การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
1) การฝึกทักษะอาชีพ วิเคราะห์ความต้องการของผู้ร่วมกิจกรรมและความต้องการของผู้เรียนโดยฝึกทักษะอาชีพ ในลักษณะการศึกษาอาชีพหลักสูตรระยะสั้นหรือกิจกรรมรูปแบบการสาธิตและการปฏิบัติจริง ที่ต้องสนองความต้องการของผู้เรียนเพื่อให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานในอาชีพ
2) การเข้าสู่อาชีพ จัดกิจกรรมต่อเนื่องจากการฝึกทักษะอาชีพหรือจัดเป็นกิจกรรมเฉพาะเพื่อพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้สามารถคิด วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาตนเองเพื่อเข้าสู่อาชีพ โดยจัดให้มีกระบวนการแนะแนวอาชีพที่มีประสิทธิภาพ
3) การพัฒนาอาชีพ พัฒนาอาชีพของกลุ่มเป้าหมายในลักษณะกลุ่มพัฒนาอาชีพ โดยจัดให้มีการรวมกลุ่มของผู้มีอาชีพประเภทเดียวกันเพื่อรวมเป็นเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แสวงหาความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนพัฒนาอาชีพของกลุ่มโดยกระบวนการกลุ่ม (Group Process)
4) การพัฒนาอาชีพด้วยเทคโนโลยี พัฒนาอาชีพของกลุ่มเป้าหมายด้วยเทคโนโลยี โดยเน้นการจัดกิจกรรมให้กับกลุ่มเป้าหมายสถนประกอบและผู้ที่ต้องการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนากิจกรรมและศักยภาพของตนเอง เช่น การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการพาณิชย์ (E-Commerce) การจัดสร้างระบบฐานข้อมูลหรือการนำเสนองานด้วยคอมพิวเตอร์ หรือการนำเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยมาใช้ในการเพิ่มผลผลิต
เข้าชม : 651 |