[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 
การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ

งานการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

ลักษณะงาน
การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพของบุคคล และกลุ่มบุคคล ซึ่งมีจุดหมายในชีวิตที่แตกต่างกันโดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. การเรียนรู้อาชีพแบบองค์รวมที่ประชาชน ครู กศน. และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันจัด กิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน
2. การออกแบบการเรียนรู้งานอาชีพตามลักษณะของงานการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
ในรูปแบบการฝึกทักษะอาชีพ การเข้าสู่อาชีพ การพัฒนาอาชีพ และการพัฒนาอาชีพด้วย เทคโนโลยี
3. การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงที่บูรณาการกับวิถีชีวิต โดยใช้วงจรกระบวนการ คิด จำ ทำ
แก้ปัญหาและพัฒนา
4. การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพที่พัฒนาศักยภาพของบุคคลและชุมชนที่สอดคล้องกับ
วิถีชีวิต โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพ สร้างเครือข่ายอาชีพ มีระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้และประสบการณ์ทำอาชีพ ภายใต้วัฒนธรรมของชุมชน มีกลยุทธ์เพื่อการแข่งขันของชุมชน เป็นชุมชนที่ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการแลพัฒนาอาชีพ

แนวทางการจัดกิจกรรม

1. การพัฒนาทักษะอาชีพ สำรวจความต้องการของกลุ่มผู้เรียนและฝึกทักษะอาชีพในลักษณะ หลักสูตรระยะสั้นที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเพื่อให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานในอาชีพ
2. การอบรมเพื่อเข้าสู่อาชีพ จัดกิจกรรมต่อเนื่องจากการฝึกทักษะอาชีพหรือจัดเป็นกิจกรรม เฉพาะ เพื่อพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้สามารถคิด วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
เพื่อเข้าสู่อาชีพ โดยจัดให้มีกระบวนการแนะแนว อาชีพที่มีประสิทธิภาพ
3. การพัฒนาอาชีพ พัฒนาอาชีพของกลุ่มเป้าหมายในลักษณะกลุ่มพัฒนาอาชีพโดยจัดให้มีการ รวมกลุ่มของผู้มีอาชีพประเภทเดียวกันเพื่อรวมเป็นเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แสวงหา ความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนพัฒนาอาชีพของกลุ่มโดยกระบวนการกลุ่ม

งานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชน ( งานการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน ) 
เป็นการจัดที่จัดให้กับประชาชนทั่วไป เนื้อหาของกิจกรรม ยึดปัญหา ของประเทศ เป็นปัญหาของ กศน.ที่มุ่งเน้นพัฒนาความสามารถในการแสวงหาความรู้ สร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน โดยใช้หลักการจัดการความรู้ และการวิจัยชุมชนบูรณาการอยู่ในกระบวนการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและการพัฒนาชุมชนและสังคม

กิจกรรมที่ดำเนินการ
เป็นกิจกรรมที่สร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้กับประชาชน สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น
1. การฝึกอบรม
2. การศึกษาดูงาน
3. การเรียนรู้ในสถานประกอบการ / หน่วยงาน
4. คูปองการศึกษา

การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพีย

หลักการ
1. ยึดกรอบความคิดเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข เป็นสาระหลักในการ
ดำเนินงาน
2. ใช้กระบวนการจัดการความรู้เป็นวิธีการในการสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้
3. ใช้ชุมชนเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ ทั้งระดับตัวบุคคล และระดับชุมชน
4. ยึดแนวการทำงานโดยใช้การประสานเครือข่ายในพื้นที่
5. ให้ความสำคัญกับบทบาทของครู กศน. ในการเป็นผู้จัดการเรียนรู้ในชุมชนโดยเน้น
เป็นการจัดกิจกรรมใหม่
6. บริหารโดยครู กศน. เป็นเจ้าภาพ ชุมชนเป็นเจ้าของ เครือข่ายเป็นเจ้ามือ


วัตถุประสงค์
1. เพื่อขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาและ
บุคลากรสามารถนำปรัชญาไปประยุกต์ใช้ในการบริหารองค์กร บริหารการศึกษา และพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสมของแต่ละพื้นที่สู่การดำรงชีวิตของผู้เรียน ตลอดถึงครอบครัวและชุมชน
2. เพื่อนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชนโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้การศึกษา
นอกโรงเรียน
3. เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสวันพระราช
สมภพ 80 พรรษา


แนวทางการดำเนินงาน
ในการดำเนินงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน โดยกระบวนการ กศน. มีแนวทางดังนี้
1. พัฒนาบุคลากร กศน. ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีเจตคติเกี่ยวกับการดำเนินการ
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน และสามารถนำสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
2. พัฒนาสถานศึกษา องค์กรทุกระดับให้สามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจสู่การปฏิบัติได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
3. สามารถบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกิจกรรมการเรียนรู้ทุกหลักสูตร กศน.
ทั้งหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน บูรณาการในหลักสูตรวิชาชีพ ทักษะชีวิต
4. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยรูปแบบการเรียนที่
หลากหลาย เช่น เรียนรู้จากภูมิปัญญา ปราชญ์ ศึกษาตามโครงการพระราชดำริที่ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนสามารถนำสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

เป้าหมาย
ประชาชนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกัน ความรอบรู้และความมีคุณภาพ

ผลกระทบที่เกิดขึ้น
1. ประชาชนได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตดังนี้
1.1 ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
1.2 ส่งเสริมให้มีทักษะการพัฒนาร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง
1.3 ส่งเสริมให้มีความประพฤติที่ดีและสร้างสรรค์
1.4 ลดละเลิกอบายมุข
1.5 ทำกินทำใช้ในครัวเรือน
1.6 แสวงหารายได้เสริม
1.7 มีการออมในครอบครัว
2. วิถีชีวิตชุมชน มีดังนี้
2.1 ชุมชนมีจิตสำนึกรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน
2.2 แสวงหาสิ่งทดแทนและเพิ่มทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน
3. สังคมคุณธรรม มีดังนี้
3.1 มีวินัยในการดำเนินชีวิต พึ่งพาตนเองได้ สามารถยังประโยชน์ผู้อื่น
3.2 มีความซื่อสัตย์ อดทน อดออม มีเหตุผล ทำงานกลุ่มได้
3.3 รู้จักใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
3.4 รู้จักใช้ทุนและแสวงหาทุนทางสังคม 


งานการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต 

ลักษณะงาน เป็นการพัฒนาประชาชนโดยยึดทักษะชีวิตพื้นฐานที่จำเป็น 4 ด้านเป็นหลัก
- ด้านสุขภาพอนามัย
- ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

เพื่อให้มีทักษะการคิด การปฏิบัติตน ในการบูรณาการองค์การความรู้และกระบวนการเรียนรู้ให้สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ เฉพาะด้านให้เหมาะสมกับตนเอง ครอบครัวและชุมชน ให้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ลักษณะกิจกรรม เป็นกิจกรรมสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีหลายรูปแบบ 
เช่น
1. รูปแบบกลุ่มสนใจ
2. รูปแบบค่าย
3. รูปแบบการอบรมประชาชน
4. รูปแบบการจัดกิจกรรมชุมชน
5. รูปแบบอื่น ๆ
 



เข้าชม : 994
 
 

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตำบลห้วยลึก  
หมู่่ที่ 2 บ้านสวนออก ต.ห้วยลึก อ.ควนเนียง จ.สงขลา
โทรศัพท์ 082 - 4341458

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05