การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
สาระสำคัญ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความรู้ ความสามารถของบุคคลเพื่อให้สามารถจัดการกับตนเองและสิ่งแวดลอ้อม เพื่อให้มีความสุขตามสภาพและความสงบสุข ความลอดภัยในสังคม การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) เป็นการพัฒนาทักษะชีวิตพื้นฐานของบุคคล เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
2) เป็นการเรียนรู้โดยบูรณาการองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ ในชีวิตประจำวันเข้าด้วยกัน
3) เป็นการจัดการศึกษาในรูปแบบการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมุ่งที่จะเสริมสร้างความสามารถให้กับบุคลเพื่อมีทักษะชีวิตในการแก้ปัญหาเฉพาะด้านให้เหมาะสมกับพื้นที่และแต่ละสถานการณ์
นโยบาย ส่งเสริม สนับสนุนและจัดการศึกษาในรูปแบบต่างๆ ที่มีสาระสอดคล้องกับบริบทของสังคมและประเทศ เพื่อให้มีทักษะชีวิตที่จำเป็น และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งที่หน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียนจัดเองและร่วมมือหรือสนับสนุนให้หน่วยงานหรือบุคคลอื่นๆ จัดและสนับสนุนให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้ารับบริการตามความเหมาะสม
กลุ่มเป้าหมาย การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เป็นบริการที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน โดยจัดกิจกรรมการให้บริการ ดังนี้
1) การจัดกลุ่มสนใจ
2) การจัดกิจกรรมการศึกษา / ค่ายการเรียนรู้
3) การฝึกอบรมประชาชน
แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต โดยจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีสาระสอดคล้องกับบริบทของชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานของบุคคลให้สามารถถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยเน้นทักษะชีวิตพื้นฐานที่จำเป็น 4 ด้าน คือ
1.ด้านสุขภาพอนามัย มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการดูแลตนเองให้มีสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม รู้วิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ และสามารถแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่จะนำไปสู่โรคภัยไข้เจ็บได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
2. ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักในภัยอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากภัยอันตรายได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
3. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีจุดมั่งหมายเพื่อส่งเสริมให้มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มีจิตสำนึกในการร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม รู้วิธีใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า รู้วิธีป้องกันไม่ให้เกิดสภาพแวดล้อมเป็นพิษ และสามารถแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมเป็นพิษในชุมชนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
4. ด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อส่งเสริมให้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ถูกต้อง และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของคนในสังคมไทย รู้วิธีป้องกันไม่ให้ตนเอง ครอบครัว ชุมชนเข้าไปเกี่ยวข้องกับอบายมุข สามารถปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีของครอบครัว ชุมชน และสามารถแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ตัวชี้วัด
เชิงปริมาณ
– จำนวนผู้เข้ารับการอบรมและพัฒนาวิชาชีพ
– จำนวนผู้สำเร็จตามหลักสูตรที่กำหนด
เชิงคุณภาพ
-ความพึงพอใจของผู้รับบริการ
-ประโยชน์ที่ผู้รับบริการได้รับ
เข้าชม : 650 |