ห้องสมุด
“การศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง วิธีการที่หลากหลายที่นำไปสู่การเรียนรู้อาจเกิดขึ้นโดยการถูกผลักดันให้เกิดขึ้นผ่านกระบวนการสนทนา เกี่ยวข้องกับการสำรวจ และขยายประสบการณ์ โดยไม่อาจทำนายล่วงหน้าได้ เป็นสิ่งที่บังเอิญเกิดขึ้นอุบัติขึ้น(วิศนี ศิลตระกูล และอมรา ปฐภิญโญบูรณ์, 2544: 2-3)”
การศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง การศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ จากการทำงาน จากบุคคล จากครอบครัว จากชุมชน จากแหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่จำกัดอายุ ไม่มีการลงทะเบียน และไม่มีการสอน ไม่มีการรับประกาศนียบัตร มีหรือไม่มีสถานที่แน่นอน เรียนที่ไหนก็ได้ ลักษณะการเรียนส่วนใหญ่เป็นการเรียนเพื่อความรู้และนันทนาการ อีกทั้งยังไม่จำกัดเวลาเรียน สามารถเรียนได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิต (กรมการศึกษานอกโรงเรียน,2538: 83)
ศูนย์ส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย กรมการศึกษานอกโรงเรียน (2544) ให้นิยามการศึกษาตามอัธยาศัยว่า เป็นการจัดสภาพแวดล้อม สถานการณ์ ปัจจัย
เกื้อหนุน สื่อ แหล่งความรู้ และบุคคล เพื่อส่งเสริมให้บุคคลได้เรียนรู้ตามความสนใจ
ในมาตรา 15 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับ พุทธศักราช 2542 นิยามว่า การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่นๆ (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช ๒๕๔๒:13)
นักการศึกษาคนสำคัญชื่อ Coombs และ Ahmed (1974)ให้ความหมายว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งบุคคลแสวงหาและรับความรู้ ทักษะ ทัศนคติความเข้าใจที่กระจ่างชัดที่เกี่ยวกับประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน และการแสดงออกต่อสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวบุคคล (La Belle, 1982:161)
การศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึงผลของการเรียนรู้อันเกิดจากสถานการณ์ที่ผู้เรียน หรือแหล่งความรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง มีเจตจำนงเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ แต่ไม่ใช่ทั้งสองปัจจัยเกิดตรงกัน (Evan, 1981:chapter II)
การศึกษาตามอัธยาศัย ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) ที่เติมเต็มความต้องการของปัจเจกที่ต้องการเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ นอกเหนือการเรียนในระบบโรงเรียน โอกาสของการเรียนรู้ตามอัธยาศัยเกิดขึ้นในสถานที่ต่างๆ และจากสื่อต่างๆ (ตัวอย่างเช่น รายการกระจายเสียง ภาพยนตร์ CD)
นิยามของการศึกษาตามอัธยาศัยสามารถอธิบายได้ 2 มิติ คือ มิติของผู้เรียนและมิติของผู้จัด/หรือสภาพการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ดังนี้:
- ผู้เรียน: ผู้เรียนควบคุมวิธีการเรียนเอง มีวิธีการเรียนที่หลากหลายที่นำไปสู่การเรียนรู้ด้วยตนเองกระบวนการเรียนรู้และผลของการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ และสร้างเสริมประสบการณ์โดยตรง ผู้เรียนสร้างความหมายตามความเข้าใจ และเป็นกระบวนการต่อเนื่องตลอดชีวิต
- ผู้จัด/หรือสภาพการที่เอื้อต่อการเรียนรู้: ส่งเสริมให้ผู้เรียนควบคุมวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองจากบุคคล จากครอบครัว จากชุมชน จากสังคม จากประสบการณ์ จากการทำ งาน และจากการดำ รงชีวิตประจำ วัน จากสภาพแวดล้อมทั้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและมีการดำเนินการให้มีขึ้น ไม่ว่าโดยมนุษย์ หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ จากปัจจัยเกื้อหนุนต่างๆ จากสถานการณ์ และสื่อต่างๆ
การศึกษาตามอัธยาศัย(informal education) จึงมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ตามอัธยาศัย (informal learning) โดยเกื้อหนุนให้ผู้เรียนกำหนด/เลือกวิธีการเรียนเอง หรือตามวัตถุประสงค์ของสถาบันหรือแหล่งความรู้นั้น ๆ ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตลอดเวลา โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้บุคคลมีโอกาสแสวงหาและรับความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความเข้าใจ อันจะนำไปสู่การพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม
การเรียนรู้ตามอัธยาศัยและการเรียนรู้ด้วยตนเองควบคู่กับคำว่า “การศึกษาตามอัธยาศัย” (informal education) ก็คือ การเรียนรู้ตามอัธยาศัย (Informal Learning) ซึ่งเป็นการอธิบายการเรียนรู้ในมิติของผู้เรียน “การเรียนรู้ตามอัธยาศัย” นี้ Livington7(1999)นิยามว่าเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องความเข้าใจ ความรู้ หรือทักษะ ที่เกิดขึ้นโดยไม่ต้องสนอโดยผ่านหลักสูตรหรือโปรแกรมจากสถาบันการศึกษาในระบบหรือนอกระบบ และในความพยายามในการจำแนกประเภท (taxonomy) ของการเรียนรู้ตามอัธยาศัย นั้น Schugurensky(2000)8 เสนอแนะว่ามี 3 ชนิด คือ การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง(Selfdirected learning) การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ(Incidental learning) และการเรียนรู้ในชีวิตประจ วัน
- การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง(Self-directed learning) เป็นโครงการเรียนรู้ที่กำหนดโดยผู้เรียน โดยไม่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากนักการศึกษา แต่สามารถเป็นการนำเสนอของวิทยากร การเรียนรู้แบบนี้เป็นเรื่องของความตั้งใจ เพราะผู้เรียนมีจุดหมายในบางสิ่งบางอย่างที่ต้องการเรียนรู้ สิ่งนั้นอาจมาก่อนที่กระบวนการเรียนรู้จะเกิดขึ้น เป็นเรื่องของจิตสำนึก โดยปัจเจกบุคคลตระหนักว่าเขาต้องเรียนรู้ในบางสิ่งบางอย่าง
- การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ(Incidental learning) หมายถึงประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมิได้มีความตั้งใจมาก่อนว่าจะต้องเรียนสิ่งนั้น แต่เมื่อได้รับประสบการณ์ ขาก็รับรู้ได้ว่าเขาได้เรียนรู้บางอย่างขึ้นมาดังนั้น จึงเป็นความไม่ตั้งใจแต่รู้สึกตัว (unintended but conscious
- การเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน(Tacit learning) หมายถึงการรู้ในคุณค่าทัศนคติ พฤติกรรม หรือทักษะต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน มิใช่เพียงแค่
การเรียนรู้ตามอัธยาศัยมีเกิดขึ้นโดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า “การตีความ” (Interpretation) ซึ่งวิธีการนี้มีการนิยามไว้หลายลักษณะด้วยกัน แต่เมื่อไม่นานมานี้ ก็เกิดเห็นพร้องต้องกันในนิยามที่ใกล้เคียงกันในสองลักษณะว่า
“การตีความ” เป็นกระบวนการในการสื่อสารในลักษณะของความสัมพันธ์ทางด้านอารมณ์และสติปัญญา ระหว่างความสนใจของผู้ชมและความหมายที่มีอยู่ในแหล่งเรียนรู้นั้น
“การตีความ” ให้โอกาสกับประชาชนในทั้งทางด้านสติปัญญาและอารมณ์การตีความควรมีจุดมุ่งหมายที่จะนำเสนอในภาพรวม มากกว่าแยกส่วน
“การตีความ” ที่นำเสนอต่อเด็กไม่ควรที่จะลดความเข้มข้นจากสิ่งที่เสนอต่อผู้ใหญ่ แต่ควรเสนอด้วยวิธีการพื้นฐานที่แตกต่างกัน โดยอาจแยกโปรแกรมกัน
แนวคิดเรื่องหลักสูตรของการศึกษาตามอัธยาศัย
แนวคิดเรื่องหลักสูตรนี้ Jeffs และ Smith (1990;1999) ได้โต้แย้งความเห็นที่ว่าหลักสูตรทำให้เกิดการเส้นแบ่งระหว่างการศึกษาในระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เขายืนยันว่าทฤษฎีหลักสูตรและการปฏิบัติ(Curriculum theory andpractice) กำหนดขึ้นภายใต้บริบทของโรงเรียน และนี่เองคือปัญหาที่สำคัญเมื่อนำมาใช้ในการศึกษาตามอัธยาศัย การรับแนวคิดในเรื่องทฤษฎีหลักสูตรและการปฏิบัติ โดยนักการศึกษาตามอัธยาศัย เกิดขึ้นจากความต้องการที่จะให้มีความชัดเจนเกี่ยวกับเนื้อหา ซึ่งก็ยังมีความลำบากในความเห็นนี้
กระนั้นก็ตาม ยังมีสิ่งที่ต้องเน้นในเรื่องนี้สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย 2 ประการ
ประการแรก ในรูปแบบของหลักสูตร ครูเข้าสู่สถานการณ์ด้วยข้อเสนอของการปฏิบัติ (proposal for action) ซึ่งได้กำหนดหลักการและรายละเอียดของการศึกษาที่ชัดเจนแล้ว แต่การศึกษาตามอัธยาศัยมิใช่เช่นนั้น นักการศึกษาตามอัธยาศัยไม่จำเป็นต้องมีสิ่งนี้ เขาไม่จำเป็นต้องก้าวสู่สถานการณ์ด้วยข้อเสนอของการปฏิบัติที่ชัดเจน แต่เขามีความคิดที่ว่าจะทำอะไรเพื่อให้ความเป็นอยู่ของคนดีขึ้น หรือซาบซึ้งในบทบาทและยุทธวิธี(ซึ่งยุทธวิธีอาจเป็นภาพกว้างๆ ของกลุ่มเป้าหมาย และวิธีการกว้างๆ) จากนั้นเขาก็พัฒนาเป้าหมายและวิธีการปฏิสัมพันธ์ที่จะสอดแทรกเข้าไป
ประการที่สอง คือบริบท ซึ่งการศึกษาตามอัธยาศัยย่อมมีบริบทที่แตกต่างออกไปเมื่อบริบทเปลี่ยนไป ลักษณะของกิจกรรมก็ย่อมเปลี่ยนไปด้วยแนวคิดเรื่องการประเมินผลในงานการศึกษาตามอัธยาศัยการศึกษาตามอัธยาศัยในบางลักษณะเป็นกิจกรรมชุมชน ดังนั้นลักษณะและวิธีการประเมินผลการศึกษาตามอัธยาศัยจึงแตกต่างไป ซึ่งเรื่องนี้ Everitt
แนวทางการประเมินนี้ Joanna Rowlands (1991) ได้เขียนไว้สรุปได้ดังนี้
1. การประเมินถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่บูรณาการอยู่ในกระบวนการพัฒนา หรือกระบวนการเปลี่ยนแปลง และรวมถึงการ “สะท้อนความคิด-การปฏิบัติ”
(reflection-action)
2. การประเมินเน้นการ “สนทนา” (dialogue) มากกว่า “การวัด”(measurement) และมีแนวโน้มที่จะใช้วิธีการที่เป็นทางการให้น้อยลง เช่น ใช้การสัมภาษณ์อย่างไม่มีโครงสร้าง การสังเกตแบบมีส่วนร่วม
3. วิธีการที่ใช้เป็นกระบวนการเพื่อ “เสริมพลังอำ นาจ” (empowering process) มากกว่าการควบคุมโดยคนภายนอก ซึ่งเรื่องนี้พึงตระหนักว่าบุคคลหรือกลุ่มที่แตกต่างกันออกไป ย่อมรับรู้แตกต่างกัน
4. ผู้ประเมินมีบทบาทในลักษณะของ “ผู้อำนวยความสะดวก” (facilitator) มากกว่าเป็นบุคคลภายนอกที่มีจุดมุ่งหมาย การประเมินในลักษณะดังกล่าวควรเป็นมุมมองของคนใน (insiders)
โดยสรุป การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการจัดศึกษาเพื่อให้คนได้เรียนรู้จากบุคคลครอบครัว ชุมชน สื่อ หรือแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิงและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีความยืดหยุ่นอย่างมากในเรื่องเนื้อหา ระยะเวลาเรียนกลุ่มเป้าหมาย มุ่งให้เกิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง อันจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
กรณีตัวอย่างการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยของ NASA
ในการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย ขอยกตัวอย่างกิจกรรมของ NASA ซึ่งได้เสนอการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนอกชั้นเรียนตามปกติ โดยเน้นวิธีการตีความ ซึ่งถือว่าเป็น สื่อกลางที่มีประสิทธิภาพที่เปิดโอกาสในการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ในระบบวิทยาศาสตร์ของโลกให้กับสาธารณชน การเรียนรู้ตามอัธยาศัยเกิดขึ้นในที่ต่างๆรวมทั้งพิพิธภัณฑ์ สวนสาธารณะ กลุ่มต่างๆ ในชุมชน และที่บ้านของผู้เรียน
โปรแกรมการศึกษาตามอัธยาศัยเกี่ยวกับโลกวิทยาศาสตร์Earth System Science-ESE ของ NASA เปิดโอกาสอย่างหลากหลายให้กับประชาชนทุกวัย ตามความสนใจ และตามภูมิหลัง เพื่อให้เกิดความเข้าใจและซาบซึ้งในแหล่งความรู้นี้และผลผลิตทางด้านวิทยาศาสตร์
โปรแกรมการศึกษาตามอัธยาศัยเกี่ยวกับโลกวิทยาศาสตร์ ของ NASA มีองค์ประกอบ 6 อย่าง (six element) คือ
- ศูนย์การเรียนรู้ตามอัธยาศัย (Informal Learning Centre) พิพิธภัณฑ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ ท้องฟ้าจำลอง สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ป่าดั้งเดิม สวนพฤกษศาสตร์ ห้องกระจกสำหรับปลูกต้นไม้ และอื่นๆ )
- พื้นที่ธรรมชาติและประวัติศาสตร์ (สวนสาธารณะ ที่พักอาศัยของสัตว์ป่าพื้นที่นันทนาการของประเทศ ป่าไม้ของประเทศ สวนสาธารณะของรัฐสวนสาธารณะของชุมชน ศูนย์ธรรมชาติของเอกชนและสาธารณะ สนสาธารณะทางด้านประวัติศาสตร์ และอนุสรณ์สถาน โบราณสถาน เป็นต้น)สถานที่เหล่านนี้นำเสนอในสิ่งที่ “เป็นจริง” ที่มีมาแต่เริ่มแรก
- สื่อผสม (วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์และวิดีโอ CD DVD เครื่องเล่นทางการศึกษา อินเตอร์เนต และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ)
- กลุ่มเยาวชน (ลูกเสือ อนุกาชาด ชมรมเด็กหญิง เด็กชาย โปรแกรมหลังเลิกเรียน เป็นต้น)
- กลุ่มต่างๆ ในชุมชน (ศูนย์ผู้สูงอายุ องค์กรประชาชน สถานสงเคราะห์คนชรา เป็นต้น)
- ห้องสมุด
โปรแกรมการศึกษาตามอัธยาศัยของ NASA พยายามส่งเสริมความร่วมมือระหว่าองค์กรต่างๆ ที่มีเป้าหมายคล้ายคลึงกัน ตัวอย่างเช่น ถ้านิทรรศการของพิพิธภัณฑ์ได้รับทุนสนับสนุนจาก NASA เขาก็จะส่งเสริมให้พัฒนาโปรแกรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาในระบบเพื่อให้กลุ่มนักเรียนที่มาทัศนศึกษาได้เรียนรู้ด้วย หรือถ้าศูนย์วิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ หรือศูนย์โบราณคดีต่างก็สนใจในสภาวะการเปลี่ยนแปลงของฝั่งทะเล ก็อาจมีการพัฒนาผลงานการศึกษาตามอัธยาศัยขึ้นมาชิ้นหนึ่งซึ่งเป็นการผสมผสานงานของทั้งสามองค์กร ซึ่งก็จะมีส่วนงานซึ่งกันและกัน และก็เป็นงานที่ส่งเสริม NASA ด้วย
หลักการ 6 ประการในการจัดโลกวิทยาศาสตร์ของ NASA ในรูปแบบของการศึกษาตามอัธยาศัย
1. การศึกษาตามอัธยาศัยต้องสัมพันธ์สิ่งที่นำเสนอ กับผู้ที่ตั้งใจมาชม
2. การศึกษาตามอัธยาศัยมิใช่เพียงการให้ความรู้อย่างง่ายๆ หรือเพียงแค่ความบันเทิง หากแต่แสดงให้เห็นถึงข้อมูลต่างๆ ที่ช่วยให้ผู้ชมสามารถเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งในสิ่งที่เสนอ(เช่น ดาวเทียม remote sensing เครื่องมือต่างๆ ผลการวิจัย โครงการต่างๆ ที่นำเสนอด้วย)
3. การศึกษาตามอัธยาศัยเป็นศิลปะ ซึ่งผสมผสานคิลปะในด้านต่างๆเพื่อที่จะนำเสนอหัวข้อนั้นๆ
4. จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาตามอัธยาศัย คือการกระตุ้นผู้ชมให้เกิดความต้องการที่จะเรียนรู้ต่อๆ ไปอีก
5. การศึกษาตามอัธยาศัยควรมีจุดมุ่งหมายที่จะนำเสนอเรื่องราวที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง มากกว่าจะเสนอเป็นส่วน ๆ และต้องให้ความหมายที่สำคัญเกี่ยวกับเรื่องราวนั้น
6. การศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับเด็กๆ ต้องอยู่บนหลักการดังกล่าวแล้ว และต้องออกแบบโดยคำนึงถึงความสามารถและรูปแบบในการเรียนรู้ โดยนึกถึงความสนใจของเด็กด้วย
ใครคือนักการศึกษาตามอัธยาศัย
- ผู้สร้างสรรค์สื่อวิทศาสตร์สำหรับประชาชน (Popular science mediacreator)
- อาจารย์ของศูนย์การเรียนรู้ตามอัธยาศัย หรืออาจารย์จากวิทยาลัย
- ล่าม/ ผู้บรรยาย/ผู้ดูแลอุทยาน/ ผู้นำชมแหล่งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม
- ผู้นำกลุ่มเยาวชน
- ที่ปรึกษา ผู้ออกแบบนิทรรศการ
- ผู้ประสานงาน/ผู้ออกแบบศูนย์ท่องเที่ยว NASA ลักษณะของผลงานที่เสนอในลักษณะของการศึกษาตามอัธยาศัย
- โปรแกรมสด(live program) เช่นการนำชม การเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ การสาธิต การย้อนเรื่องราวในอดีต การฉายสไลด์ สนทนารอบกองไฟ(campfire talks) และอื่นๆ
- อินเตอร์เนต เวบไซต์
- วิดีโอ
- ข่าว บทความ
- แผ่นพับ แผ่นปลิว
- ใบแถลงข่าว
- การแสดงนิทรรศการของชุมชน
- การประชุมปฏิบัติการของครู
- โรงเรียน/กลุ่มทัศนศึกษา
- การนำเสนอผลงานนอกสถานศึกษา/โรงเรียน
- สื่อที่ใช้เพื่อนำเสนอก่อน-และหลัง-การเยี่ยมชมของกลุ่มต่างในโรงเรียน
- รายการที่ออกอากาศไปแล้ว
- การละคร ภาพยนตร์ วิดีโอ
- สื่อเพื่อการศึกษาสำหรับกลุ่มต่างๆ ในชุมชน
- โปรแกรมที่จัดเพื่อพัฒนาวิชาชีพสำหรับนักการศึกษาในระบบและอัธยาศัย
- การฝึกอบรมและแหล่งสื่อสำหรับนักการศึกษาตามอัธยาศัย
- สื่อเผยแพร่สำหรับประชาชน
- นิทรรศการเคลื่อนที่
- นิทรรศการชั่วคราว
- โปสเตอร์
เกณฑ์การศึกษาตามอัธยาศัยของโปรแกรมโลกวิทยาศาสตร์ของ NASA
เกณฑ์การศึกษาตามอัธยาศัยของ NASA กำหนดไว้กว้างๆ โดยอยู่บนพื้นฐานของเกณฑ์ของผลผลิต (products)ของหน่วยงานที่เรียกว่า National Park Service (NPS) ใช้ หน่วยงานนี้คำนึงถึงคุณภาพของผลผลิตและบริการอย่างมาก โดยได้พัฒนาเกณฑ์คุณภาพผลผลิต(criteria for quality products) และได้กำหนดตัวชี้วัดซึ่งเป็นที่สนใจขึ้น การใช้เกณฑ์นี้ทำให้มั่นใจในคุณภาพที่สูงของผลผลิตงานการศึกษาตามอัธยาศัยของ NASA
โดยสรุป คุณภาพที่ดีของผลผลิตอยู่บนพื้นฐานของ
- ความรู้ของแหล่งข้อมูล/หรือเรื่องที่เสนอ (Knowledge of the Resource or Subject)
- ความรู้ของผู้เข้าชม (Knowledge of the Audience)
- วิธีการนำเสนอที่เหมาะสม (Appropriate Technique) ผลผลิตของการศึกษาตามอัธยาศัย ควรมีการคิดอย่างดีเกี่ยวกับ หัวข้อ (theme) จุดหมาย (goal) และวัตถุประสงค์(objectives)
เข้าชม : 5262 |