“พริกไทย”
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper nigrum L.
ชื่อสามัญ : Black Pepper
วงศ์ : Piperaceae
ชื่ออื่น : พริกน้อย (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้เลื้อยมีทั้งต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย ลำต้นมีข้อและป้องชัดเจน ใบเดี่ยวออกสลับ รูปไข่หรือรี ปลายใบแหลม โคนใบมนกลมหรือแหลมเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้าง 3.5 - 6 ซม. ยาว 7 - 10 ซม. เส้นใบที่บริเวณโคนใบมี 3 - 5 เส้น ดอกออกเป็นช่อและออกตรงข้ามกับใบ ช่อรูปก้านใบยาว 10 - 20 มม. ติดอยู่ตามแกนช่อดอกรองรับดอก รังไข่กลมปลายเกสรแยก 3 - 6 แฉก ช่อดอกตัวผู้มีดอกที่มีเกสรตัวผู้ 2 อัน ผลรวมกันบนช่อยาว 5 - 15 ซม. ผลรูปทรงกลมขนาด 4 - 5 ซม. แก่แล้วมีเมล็ดสีดำ ภายในมี 2 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ใบ ผล เมล็ด ดอก
สรรพคุณ :
ใบ - แก้ลมจุกเสียดแน่น ท้องอืดเฟ้อ
ผล - ผลที่ยังไม่สุกนำมาเป็นเครื่องเทศ แต่งกลิ่นอาหาร
เมล็ด - ขับลม ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ อาหารไม่ย่อย
ดอก - แก้ตาแดง ถนอมอาหารหลายชนิด เช่น มะม่วงดอง
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้เมล็ด 0.5-1 กรัม ประมาณ 15-20 เมล็ด บดเป็นผง ชงรับประทาน 1 ครั้ง
สารเคมี : มีน้ำมันหอมระเหย 2-4 % มีแอลคาลอยด์หลักคือ piperine 5-9% ซึ่งเป็นตัวทำให้มีความเผ็ด นอกจากนี้ยังพบ piperidine, pipercanine เป็นตัวทำให้มีกลิ่นฉุนและรสเผ็ด (ซึ่งเดิมคิดว่าเป็น chavicine) พริกไทยอ่อนนั้นมีน้ำมันหอมระเหยต่ำกว่า พริกไทยดำ และมีโปรตีน 11% คาร์โบไฮเดรต 65%
ปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง
พระราชดำริการพัฒนาป่าไม้ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในการผสมผสานการอนุรักษ์ ดิน น้ำ และการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ ควบคู่กับความต้องการด้านเศรษฐกิจ
ปลูกป่า 3 อย่าง คือ
1. ป่าไม้ใช้สอย คือ ไม้โตเร็ว
2. ป่าไม้เศรษฐกิจ คือ เช่น ไม้สัก ประดู่ พะยูง
3. ป่าไม้กินได้ คือ ไม้ผล เช่น กล้วย มะม่วง และผักกินใบต่าง ๆ
***พริกไทย จัดเป็นพืช อย่างที่ 3 กล่าวคือ เป็นป่าไม้กินได้***
ประโยชน์ 4 อย่าง คือ
1. ไม้ใช้สอย สำหรับใช้ในครัวเรือน เช่น นำมาสร้างบ้าน ทำเล้าเป็ด เล้าไก่ ด้ามจอบเสียม ทำหัตถกรรม หรือกระทั่งใช้เป็นเชื้อเพลิง (ฟืน) ในการหุงต้ม
2. เป็นแหล่งรายได้ของครัวเรือน เป็นพืชที่สามารถนำมาจำหน่ายได้ ซึ่งควรปลูกพืชหลากหลายชนิดเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องราคาตกต่ำและไม่แน่นอน
3. นำมาเป็นอาหาร ทั้งพืชกินใบ กินผล กินหัว และเป็นยาสมุนไพร
4. ประโยชน์ในการช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ การปลูกพืชที่หลากหลายอย่างเป็นระบบ จะช่วยสร้างสมดุลของระบบนิเวศ ช่วยปกป้องผิวดินให้ชุ่มชื้น ดูดซับน้ำฝน
***พริกไทย จัดเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ อย่างที่ 3 นำมาเป็นอาหาร และเป็นยาสมุนไพร***
เทคนิคการปลูกป่า
แบ่งป่าออกเป็น 5 ระดับ ตามชั้นความสูงของต้นไม้และระบบนิเวศของป่าดังนี้
1. ไม้ระดับสูง อาทิ ตะเคียน ยางนา มะค่าโมง สะตอ มะพร้าว ฯลฯ
2. ไม้ระดับกลาง อาทิ ผักหวานป่า ติ้ว พลู ก้าลังเสือโคร่ง กล้วย ฯลฯ
3. ไม้พุ่มเตี้ย อาทิ ผักหวานบ้าน มะนาว พริกไทย, ย่านาง, เสาวรส ฯลฯ
4. ไม้เรี่ยดิน อาทิ หน้าวัว ผักเสี้ยน มะเขือเทศ สะระแหน่ง ฯลฯ
5. ไม้หัวใต้ดิน อาทิ ข่า ตะไคร้ ขมิ้น ไพล เผือก มัน บุก กลอย ฯลฯ
*** พริกไทย เป็นไม้พุ่มเตี้ย ปลูกในระดับที่ 3***
ข้อคำนึงในการปลูกป่า 3 อย่าง
1. การปลูกช่วงแรกควรเลือกปลูกไม้เบิกนำ เช่น แค มะรุม สะเดา กล้วย อ้อย ไผ่ ข้าวและพืชผัก ทั้งนี้ เพราะเป็นพืชอาหารและไม้ใช้ สอยเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่โตและให้ผลผลิตเร็ว สามารถคลุมดินและดูดซับ ความชุ่มชื้น โดยควรเน้นปลูกพืชกินได้ ที่โตไวเพื่อเป็นแหล่งอาหาร และไม้ใช้สอย
2. ไม้ปลูกเพื่ออยู่อาศัย หรือไม้เศรษฐกิจขนาดใหญ่ หรือไม้ระดับสูง ควรปลูกในปีที่ 2
3. ไม้สมุนไพร ส่วนใหญ่จะเป็นไม้พุ่มเตี้ย ไม้เรี่ยดิน และไม้หัวใต้ดิน มักจะเจริญเติบโตได้ดี ในที่ร่มและร่มรำไร
4. นาข้าวควรเลือกทำในพื้นที่ให้เหมาะสม สามารถให้ผลผลิตเพียงพอ ตลอดทั้งปี
5. ควรขุดร่องน้ำขนาดเล็กเพื่อเก็บน้ำและความชุ่มชื้นแก่ต้นไม้ อีกทั้ง สามารถใช้เลี้ยงปลาเพื่อเป็นอาหาร และหมุนเวียนน้ำไปสู่บ่อขนาดใหญ่
***พริกไทยเป็นไม้สมุนไพร
หลัก 7 พอ(เพียง)
1. พออยู่ สามารถพึ่งตนเองด้านที่อยู่อาศัยได้
2. พอกิน สามารถพึ่งตนเองเรื่องอาหารและยารักษาโรคได้
3. พอใช้ สามารถพึ่งตนเองเรื่องรายจ่ายที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันได้
4. พอร่มเย็นเป็นสุข สามารถมีความสุข อิ่มเอิบใจ กับสิ่งที่มีที่ทำได้
5. พอพลังงานทดแทน ด้วยการปลูกอ้อยอินทรีย์ หรือพืชพลังงานอื่นๆ ร่วมกับป่า 3 อย่าง ร้อยละ 70
6. พอพัฒนาคน
7. มีข้อมูลและสื่อสารสู่สาธารณะที่พอเพียง
*** พริกไทยหลัก 7 พอ(เพียง) ข้อพอกิน สามารถพึ่งตนเองเรื่องอาหารและยารักษาโรคได้***
เข้าชม : 556
|