สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
HRH Vajiralongkorn (Cropped).jpg

พระบรมนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ
พระปรมาภิไธย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
พระราชอิสริยยศ พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี
ครองราชย์ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน
รัชกาล 0 ปี 283 วัน
รัชกาลก่อน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร พระพุทธรูปปางอภัยมุทรา
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 (64 พรรษา)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พระบรมราชชนก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระบรมราชชนนี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระมเหสี
พระราชบุตร 7 พระองค์
ลายพระอภิไธย

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร[1] (พระราชสมภพ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นทรงราชย์เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

 

เนื้อหา

 

พระราชประวัติ

พระราชสมภพ

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต[2] เมื่อวันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 เวลา 17:45 น.[3] มีพระเชษฐภคินี คือ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และพระขนิษฐภคินีสองพระองค์คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี[4]

ขณะพระชนมายุได้หนึ่งพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระราชทานพระนาม ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นผู้ตั้งพระนามถวายตามดวงพระชะตา ว่า[5]

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ   เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ
บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ   เทเวศรธำรงสุบริบาล
อภิคุณูปการมหิตลาดุลเดช   ภูมิพลนเรศวรางกูร
กิตติสิริสมบูรณสวางควัฒน์   บรมขัตติยราชกุมาร

พระนาม "วชิราลงกรณ" นั้น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงตั้งถวาย มาจาก "วชิรญาณะ" พระนามฉายาทั้งในพระองค์เองและในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรงผนวช ผนวกกับ "อลงกรณ์" จากพระนามเดิมในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[6][7] มีความหมายว่า "ทรงเครื่องเพชรนิลจินดา" หรืออาจแปลว่า "อสุนีบาต"[8]

พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่

 
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ขึ้น ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ในระหว่างวันที่ 14-15 กันยายน พ.ศ. 2495[9] โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ทรงเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์ในเย็นวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2495[10]

เช้าวันรุ่งขึ้น (15 กันยายน) จึงมีพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์ในห้องพิธี เริ่มด้วยพอถึงพระฤกษ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงจรดพระกรรบิดกริบพระเกศา ทรงเจิม ทรงผูกด้ายพระขวัญ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา พราหมณ์ประกอบพิธีลอยกุ้ง ปลาทอง มะพร้าวเงิน มะพร้าวทองลงในพระขันสาคร แล้วพระสงฆ์ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา พระมหาราชครูเชิญเสด็จขึ้นพระอู่และเห่กล่อมเปิดศิวาลัยไกรลาศตามประเพณีพิธีของพราหมณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงวางพระราชภัณฑ์ลงในพระอู่ตามพระราชประเพณีแล้ว พระมหาราชครูเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณฯ ขึ้นพระอู่แล้ว พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทเวียนเทียนครบรอบตามประเพณี สภาวัฒนธรรมแห่งชาติได้จัดขับไม้มโหรีขับกล่อมถวายพระพรในวาระนี้ด้วย ในการนี้มีการถ่ายทอดเสียงในพระราชพิธีทางวิทยุไปทั่วประเทศ[9][11][12]

สยามมกุฎราชกุมาร

 
พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

เมื่อมีพระชนมายุครบ 20 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ขึ้นเป็นสยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร" นับเป็นสยามมกุฎราชกุมารพระองค์ที่ 3 ของไทย[13][14]

การศึกษา

ตั้งแต่ พ.ศ. 2499 จนถึง พ.ศ. 2505 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงสำเร็จการศึกษาขั้นต้นในระดับอนุบาล รุ่นที่ 2 จากโรงเรียนจิตรลดา แล้วจึงเสด็จฯ ไปทรงศึกษาต่อในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนคิงส์มีด แคว้นซัสเซกส์ และศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมิลฟิลด์ แคว้นซอมเมอร์เซทประเทศอังกฤษ ตั้งแต่ พ.ศ. 2509 จนถึง พ.ศ. 2513 หลังจากนั้น ทรงศึกษาต่อวิชาทหารที่โรงเรียนคิงส์สกูล ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เสร็จแล้ว ทรงการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีสาขาอักษรศาสตร์ (ด้านการทหาร) จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อ พ.ศ. 2519

เมื่อนิวัติประเทศไทยทรงรับราชการทหารแล้วทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นที่ 46 เมื่อ พ.ศ. 2520 ทรงเข้าศึกษาในสาขาวิชานิติศาสตร์ รุ่นที่ 2 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อ พ.ศ. 2525 ทรงสำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2)  และ พ.ศ. 2533 ทรงได้รับการศึกษา ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรแห่งสหราชอาณาจักร

พระองค์เคยตรัสว่า เคยประสบปัญหาผลการเรียนที่ไม่น่าพึงใจ อันเป็นผลจากการที่ทรงถูกเลี้ยงดูมาอย่างประคบประหงม[8]

ผนวช

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระทัยศรัทธาจะอุปสมบทในพระพุทธศาสนา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงโปรดเกล้าฯ ให้ทรงผนวชในวันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 เวลา 15.37 น. ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และสมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) ถวายอนุสาสน์ ผนวชแล้วเสด็จฯ ไปทำทัฬหีกรรม ณ พระอุโบสถพระพุทธรัตนสถาน เมื่อเวลา 16.59 น. โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์[15] เสร็จแล้วเสด็จฯ ไปประทับ ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[16] พระมหารัชมงคลดิลก (บุญเรือน ปุณฺณโก) เป็นพระอภิบาล[17] ผนวชอยู่ 15 วันจึงลาผนวช

การทหาร

 
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรเมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงปฏิบัติการฝึกเครื่องบินรบแบบ เอฟ-5

หลังจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงสำเร็จการศึกษาด้านการทหารจากประเทศออสเตรเลีย รวมถึงทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรอื่นๆ แล้ว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ยังได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจโดยทรงเข้าร่วมปฏิบัติการรบในการต่อต้านการก่อการร้ายในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ เนื่องจากประเทศไทยได้เกิดปัญหาการก่อความสงบของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ซึ่งการก่อความไม่สงบได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร” ได้เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมให้กำลังใจแก่ตำรวจ ทหาร และเจ้าหน้าที่ อส. บริเวณพื้นที่อันตราย นอกจากนี้ยังได้ทรงร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับทหารหาญแนวหน้า

ปฏิบัติการ ณ บ้านหมากแข้ง

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ร้อยเอกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมตำรวจ ทหารและราษฎรในพื้นที่ ณ ฐานปฏิบัติการบ้านหมากแข้ง อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยหลังจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้ส่งกำลังเข้าโจมตีฐานปฏิบัติการของตำรวจหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ทำให้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต และได้บาดเจ็บสาหัสอีกจำนวนหนึ่ง

เมื่อปลายเดือนตุลาคม พ.ศ. 2519 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้ปะทะยิงสู้รบเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นเหตุให้เครื่องบินตก 1 ลำ ในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 หลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวไม่นาน ร้อยเอกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร (พระอิสริยยศในขณะนั้น) เสด็จฯ ทรงเยี่ยมเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการสู้รบ ทรงออกบัญชาการรบที่แนวหน้าด้วยพระองค์เอง การเสด็จฯ เยี่ยมดังกล่าวได้สร้างขวัญกำลังใจให้กับชาวบ้านและบรรดาทหารขณะนั้นเป็นอย่างมาก

ขณะที่ร้อยเอกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จฯ โดยเฮลิคอปเตอร์เพื่อไปยังแนวหน้า ได้มีการยิงถล่มจากพรรคคอมมิวนิสต์ฯ ทำให้เฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งไม่สามารถลงจอดได้ เหตุการณ์ในวันดังกล่าวชาวบ้านในพื้นที่เล่าว่า พระองค์ทรงกระโดดลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ ความสูงประมาณ 12 เมตร แล้ววิ่งหลบฝ่ากระสุนที่ปลิวว่อนไปมาอย่างกล้าหาญ จากนั้นพระองค์จึงทรงวิเคราะห์และวางแผนการรบให้กับทหารในพื้นที่ ออกลาดตระเวน อยู่ยามเช่นเดียวกับทหารคนอื่นๆ

พระองค์ได้ประทับแรมที่ฐานปฏิบัติการบ้านหมากแข้งเป็นเวลา 1 คืนจึงเสด็จฯ กลับ และได้เสด็จฯ มาเยี่ยมเยือนอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 ต่อมาพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยประกาศยอมแพ้ สงครามสู้รบจึงสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2525

ด้านการบินรบ

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเริ่มทำการบินตามหลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์ของโรงเรียนการบิน กองทัพอากาศ เมื่อ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2522 พระองค์เริ่มทำการบินเฮลิคอปเตอร์แบบยูเอช-1เอช และเฮลิคอปเตอร์แบบยูเอช-1 เอ็น เมื่อสำเร็จตามหลักสูตรทรงขึ้นรับพระราชทานประดับเครื่องหมายแสดงความสามารถในการบินของกองทัพอากาศจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในปีนั้นเองยังทรงสำเร็จหลักสูตรเฮลิคอปเตอร์โจมตีติดอาวุธ (Gunship) ของกองทัพบกรวม 2 เดือน

ในช่วงปี พ.ศ. 2523 ขณะติดตามสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐฯ ทรงเข้ารับการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์แบบยูเอช-1 เอช ของกองทัพบกสหรัฐฯ ที่นอร์ธแคโรไลนา และปี พ.ศ. 2525 เสด็จยังฐานทัพอากาศวิลเลียม รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา ทรงฝึกศึกษาเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงแบบเอฟ 5 อี/เอฟ และทรงเข้ารับการฝึกบินในหลักสูตรการบินรบชั้นสูง (Advance Fighter 
Course) กับเครื่องเอฟ 5 ดี/เอฟ ที่กองบิน 1 ฝูง 102 จนสำเร็จตามหลักสูตร มีชั่วโมงบินทุกประเภทรวมกันกว่า 1,000 ชม.

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร มิได้ทรงละเลยการฝึกบินแบบใหม่ๆ โดยทรงเข้ารับการฝึกบินกับเครื่องบินใบพัดแบบมาร์คเคตตี้ของฝูงขั้นปลาย โรงเรียนการบิน กองทัพอากาศ และฝึกบินกับเครื่องบินไอพ่นแบบที 37 กับแบบที 33 และจบหลักสูตรนักบินขับไล่ไอพ่นสมรรถนะสูงกับเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ 5 อี/เอฟ ของกองบิน 1 ฝูงบิน 102 รวมชั่วโมงบิน 200 ชั่วโมง ด้วยความสนพระทัยอย่างมาก จนกระทั่งทรงพร้อมรบและครบ 1,000 ชั่วโมง เมื่อ 17 เมษายน พ.ศ. 2532 อีกทั้งยังทรงเข้าร่วมการแข่งขันใช้อาวุธทางอากาศประจำปี โดยทรงทำคะแนนได้สูงตามกติกา กองทัพอากาศจึงทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องหมายความสามารถในการใช้อาวุธทางอากาศชั้นที่ 1 ประเภทอาวุธระเบิดสี่ดาว อาวุธจรวดสี่ดาว และอาวุธปืนสี่ดาว

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร ทรงมีชั่วโมงฝึกบินอย่างต่อเนื่องที่สูงมาก ทรงเป็น "เจ้าฟ้านักบินขับไล่ไอพ่น" พระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรีที่ทำการบินกับเครื่องบินกองทัพอากาศเกือบทุกรูปแบบ

ทรงราชย์

พระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี
King Buddha Yodfa Chulaloke.jpg พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
King Buddha Loetla Nabhalai.jpg พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
King Nangklao.jpg พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
Thomson, King Mongkut of Siam (crop).jpg พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
King Chulalongkorn of Siam.jpg พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
King Vajiravudh (Rama VI) of Siam.jpg พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
Prajadhipok''s coronation records - 005.jpg พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
King Ananda Mahidol portrait photograph.jpg พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
Bhumibol Adulyadej 2010-9-29 2 cropped.jpg พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
HRH Vajiralongkorn (Cropped).jpg สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ
    

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จสวรรคตในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เป็นที่คาดหมายว่าพระองค์จะสืบราชสมบัติต่อ ทั้งพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ยืนยันว่า จะเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่[18] แต่ทรงขอผ่อนผัน[19] พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์โดยตำแหน่งไปพลางก่อน[20]

จนกระทั่งวันที่ 29 พฤศจิกายน สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้จัดประชุมวาระพิเศษ โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้แจ้งหนังสือหนังสือด่วนที่สุดที่ นร.0503/44549 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ที่ได้รับจากพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้แก่ที่ประชุมเพื่อรับทราบ ก่อนอัญเชิญพระองค์เสด็จขึ้นทรงราชย์[21] และพระองค์ได้ทรงรับเป็นพระมหากษัตริย์[22] จากนั้นวันที่ 1 ธันวาคม จึงพระราชทานพระราชวโรกาสให้ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภา ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประมุขฝ่ายบริหาร และวีระพล ตั้งสุวรรณ ประธานศาลฎีกา ประมุขฝ่ายตุลาการ เข้าเฝ้าฯ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ได้กราบบังคมทูลเชิญขึ้นสืบราชสมบัติ จากนั้นพระองค์มีพระราชดำรัสตอบรับการขึ้นทรงราชย์ ความว่า

ตามที่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภาได้กล่าวในนามของปวงชนชาวไทย เชิญข้าพเจ้าขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ ว่าเป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์กับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั้น ข้าพเจ้าขอตอบรับเพื่อสนองพระราชปณิธาน และเพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวไทยทั้งปวง[23]

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

ทั้งนี้ ในทางนิตินัยถือว่าได้ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559[24] เพื่อให้เป็นไปตามโบราณราชประเพณีโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ทั้งยังสอดคล้องกับคตินิยมในนานาประเทศที่ราชอาณาจักรย่อมไม่ว่างเว้นขาดตอนจากการมีพระมหากษัตริย์[25] และโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระปรมาภิไธยว่า "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร"[1] (อ่านว่า สม-เด็ด-พฺระ-จ้าว-หฺยู่-หัว-มะ-หา-วะ-ชิ-รา-ลง-กอน บอ-ดิน-ทฺระ-เทบ-พะ-ยะ-วะ-ราง-กูน)

ข้อวิจารณ์

ครั้งเป็นมกุฎราชกุมาร

 
พระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรที่ถนนราชดำเนิน
นายกรัฐมนตรีไทยในรัชกาล (พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน)
ปี นายกรัฐมนตรี (พรรค)
2559 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (กองทัพ)
Prayuth Jan-ocha 2010-06-17 Cropped.jpg

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ห้ามวิพากษ์วิจารณ์รัชทายาท ทว่า พระชนมชีพส่วนพระองค์ เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในหมู่ชนอย่างกว้างขวาง [26] เดือนตุลาคม พ.ศ. 2524 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชชนนีของพระองค์ ทรงกล่าวโดยนัยเปรียบเปรยพระราชโอรสผู้นี้ว่าทรงเหมือนดอน ควน ที่โปรดการใช้เวลาว่างสุดสัปดาห์ไปกับหญิงงามมากกว่าการประกอบพระราชกรณียกิจ[8][27]

ฉันจำต้องจริงใจให้มาก ลูกชายของฉัน, มกุฎราชกุมารเป็นดอนฮวนบ้างเหมือนกัน เมื่อฉันให้สัมภาษณ์ฉันต้องแสดงความจริงใจ เขา (องค์มกุฎราชกุมาร) เป็นนักเรียนที่ดีเป็นลูกชายที่ดี บรรดาหญิงสาวต่างชื่นชอบในตัวเขา และเขาก็เป็นคนชอบผู้หญิงเสียด้วย ดังนั้นครอบครัวของเขาถึงไม่ราบรื่นนัก[27][28]

วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2545 นิตยสาร ฟาร์อิสเทิร์นอีโคโนมิกรีวิว (Far Eastern Economic Review) ลงบทความว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรเมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี[29] อย่างไรก็ดี ใน พ.ศ. 2553 หลังจากที่ พันตำรวจโท ทักษิณพ้นจากตำแหน่งไปโดยการรัฐประหารแล้ว พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรี ยอมรับว่า "...แน่นอนว่า เจ้าฟ้าชายยังทรงรักษาสัมพันธภาพบางอย่างกับอดีตนายกฯ ทักษิณเอาไว้ พระองค์ทรงพบกับทักษิณเป็นช่วง ๆ ..."[30] วันที่ 12 ธันวาคม ปีเดียวกัน บิลาฮารี เคาสิกัน (Bilahari Kausikan) ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ แถลงว่า พระองค์ทรงติดการพนัน และมีอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ คอยสนับสนุนการเงินให้พระองค์[31] โอกาสเดียวกัน พลเอก เปรม เสริมว่า "...ทักษิณกำลังเสี่ยงที่จะทำลายตัวเอง เขาอาจคิดว่า เจ้าฟ้าชายจะทรงปฏิบัติกับเขาเหมือนดังเขาเป็นพระสหายหรือผู้สนับสนุน เพียงเพราะเขาส่งเสริมการเงินให้แก่พระองค์ แต่เจ้าฟ้าชายไม่ทรงชอบพระทัยความสัมพันธ์แบบนั้นสักเท่าไร"[32]

ในปี พ.ศ. 2551 ราล์ฟ แอล.บอยซ์ (Ralph L. Boyce) นักการทูตชาวสหรัฐอเมริกา รายงานต่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกาว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรเมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เคยตรัสปฏิเสธกับเขา เกี่ยวกับข่าวที่พระองค์ทรงมีความสัมพันธ์กับ พันตำรวจโท ทักษิณ บอยซ์กล่าวว่า[33]

"...[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรง] เห็นเป็นเรื่องตลกร้าย ที่นายกรัฐมนตรีทักษิณสามารถทำตัวเป็นเผด็จการได้ ทั้งที่มาจากการเลือกตั้ง...ในช่วงแรก ๆ ของรัฐบาลทักษิณ ดูเหมือนเขาจะลงทุนอย่างหนักเพื่อสร้างความใกล้ชิดกับมกุฎราชกุมาร ทั้งสองมีเรื่องผิดใจกันอย่างสังเกตเห็นได้ในเวลาต่อมา เป็นเหตุให้มกุฎราชกุมารละทิ้งพระตำหนักนนทบุรี ที่ทักษิณซื้อและตกแต่งถวายให้ แล้วย้ายมาประทับ ณ วังศุโขทัยซึ่งตั้งอยู่ในย่านกลางเมือง

"มีเรื่องเล่ากันไปต่าง ๆ นานา เกี่ยวกับการพบปะระหว่างทักษิณกับมกุฎราชกุมาร เกี่ยวกับการพบปะระหว่างทักษิณกับมกุฎราชกุมาร ที่ลอนดอนเมื่อช่วงต้นปีนี้ [พ.ศ. 2551] ซึ่งเรื่องที่เราพิจารณาว่า น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดคือ ทักษิณเข้าเฝ้ามกุฎราชกุมาร และเมื่อไม่ได้รับอนุญาต เขาจึงไปร่วมเข้าแถวรับเสด็จ ณ โรงแรมที่มกุฎราชกุมารประทับ และได้สนทนาอย่างไม่มีสาระสำคัญอะไร เพียงสี่สิบห้าวินาที"

ปัญหาการสืบราชสันตติวงศ์ หลังจากรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ก็เป็นที่กล่าวถึงมากในสังคม นักวิชาการตั้งข้อสังเกตว่า ตัวแปรสำคัญในเรื่องนี้มีอยู่สามสิ่ง คือ องคมนตรี, กองทัพ และความเหมาะสมของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ[34] ใน พ.ศ. 2545 นิตยสาร ดิ อีโคโนมิสต์ (The Economist) ลงข้อความว่า "ผู้คนเคารพเจ้าฟ้าชายวชิราลงกรณ์น้อยมาก (กว่ากษัตริย์ภูมิพล) ชาวกรุงเทพมหานครพากันร่ำลือเรื่องชีวิตส่วนพระองค์อันมัวหมอง...ไม่มีผู้สืบราชบัลลังก์พระองค์ใด จะประสบความสำเร็จอย่างที่กษัตริย์ภูมิพลทรงได้รับมา ในช่วงเวลาทรงราชย์หกสิบสี่ปี..." และรัฐบาลไทยได้สั่งห้ามจำหน่ายนิตยสารฉบับดังกล่าว ใน พ.ศ. 2553 ดิอีโคโนมิสต์ ลงบทความว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ นั้น "ทรงเป็นที่เดียดฉันท์และหวั่นเกรงอย่างกว้างขวาง" และ "ทรงผิดแปลกอย่างคาดไม่ถึง" และฉบับนี้ก็มิได้จำหน่ายในประเทศไทยเช่นกัน[35] ครั้นวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 นิตยสารออนไลน์ เอเชียเซนทิเนล (Asia Sentinel) ลงว่า พระองค์ "ถือว่าทรงเอาแน่นอนไม่ได้ และทรงไม่สามารถปกครองได้โดยแท้"[36] เว็บไซต์นี้ถูกสกัดกั้นในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว[37] อนึ่ง มีผู้คนเห็นว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ชอบที่จะได้สืบราชสมบัติมากกว่า[38] พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ และองคมนตรีคนอื่น ๆ มีความเห็นค่อนข้างลบ เกี่ยวกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ส่วน ราล์ฟ แอล.บอยซ์ นักการทูตชาวสหรัฐอเมริกา เคยรายงานต่อรัฐบาลของตนว่า "...[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ] ดูอึดอัดพระทัยอย่างเห็นได้ชัด ต่อคำถามธรรมดา ๆ เกี่ยวกับเจ้าฟ้าสิรินธร ซึ่งถูกมองว่าเป็นคู่แข่งของมกุฎราชกุมาร..."[39] ทั้งนี้ทั้งนั้น ตามกฎหมายไทยขณะนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะสืบราชบัลลังก์โดยชอบ นับแต่ทรงได้รับสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 แล้ว[40]

วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2552 แฮร์รี นิโคไลดส์ (Harry Nicolaides) ชาวออสเตรเลีย ถูกศาลไทยจำคุกสามปี เพราะเผยแพร่หนังสือวิพากษ์วิจารณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรเมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ความตอนหนึ่งว่า "ถ้าเจ้าฟ้าชายทรงรักใคร่ชอบพออนุภรรยานางใด และต่อมาเธอทรยศพระองค์ เมื่อนั้นเธอและครอบครัวก็จะหายไปจากโลกนี้ สาบสูญไปทั้งชื่อเสียงเรียงนาม เทือกเถาเหล่ากอ และบรรดาเงื่อนเค้าร่องรอย เกี่ยวกับชีวิตของพวกเขาตลอดกาล" และต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานอภัยโทษให้เขา[41][42][43]

พระองค์ทรงทราบปัญหา และข่าวที่กล่าวมาแล้วเป็นเบื้องต้น เป็นอย่างดี[44] และเคยพระราชทานสัมภาษณ์ ในนิตยสาร ดิฉัน แก่ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา ผู้ใกล้ชิดพระองค์ว่า[45]

"บางทีในชาติปางก่อน เราอาจไม่ได้ทำบุญมากพอ หรือบางทีในบางครั้ง เราทำอะไรที่น่าตำหนิ เรายอมรับ...ถ้าหากสวรรค์คิดว่าเราไม่เหมาะสม หรือไม่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ในการทำหน้าที่ของเรา ก็หยุดและจบ ถ้าท่านคิดได้อย่างนี้ ท่านก็จะสบายใจ ท่านไม่ได้คิดเป็นอะไร หากสวรรค์ให้ท่านมีภารกิจต่อแผ่นดิน ก็ยอมรับ ถ้าเขาไม่ต้องการให้ทำงาน ก็โอเค"

วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553 อีริก จี.จอห์น (Eric G. John) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย รายงานไปยังรัฐบาลสหรัฐอเมริกาว่า เขาได้เปรยกับพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ว่า "เวลานี้ เจ้าฟ้าชายทรงอยู่ที่ใด" พลเอก เปรม ตอบว่า "คุณก็รู้ว่าทรงใช้ชีวิตส่วนพระองค์แบบไหน...เจ้าฟ้าชายพอพระทัยใช้เวลาลอบเสด็จไปยังมิวนิก เพื่อประทับอยู่กับภรรยาเก็บของพระองค์ มากกว่าจะประทับอยู่ในประเทศไทย กับพระวรชายาและพระโอรส"[46] พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา องคมนตรีที่ร่วมวงสนทนา กล่าวเสริมว่า "...ข่าวเรื่องเมียน้อยของพระองค์ที่เป็นแอร์โฮสเตส มีอยู่เต็มเว็บไซต์ไปหมด...น่าเศร้าที่เดี๋ยวนี้ ท่านทูตไทยที่เยอรมนี ต้องออกจากเบอร์ลินไปมิวนิก เพื่อไปเข้าเฝ้าพระองค์เป็นประจำ..."[47]

หลังขึ้นทรงราชย์

ภายหลังเสด็จขึ้นทรงราชย์แล้ว การแต่งตั้งยศทหารไทยแก่สตรีชาวไทยของพระองค์เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่หลาย และยังทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่พระราชทานข้อสังเกตให้คณะรัฐมนตรีแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ ซึ่งในที่นี้คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560[48]

พระราชกรณียกิจ

ทางราชการ

 
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรเมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร กราบบังคมทูลพระกรุณา ถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แทนพระบรมวงศานุวงศ์ในงาน 60 ปี
  • ทรงเข้าประจำการ ณ กองปฏิบัติการทางอากาศพิเศษ เมืองเพิร์ท รัฐออสเตรเลียตะวันตก ประเทศออสเตรเลีย
  • ทรงเข้าร่วมปฏิบัติการรบในการต่อต้านการก่อการร้าย บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งการคุ้มกันพื้นที่บริเวณ รอบค่ายผู้อพยพชาวกัมพูชา ณ เขาล้าน จังหวัดตราด[13]
  • 9 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ทรงเข้ารับราชการเป็นนายทหารประจำกรมข่าวทหารบกกระทรวงกลาโหม
  • 6 ตุลาคม พ.ศ. 2521 ทรงดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
  • 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 ทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพัน ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
  • 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 ทรงดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
  • 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการ ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
  • 9 มกราคม พ.ศ. 2535 ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด[49]

ด้านการบิน

  • 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ทรงปฏิบัติหน้าที่ครูการบินเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ-5 อี/เอฟ[13]
  • พ.ศ. 2552 ทรงปฏิบัติหน้าที่นักบินที่ 1 เครื่องบินโบอิ้ง 737–400 ในเที่ยวบินสายใยรักแห่งครอบครัว ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และจัดหาอุปกรณ์ด้านการแพทย์ สำหรับโรงพยาบาลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้, (เที่ยวบินที่ ทีจี 8870 (กรุงเทพมหานครถึงจังหวัดเชียงใหม่) และเที่ยวบินที่ ทีจี 8871 (จังหวัดเชียงใหม่ถึงกรุงเทพมหานคร)

ด้านการทหาร

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมที่ตั้งกองทหารหน่วยต่าง ๆ อยู่เสมอ จากการที่ได้ทรงศึกษาด้านวิชาทหารมานาน ทรงมีความรู้เชี่ยวชาญอย่างมาก และได้พระราชทานความรู้เหล่านั้นให้แก่ทหาร 3 เหล่าทัพ ทรงปฏิบัติพระองค์เป็นแบบอย่างแก่นายทหาร เอาพระทัยใส่ในความเป็นอยู่ทุกข์สุขของทหารผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างทั่วถึง รวมทั้งพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นทุนการศึกษาแก่บุตรของทหาร สิ่งเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดความเทิดทูนและความจงรักภักดีแก่เหล่าทหารเป็นอย่างยิ่ง

ด้านการศึกษา

 
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรเมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงปลูกต้นปาริชาต ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

พระองค์พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้อาคารของกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ เป็นที่ตั้งของโรงเรียนอนุบาลชิ่อว่า โรงเรียนอนุบาลทหารมหาดเล็กราชวัลลภ โดยในระยะแรกได้จัดการเรียนการสอนเฉพาะชั้นอนุบาล ต่อมา โรงเรียนได้ย้ายไปที่จังหวัดนนทบุรี และได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่า โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์[50]

นอกจากนี้ ยังพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สมทบเป็นค่าก่อสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ตั้งอยู่ในชนบทห่างไกลคมนาคมไม่สะดวก กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)ได้สนองพระราชประสงค์ด้วยการน้อมเกล้าฯ ถวายโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาจำนวน 6 โรงเรียน เป็นโรงเรียนในพระราชูปถัมภ์ ได้แก่ (1) โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๑ นครพนม)[51], (2) โรงเรียนมัธยมจุฑาวัชร อำเภอลานกระลือ จังหวัดกำแพงเพชร[52] (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๒ กำแพงเพชร), (3) โรงเรียนมัธยมวัชเรศร อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา 3 สุราษฎร์ธานี)[53], (4) โรงเรียนมัธยมจักรีวัชร อำเภอรัตนภูมิ จังหวัดสงขลา (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา)[54], (5) โรงเรียนมัธยมวัชรวีร์ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๓ ฉะเชิงเทรา)[55] และ (6) โรงเรียนมัธยมบุษย์น้ำเพชร อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๑ อุดรธานี)[56]

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยาวชนในตำบลต่าง ๆ ทรงสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์เยาวชนตำบล รวมทั้งได้ทรงเป็นประธานงานวันเยาวชนแห่งชาติ วันที่ 20 กันยายน ของทุกปี และทรงเป็นประธานในพิธีปฏิญาณตนและสวนสนามของลูกเสือและเนตรนารี และสมาชิกผู้ทำประโยชน์[57]

ทั้งนี้พระองค์ได้ทรงอุปการะเด็กกำพร้า คือ จักรกฤษณ์ และอนุเดช ชูศรี ที่ครอบครัวเสียชีวิตจากภูเขาถล่มเมื่อ พ.ศ. 2554[58] รวมทั้งครอบครัวของบูรฮาน และบุศรินทร์ หร่ายมณี ซึ่งบิดาถูกลอบสังหารจากเหตุความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจะทรงอุปการะจนกว่าจะสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือจนกว่าจะมีอาชีพสามารถเลี้ยงครอบครัวได้[59][60] เป็นต้น

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร มีพระราชดำริให้ดำเนินโครงการทุนการศึกษาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2552 ด้วยพระราชปณิธานที่มุ่งสร้างความรู้ สร้างโอกาสแก่เยาวชนไทยที่มีฐานะยากจน ยากลำบาก แต่ประพฤติดี มีความสามารถในการศึกษา ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มั่นคงต่อเนื่องในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ตามความสามารถของแต่ละคน เป็นการลงทุนเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและศักยภาพแก่เยาวชนไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2553 มีพระราชดำริให้จัดตั้ง มูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (ม.ท.ศ.) ขึ้น โดยทรงเป็นองค์ประธานกรรมการ และทรงให้นำโครงการทุนการศึกษาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร มาอยู่ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิฯ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนสืบต่อไป ซึ่งปัจจุบันมีนักเรียนทุนพระราชทานฯ ในโครงการทั้งสิ้นจำนวน 8 รุ่น จังหวัดละ 2 คน ชาย 1 คนและหญิง 1 คน

ด้านการแพทย์และสาธารณสุข

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โปรดให้สร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชขึ้น เพื่อให้การรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยในถิ่นทุรกันดาร พระองค์ทรงเป็นองค์นายกกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช พระองค์มีพระราชปณิธานให้เอาใจใส่รักษาพยาบาลพสกนิกรของพระองค์ให้ปลอดภัยจากความเจ็บไข้โดยทั่วหน้าเสมอกัน[61]

ด้านศาสนา

 
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรเมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงประเคนผ้าไตร ประกาศนียบัตร และพัดยศ ในการตั้งภิกษุและสามเณรเปรียญ เนื่องในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง พ.ศ. 2551

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2509[62] ก่อนเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ

นอกจากนี้ มีพระราชศรัทธาออกบวชในพระพุทธศาสนา โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดให้จัดการพระราชพิธีผนวช ณ พัทธสีมาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) ถวายอนุสาสน์[63] ได้รับถวายพระสมณนามว่า "วชิราลงฺกรโณ" และได้ประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตลอดจนทรงลาสิกขาในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521[13]

นอกจากนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ยังเสด็จพระราชดำเนินแทนพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไปปฏิบัติพระราชกิจทางพระพุทธศาสนาอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะเมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เช่น เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตามฤดูกาล เสด็จพระราชดำเนินแทนพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่นวันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และการถวายผ้าพระกฐินหลวงตามวัดต่าง ๆ เป็นต้น[64]

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจด้านศาสนาหลังจากเสด็จขึ้นทรงราชย์แล้ว คือ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน เนื่องในวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ทรงพระราชอนุสรณ์คำนึงถึงสมเด็จพระบรมชนกนาถ[65] และโปรดเกล้าฯ สถาปนาอิสริยยศ และเลื่อนอิสริยฐานันดรพระสงฆ์ที่ดํารงอยู่ในสมณคุณ และมีอุปการะยิ่งแก่การพระศาสนาดังกล่าวสูงขึ้น เพื่อจักได้บริหารพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสถาพร ตามโบราณราชประเพณี[66]

 
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงสถาปนาสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

รวมทั้งยังทรงสถาปนาสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์[67] โดยได้เสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชด้วยพระองค์เองเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560[68]

ด้านการเกษตร

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวาและวัชพืชอื่น ๆ เป็นปฐมฤกษ์ เพื่อพระราชทานแก่เกษตรกร สำหรับนำไปใช้ในการเพาะปลูกเป็นการเพิ่มผลผลิต ที่บ้านแหลมสะแก ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2528[69]

ด้านการต่างประเทศ

วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ โปรดให้ พลอากาศโท ภักดี แสงชูโต นำผ้าห่มกันหนาว 20,000 ผืน ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยมีนายกษิต ภิรมย์ เป็นผู้รับมอบ[70]

ประสบการณ์ทางทหาร

[71]

  • เดือนมกราคม ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2519 ทรงเข้ารับการฝึกเพิ่มเติม และศึกษางานด้านการทหาร ณ เครือรัฐออสเตรเลีย
  • ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรวิชาอาวุธพิเศษ การทำลายและยุทธวิธีรบนอกแบบ หลักสูตรต้นหนชั้นสูง หลักสูตรการลาดตระเวน และต้นหนชั้นสูง รวมทั้งหลักสูตรส่งทางอากาศ
  • พ.ศ. 2522 ถึง พ.ศ. 2523 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ ยู เอซ–1 เอซ ของบริษัท เบลล์ รวมชั่วโมงบิน 54.36 ชั่วโมง
  • เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2523 ทรงเข้ารับการฝึกตามโครงการช่วยเหลือทางทหาร กองทัพบกสหรัฐอเมริกา รวม 6 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรอาวุธประจำกายและเครื่องยิงลูกระเบิด หลักสูตรการปฏิบัติการพิเศษ หลักสูตรการต่อต้านการก่อการร้าย หลักสูตรการสงครามแบบกองโจร หลักสูตรการฝึกการดำรงชีพ และหลักสูตรส่งทางอากาศ (ทางบกและทางทะเล)
  • เดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2523 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ ยู เอซ–1 เอซ กับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ ยู เอซ–1 เอ็น ของบริษัทเบลล์ รวมชั่วโมงบิน 259.560 ชั่วโมง
  • เดือนกันยายน ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2523 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์โจมตี ติดอาวุธ แบบ ยู เอซ–1 เอซ ของบริษัทเบลล์ จากกองทัพไทย รวมชั่วโมงบิน 54.50 ชั่วโมง
  • เดือนธันวาคม พ.ศ. 252 ถึง พ.ศ. 2524 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเครื่องบินปีกติดลำตัว แบบ Sial–Marchetti SF 120 MT รวมชั่วโมงบิน 172.20 ชั่วโมง
  • เดือนมีนาคม ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2524 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเครื่องบินปีกติดลำตัว แบบ Cessna T–37 รวมชั่วโมงบิน 240 ชั่วโมง
  • เดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2524 เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรกิจการทางทหารและตำรวจ ณ สหราชอาณาจักร ราชอาราจักรเบลเยียม ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐฝรั่งเศส และเครือรัฐออสเตรเลีย
  • เดือนตุลาคม พ.ศ. 2525 ถึง พ.ศ. 2526 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเปลี่ยนเป็นเครื่องบินขับไล่ แบบ เอฟ–5 (พิเศษ) รุ่นที่ 83 (พุทธศักราช 2526) เอ ที ดับเบิลยู และหลักสูตรเครื่องบินขับไล่ชั้นสูง รุ่นที่ 83 (พุทธศักราช 2526) เอ วี ดับเบิลยู ณ ฐานทัพอากาศวิลเลียมส์ รัฐอริโซนา สหรัฐอเมริกา รวนชั่วโมงบิน 2,000 ชั่วโมง
  • พ.ศ. 2532 ทรงผ่านการฝึกบินด้วยเครื่องบินใบพัด แบบมาร์คเคตตี้ของฝูงขั้นปลาย โรงเรียนการบิน กองทัพอากาศ และการฝึกบิน ด้วยเครื่องบินไอพ่น แบบ ที 33 และหลักสูตรนักบินขับไล่ไอพ่นสมรรถนะสูงกับเครื่องบิน ขับไล่ แบบ เอฟ 5 อี/เอฟ ของกองบิน 1 ฝูงบิน 102 โดยทรงทำชั่วโมงบิน 200 ชั่วโมง ในเบื้องต้น และทรงทำชั่วโมงบินสูงสุด 1,000 ชั่วโมง และทรงเข้าร่วมการแข่งขันการใช้อาวุธทางอากาศประจำปี ซึ่งทรงทำคะแนนได้สูงตามกติกา กองทัพอากาศได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเครื่องหมายความสามารถในการใช้อาวุธทางอากาศชั้นที่ 1 ประเภทอาวุธระเบิดสี่ดาว อาวุธจรวดสี่ดาว และอาวุธปืนสี่ดาว ในศกเดียวกัน[72]
  • เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2547 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการในฐานะนักบินโบอิ้ง 737–400 จากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน), และทรงผ่านการตรวจสอบจากการขนส่งทางอากาศ กับทรงได้รับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก
  • เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรกัปตัน จากบริษัท การบินไทย จำกัด และทรงรับการทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายตำแหน่งนักบินที่ 1 ใน พ.ศ. 2549 ทั้งนี้ ทรงปฏิบัติหน้าที่นักบินที่ 1 อย่างดีเยี่ยมสม่ำเสมอ รวมชั่วโมงบิน 3,000 ชั่วโมง

เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 กรมการขนส่งทางอากาศได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายใบรับรองในตำแหน่งครูฝึกภาคอากาศกับตำแหน่ง ครูฝึกเครื่องช่วยฝึกบิน สำหรับเครื่องบินโบอิ้ง 737–400[73]

พระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
King''s Standard of Thailand.svg
ธงประจำพระอิสริยยศ
Royal Monogram of King Rama X.svg
ตราประจำพระองค์
Royal Flag of King Rama X.svg
ธงประจำพระองค์
การทูล ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
การแทนตน ข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับ พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ
ลำดับโปเจียม 1
 
ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555

พระอิสริยยศ

  • สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 — 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515)
  • สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 — 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559)
  • สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 — ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[74]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

พระองค์ทรงเป็นประธานของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

 มาเลเซีย พ.ศ. 2543 Order of the Defender of the Realm ชั้น Grand Commander MY Darjah Yang Mulia Pangkuan Negara (Defender of the Realm) - SMN.svg
 เยอรมนี พ.ศ. 2527 เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้น Knight Grand Cross GER Bundesverdienstkreuz 9 Sond des Grosskreuzes.svg
 เนปาล พ.ศ. 2529 Order of Ojaswi Rajanya ชั้น Member Ord.Rajanya.Nepal-Ribbon.gif
 สเปน พ.ศ. 2530 Royal and Distinguished Spanish Order of Charles III ชั้น Knight Grand Cross ESP Charles III Order GC.svg
 ญี่ปุ่น พ.ศ. 2534 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ ประเทศญี่ปุ่น JPN Daikun''i kikkasho BAR.svg
 สหราชอาณาจักร พ.ศ. 2539 Royal Victorian Order ชั้น Honorary Dame Grand Cross Royal Victorian Order UK ribbon.png
 เดนมาร์ก พ.ศ. 2544 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้าง ชั้น อัศวิน Orderelefant ribbon.png
 เนเธอร์แลนด์ พ.ศ.2547 Order of the Crown ชั้น Grand Cross Order of the Crown (Netherlands).svg
 รัฐตรังกานู   Most Distinguished Family Order of Terengganu ชั้นที่สอง 80x80px

พระยศทหาร[84]

พระราชสันตติวงศ์

 
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และ ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี อดีตพระวรชายา

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร อภิเษกสมรสทั้งหมดสามครั้งกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ (พระนามเดิม: หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร), สุจาริณี วิวัชรวงศ์ (นามเดิม: ยุวธิดา ผลประเสริฐ) และท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี และมีพระราชโอรสธิดา 8 พระองค์ ซึ่งจำนวนนี้ได้ตกพระโลหิต (แท้ง) ไปหนึ่งพระองค์ ดังนี้

  1. ประสูติแต่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ (พระนามเดิม: หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร; 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2500), ธิดาของหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กับท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร[103]
  2. ประสูติแต่สุจาริณี วิวัชรวงศ์ (นามเดิม: ยุวธิดา ผลประเสริฐ; 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2505), ธิดาของธนิต กับเยาวลักษณ์ ผลประเสริฐ
  3. ประสูติแต่ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี (9 ธันวาคม พ.ศ. 2514), ธิดาของอภิรุจ กับวันทนีย์ สุวะดี

ส่วนในเอกสารเฉลิมพระเกียรติของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร จะให้ข้อมูลว่าพระองค์มีพระราชธิดาสองพระองค์ และพระราชโอรสหนึ่งพระองค์ คือ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติเท่านั้น[105][106]

เหรียญที่ระลึก

เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

 
แพรแถบย่อ

เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร มีลักษณะดังนี้[107]

  • ลักษณะ เป็นเหรียญเงิน รูปกลมแบน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.1 เซนติเมตร ด้านหน้ามีพระรูปของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ ทรงหันพระพักตร์ทางเบื้องขวา ริมขอบมีอักษรจารึกว่า "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร" ด้านหลังมีอักษรพระนามาภิไธยย่อ "ว ก" เหนือพระนามาภิไธยย่อมีรูปจุลมงกุฎมีรัศมี ที่ริมขอบมีอักษรจารึกว่า "ที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร 28 ธันวาคม 2515"
  • การประดับ ใช้ห้อยแพรแถบสีขาวริมเหลือง สำหรับบุรุษให้แพรแถบมีความกว้าง 3.1 เซนติเมตร สำหรับสตรีห้อยแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หากไม่ประดับอย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สามารถห้อยคอหรือประดับด้วยวิธีอื่น ๆ ตามสมควรโดยไม่มีแพรแถบก็ได้

เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555

เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555 มีลักษณะดังนี้

  • ลักษณะ เป็นเหรียญเงิน รูปกลมแบน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร
  • ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ และสายสร้อยจุลจอมเกล้า ริมขอบเหรียญโดยรอบประดับด้วยลายไทยประดิษฐ์
  • ด้านหลัง กลางเหรียญมีตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555 ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555"
  • การประดับ ใช้ห้อยแพรแถบพื้นสีเหลือง ริ้วสีขาวจำนวน 5 ริ้ว สำหรับบุรุษให้แพรแถบมีความกว้าง 3.1 เซนติเมตร สำหรับสตรีห้อยแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หากไม่ประดับอย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สามารถห้อยคอหรือประดับด้วยวิธีอื่น ๆ ตามสมควรโดยไม่มีแพรแถบก็ได้

รถยนต์พระที่นั่ง

 
รถยนต์พระที่นั่งในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทะเบียน ร.ย.ล.4

สังกัดกองพระราชพาหนะ วังศุโขทัย

พงศาวลี

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "ประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว". ราชกิจจานุเบกษา (ใน ไทย) 133 (102 ก): 2. 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559. 
  2. ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ฐานบุ๊คส์, 2554. หน้า 234
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้หยุดราชการและชักธงชาติเนื่องในการที่พระราชกุมารประสูติ, เล่ม 69, ตอนที่ 49, 12 สิงหาคม พ.ศ. 2495, หน้า 2434
  4. จดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555. กรมศิลปากร, กระทรวงวัฒนธรรม, 2558, หน้า 10
  5. จดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555. กรมศิลปากร, กระทรวงวัฒนธรรม, 2558, หน้า 21
  6. จดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555. กรมศิลปากร, กระทรวงวัฒนธรรม, 2558, หน้า 20
  7. "‘องค์รัชทายาท-เจ้าฟ้านักบิน’ เผยพระราชกรณียกิจ ตามเบื้องพระยุคลบาท". มติชน. 14 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2559. 
  8. 8.0 8.1 8.2 "พระราชประวัติกษัตริย์พระองค์ใหม่ของไทย". บีบีซีไทย. 2 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2559. 
  9. 9.0 9.1 ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ ที่ 15/2495 พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ 2495, เล่ม 69, ตอน 54 ง, 9 กันยายน พ.ศ.2495, หน้า 3031
  10. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (2016-05-22). "พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่". Archived from the original on 2016-03-22. สืบค้นเมื่อ 2017-05-17. 
  11. . ประมวลพระบรมฉายาลักษณ์และพระราชประวัติ.
  12. ลาวัณย์ โซตามระ. สี่เจ้าฟ้า. กรุงเทพมหานคร: บริษัท กัตนา ดิสทริบิวชั่น จำกัด
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 พระราชประวัติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร. พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน ตอนว่าด้วยพระสูตร. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม (ประเทศไทย)
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร, เล่ม 89, ตอน 200 ก ฉบับพิเศษ, 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515, หน้า 1
  15. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. รวมบทความชุด สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถร) และวัดประจำรัชกาลที่ 5 และ 7 : วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2560. 27 หน้า. หน้า 1.
  16. ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ พระราชพิธีทรงผนวช พันตรี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร, เล่ม 95, ตอนที่ 122 ง, 1 พฤศจิกายน 2521, หน้า 37-42
  17. "พระเถระอดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร: พระมหารัชมงคลดิลก (บุญเรือน ปุณฺณโก ป.ธ.๕)". วัดบวรนิเวศวิหาร. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2559. 
  18. "Thailand''s King Bhumibol Adulyadej dead at 88". BBC News. 13 October 2016. สืบค้นเมื่อ 13 October 2016. 
  19. AFP (2016-10-13). "Thai Prime Minister Prayuth says Crown Prince seeks delay in proclaiming him King". Coconut.co. Bangkok: Coconuts BKK. Archived from the original on 2016-10-16. สืบค้นเมื่อ 2016-10-14. 
  20. "Thai king death: Thousands throng streets for procession". BBC. 2016-10-14. สืบค้นเมื่อ 2016-10-14. 
  21. "ขอทรงพระเจริญ ก้องสภาฯ สนช.ถวายพระพร". ไทยรัฐ. 30 พฤศจิกายน 2559. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2559. 
  22. "''บิ๊กป้อม'' เผย ''พระบรมฯ'' ทรงรับเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 แล้ว". ไทยรัฐ. 30 พฤศจิกายน 2559. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2559. 
  23. "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 เสด็จขึ้นทรงราชย์แล้ว". โพสต์ทูเดย์. 1 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2559. 
  24. "ประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เรื่อง อัญเชิญองค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์". ราชกิจจานุเบกษา (ใน ไทย) 133 (102 ก): 1. 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559. 
  25. "นายกฯประกาศประเทศไทยมีพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่แล้ว". หนังสือพิมพ์มติชน. 1 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2560. 
  26. Mike Wooldridge (14 July 2011). "Wikileaks cable: ''Thai concerns about crown prince''" (ใน English). BBC. 
  27. 27.0 27.1 Julia, Swenee (October 31th, 1981). "Sirikit of Thailand–a dedicated queen". Dallas Times Herald (ใน English) (Neiman marcus orientations fortnight, USA).  ผ่าน "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานสัมภาษณ์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา". สยามนิกร (บริษัท สำนักพิมพ์อาทิตย์ จำกัด). 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2524. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2559.  ผ่าน Jeamteerasakul, Somsak (3 ธันวาคม 2559). ""My son, the Crown Prince, is a bit of a Don Juan."" (ใน Thai). 
  28. แปลจากต้นฉบับ "I have to be very frank. My son, the Crown Prince, is a little bit of Don Juan. If I give an interview I have to be frank. He is a good student, a good boy, but women find him interesting, and he finds women even more interesting. So, his family is not so smooth."
  29. Duncan. McCargo, Media and Politics in Pacific Asia, page 146
  30. "US embassy cables: Thai officials express concerns over crown prince" (ใน English). The Guardian. 14 July 2011. "Prem acknowledged Crown Prince Vajiralongkorn probably maintained some sort of relationship with fugitive former PM Thaksin, "seeing him from time to time."" 
  31. Dorling, Philip; McKenzie, Nick (12 December 2010). "Top Singapore officials trash the neighbours". The Sydney Morning Herald. 
  32. "US embassy cables: Thai officials express concerns over crown prince" (ใน English). The Guardian. 14 July 2011. "Thaksin ran the risk of self-delusion if he thought that the Crown Prince would act as his friend/supporter in the future merely because of Thaksin''s monetary support; "he does not enjoy that sort of relationship."" 
  33. ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล (มกราคม-มีนาคม 2554). "การ "เปลี่ยนผ่าน" รัชสมัยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย". ฟ้าเดียวกัน (ปีที่ 9, ฉบับที่ 1): 67. 
  34. ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล (มกราคม-มีนาคม 2554). "การ "เปลี่ยนผ่าน" รัชสมัยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย". ฟ้าเดียวกัน (ปีที่ 9, ฉบับที่ 1): 54. 
  35. "As father fades, his children fight". The Economist. 18 March 2010. 
  36. More Lèse majesté Charges in Thailand Asia Sentinel, April 1, 2010
  37. [[1]] Check |authorlink= value (help) (2010-03-30). "Thailand - Grenade attacks and online censorship amid mounting political tension". Archived from the original on |archiveurl= requires |archivedate= (help). สืบค้นเมื่อ 2017-05-17. 
  38. Shawn W. Crispin (14 Mars 2008). "The politics of revenge in Thailand". Asian Times Online: 54. 
  39. ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล (มกราคม-มีนาคม 2554). "การ "เปลี่ยนผ่าน" รัชสมัยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย". ฟ้าเดียวกัน (ปีที่ 9, ฉบับที่ 1): 56–57. 
  40. ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล (มกราคม-มีนาคม 2554). "การ "เปลี่ยนผ่าน" รัชสมัยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย". ฟ้าเดียวกัน (ปีที่ 9, ฉบับที่ 1): 59. 
  41. 25197, 24296244-5013404,00.html Thais detain Aussie writer, The Australian, September 05, 2008
  42. Thai court jails Australian novelist for three years over royal ''insult'', The Scotsman, January 19, 2009
  43. Author jailed for insulting Thai king, CNN.com, January 19, 2009
  44. ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล (มกราคม-มีนาคม 2554). "การ "เปลี่ยนผ่าน" รัชสมัยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านการเมืองไทย". ฟ้าเดียวกัน (ปีที่ 9, ฉบับที่ 1): 59–60. 
  45. ธนาพล อิ่วสกุล; ชัยธวัช ตุลาฑล (15 สิงหาคม 2529). ดิฉัน: 227. 
  46. "US embassy cables: Thai officials express concerns over crown prince" (ใน English). The Guardian. 14 July 2011. "Vajiralongkorn''s preference to spend time based out of Munich with his main mistress, rather than in Thailand with his wife and son" 
  47. "US embassy cables: Thai officials express concerns over crown prince" (ใน English). The Guardian. 14 July 2011. "Information about his air hostess mistresses was widely available on websites; he lamented how his former aide, now Thai Ambassador to Germany, was forced to leave Berlin for Munich often to receive Vajiralongkorn." 
  48. รัฐบาลแก้ไข รธน. ตามข้อสังเกตพระราชทานเสร็จแล้ว
  49. ราชอาณาจักรสยาม, พระราชภาระหน้าที่ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร, http://www.kingdom-siam.org
  50. โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์
  51. โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๑ นครพนม
  52. โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๒ กำแพงเพชร
  53. โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๓ สุราษฎร์ธานี
  54. โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา
  55. โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๓ ฉะเชิงเทรา
  56. โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๑ อุดรธานี
  57. "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ เสด็จแทนพระองค์ ไปทรงเป็นประธานเปิดงาน “วันเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๖”". 2013-09-20. Archived from the original on 2013-09-31. สืบค้นเมื่อ 2017-05-17. 
  58. "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงห่วง 2 หนูน้อยเหยื่อโคลนถล่มเขาเบญจา ทำกำพร้า ทรงรับพระอุปภัมภ์". TLC News. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2557. 
  59. "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงรับบุตรอิหม่ามยะโก๊บไว้ในพระอุปถัมภ์". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 29 สิงหาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2557. 
  60. "ครอบครัว "หร่ายมณี" ซาบซึ้งพระเมตตาอุปถัมภ์การศึกษาทายาท". สำนักข่าวไทย. 29 สิงหาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2557. 
  61. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
  62. สำนักพระราชวัง. หมายกำหนดการ ที่ ๒๗/๒๕๐๘ เรื่อง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ แสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ. ราชกิจจานุเบกษา, 2509, เล่ม 83 ตอนที่ 1 หน้า 13
  63. ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ พระราชพิธีทรงผนวช พันตรี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร, เล่ม 95, ตอนที่ 122 ฉบับพิเศษ, 1 พฤศจิกายน 2521, หน้า 37-42
  64. "พระราชกรณียกิจ “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ”". ผู้จัดการออนไลน์. 29 พฤศจิกายน 2559. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2560. 
  65. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณฯ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน รำลึกสมเด็จพระบรมชนกนาถ, MGR Online, สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2559
  66. “รัชกาลที่ 10” โปรดเกล้าฯ ถวายอิสริยยศพระสงฆ์ที่ดํารงอยู่ในสมณคุณให้สูงขึ้น, MGR Online, สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2559
  67. "โปรดสถาปนา ''สมเด็จพระมหามุนีวงศ์'' เป็นพระสังฆราช องค์ที่ 20". ไทยรัฐ. 7 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2560. 
  68. "พระราชพิธีสถาปนา "สมเด็จพระสังฆราช"องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์". ไทยพีบีเอส. 12 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2560. 
  69. สำนักราชเลขาธิการ (5 ธันวาคม พ.ศ.2528). "มีนาคม". พระราชกรณียกิจ ระหว่างเดือนตุลาคม 2527–กันยายน 2528 (pdf) (ใน Thai). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิชย์ จำกัด (published พ.ศ.2531). p. 169. Archived from the original on 4 มกราคม พ.ศ.2560. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม พ.ศ.2560 – โดยทาง http://oldwebsite.ohm.go.th/searchsheetlist_en.php?get=1&offset=38210. 
  70. หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ปีที่ 61 ฉบับที่ 21143 วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 2554 หน้า 1, 12
  71. ราชอาณาจักรสยาม, ราชการทหารของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร, http://www.kingdom-siam.org
  72. สกุลไทย: 7 สิงหาคม 2533
  73. ราชอาณาจักรสยาม, การศึกษาของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร, http://www.kingdom-siam.org
  74. ราชอาณาจักรสยาม, เครื่องราชอิสริยาภรณ์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร, http://www.kingdom-siam.org
  75. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยากรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์, เล่ม ๘๒, ตอน ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ, ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๘, หน้า ๑๒
  76. 76.0 76.1 76.2 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๐, ตอน ๑๐ ง ฉบับพิเศษ, ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๖, หน้า ๑๘
  77. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๓, ตอน ๘๐ ง, ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๙, หน้า ๑๓๕๑
  78. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ปฐมดิเรกคุณภรณ์ จำนวน ๘ พระองค์), เล่ม ๑๑๒, ตอน ๑๗ ข เล่มที่ ๐๐๓, ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘, หน้า ๑
  79. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ), เล่ม ๑๐๕, ตอน ๙๕ ง ฉบับพิเศษ, ๑๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๑, หน้า ๑
  80. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญ (พันเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร) , เล่ม ๑๐๔, ตอน ๖ ง ฉบับพิเศษ, ๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๐, หน้า ๑
  81. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน (ชั้นที่ ๑ แด่ พันเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร), เล่ม ๑๐๔, ตอน ๕๒ ง ฉบับพิเศษ, ๒๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๐, หน้า ๑
  82. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม 84, ตอน 87 ง ฉบับพิเศษ, 15 กันยายน พ.ศ.2510, หน้า 22
  83. ระกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลา แด่ พลโท สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามาหวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร , เล่ม ๑๐๕, ตอน ๒๑๐ ง ฉบับพิเศษ, ๑๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๑, หน้า ๑
  84. ราชอาณาจักรสยาม, พระยศทหารของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร, http://www.kingdom-siam.org
  85. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  86. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  87. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  88. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  89. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  90. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ
  91. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ (พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร), เล่ม ๙๘, ตอน ๑๒๗ ง ฉบับพิเศษ, ๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๔, หน้า ๒
  92. [ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2525/D/135/1.PDF]
  93. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  94. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้บังคับการพิเศษ [พันเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร]
  95. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  96. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  97. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหาร พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เป็น พลโท พลเรือโท พลอากาศโท, เล่ม ๑๐๕, ตอน ๑๗๕ ง ฉบับพิเศษ, ๒๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๑, หน้า ๑
  98. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ (พลโท สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร)
  99. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการและพระราชทานพระยศทหาร พลโท สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร, เล่ม ๑๐๙, ตอน ๑๘ ง ฉบับพิเศษ, ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๕, หน้า ๑
  100. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศกองอาสารักษาดินแดน ๑ นายกองเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมงกุฎราชกุมาร ๒ นายกองเอก สมเด็จพระเพทรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปียชาติ สยามบรมราชกุมารี ๓ นายกองโท สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี, เล่ม ๑๐๙, ตอน ๕๕ ง ฉบับพิเศษ, ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๕, หน้า ๑
  101. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ [พลเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร]
  102. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ (พลเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร)
  103. "ความเป็นมาของมูลนิธิ". มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2557. 
  104. "พระองค์โสม ทรงภูมิใจใน องค์ภา เป็นลูกที่ดี ทำงานเพื่อประเทศชาติ". ไทยรัฐ. 2012-03-29. Archived from the original on 2014-01-19. สืบค้นเมื่อ 2017-05-17. 
  105. จดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555. กรมศิลปากร, กระทรวงวัฒนธรรม, 2558, หน้า 71
  106. บันทึกประวัติศาสตร์ "ปั่นเพื่อพ่อ" เฉลิมพระเกียรติ 88 พรรษา ทวยราษฎร์จงรักล้ำปิตุรงค์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559, หน้า 42
  107. พระราชบัญญัติ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร พ.ศ.2539

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า   สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร   ถัดไป
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 2leftarrow.png King''s Standard of Thailand.svg
พระมหากษัตริย์ไทย
(13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน)
2rightarrow.png ยังอยู่ในราชสมบัติ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร 2leftarrow.png Crown Prince''s Standard of Thailand.svg
สยามมกุฎราชกุมาร
(28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
2rightarrow.png ว่าง