตลอดปีช่วงที่ต้นตาลโตนดให้น้ำตาลมาก อยู่ในช่วงเดือน มกราคม - พฤษภาคม ต้นตาลที่สามรถให้ผลผลิตได้คือสามารถคาบได้ตาลได้จะอยู่ในช่วงอายุ ประมาณ 10 – 15 ปี
จากการสัมภาษณ์ คุณลุงฉิ้น สุวรรณลอยล่อง คุณลุงทำน้ำตาลโตนดมากว่า 40 ปี โดยจะขึ้นตาลทุกวันๆละ 20 ต้น ซึ่งในแต่ละวันจะขึ้น 2 ครั้ง คือ ตอนเช้าเวลาประมาณ 06.00 น.- 09.00 น.และจะขึ้นอีกครั้งในเวลาตอนบ่าย เวลาประมาณ 14 .00น. - 17.00 น.
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำน้ำผึ้งเหลว
1. โรงเตาสำหรับต้ม / เคี่ยว น้ำตาลประกอบด้วย
- เตาทำจาก
- กะทะใบบัวขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 85 เซนติเมตร
2. ไม้คาบตาล ( ไม้หนีบงวงตาล ) ทำจากไม้ไผ่ใช้สำหรับหนีบงวงตาลเพื่อกระตุ้นให้ออกน้ำตาล
3. กระบอกรองรับน้ำตาล ทำด้วยไม้ไผ่ใช้ำหรับรองรับน้ำตาลจากงวงตาล
4. มีดปาดตาล
5. ไม้เคี่ยม ใช้ใส่ในน้ำตาลเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำตาลมีรสเปรี้ยว
6. กระบวย ใช้สำหรับตักน้ำตาลและน้ำผึ้งเหลวใส่ปิ๊บ
เข้าชม : 1069
|