[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

  

ความรู้เกี่ยวกับ IT
การทอดผ้าป่า

จันทร์ ที่ 7 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2559

คะแนน vote : 67  

 การทอดผ้าป่า

 

การทอดผ้าป่าเป็นประเพณีการทำบุญอย่างหนึ่งของชาวพุทธที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน คำว่า “ผ้าป่า” มีชื่อเรียกตามภาษาบาลีว่า “ปังสุกุละ” ซึ่งภาษาไทยใช้คำว่า “บังสุกุล” หมายถึงผ้าที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน หรือผ้าที่เขาไม่ใช้แล้วนำไปทิ้งที่กองขยะ หรือผ้าที่เขาใช้ห่อศพแล้วนำไปทิ้งไว้ในป่าช้า

 

ประวัติความเป็นมาในการทอดผ้าป่า สืบเนื่องมาจากในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้ายังมิได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทั้งหลายรับจีวรที่ชาวบ้านถวายโดยเฉพาะ พระภิกษุจึงต้องเก็บผ้าที่เขาทิ้งแล้วมาทำจีวร เช่น ผ้าเปรอะเปื้อนที่ชาวบ้านไม่ต้องการนำมาทิ้งไว้ ผ้าห่อศพเป็นต้น เมื่อรวบรวมผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยจนเพียงพอแก่ความต้องการแล้ว พระภิกษุจึงนำมาซักทำความสะอาด ตัด เย็บ ย้อมเพื่อทำเป็นจีวร สบง หรือสังฆาฏิ อย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้การทำจีวรของพระภิกษุในสมัยนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและเป็นงานใหญ่

 

เมื่อชาวบ้านที่มีจิตศรัทธาทั้งหลายพบเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์ ต้องการจะนำผ้ามาถวาย แต่เมื่อไม่มียังไม่มีพุทธานุยาตโดยตรง จึงได้นำผ้านั้นไปทอดทิ้งไว้ ณ ที่ต่างๆ เช่น ตามป่า ป่าช้า ข้างทางเดิน หรือแขวนไว้ตามกิ่งไม้ เพื่อให้พระภิกษุสะดวกในการแสวงหาผ้าบังสุกุล เมื่อพระภิกษุมาพบเห็นว่าเป็นผ้าที่ผู้เป้นเจ้าของทอดอาลัยแล้ว ก็นำเอามาทำเป็นผ้าจีวร ด้วยเหตุนี้จึงเรียกผ้าในลักษณะนี้ว่า “ผ้าป่า”

 

ผ้าป่าหรือผ้าบังสุกุล แบ่งได้เป็น 10 ประเภทได้แก่

 

  1. ผ้าที่ตกที่ป่าช้า
  2. ผ้าที่ตกที่ตลาด
  3. ผ้าที่หนูกัด
  4. ผ้าที่ปลวกกัด
  5. ผ้าที่ถูกไฟไหม้
  6. ผ้าที่วัวกัด
  7. ผ้าที่แพะกัด
  8. ผ้าห่มสถูป
  9. ผ้าที่เขาทิ้งในที่อภิเษก
  10. ผ้าที่เขานำไปสู่ป่าช้าแล้วนำกลับมา

 

การทอดผ้าป่านั้นไม่มีการกำหนดระยะเวลาในการทอด สามารถทำได้ตลอดทั้งปี และวัดหนึ่งๆสามารถจัดงานทอดผ้าป่ากี่ครั้งก็ได้ และยังไม่มีการเจาะจงเกี่ยวกับพระภิกษุที่จะรับผ้าป่าแต่อย่างใด ในปัจจุบันนิยมทำในรูปแบบต่างๆแตกต่างกันไป จึงมีชื่อเรียกเป็น 3 อย่างคือ

 

  1. ผ้าป่าหางกฐิณ คือผ้าป่าที่เจ้าภาพจัดให้มีขึ้นต่อจากการทอดกฐิณ คือเมื่อทำพิธีทอดกฐิณเสร็จแล้วก็ให้มีการทอดผ้าป่าด้วยเลย
  2. ผ้าป่าโยง คือผ้าป่าที่จัดทำรวมๆกันหลายกอง นำบรรทุกเรือแห่ไปทอดตามวัดต่างที่อยู่ริมแม่น้ำ จึงเรียกว่าผ้าป่าโยง จะมีเจ้าภาพเดียวหรือหลายเจ้าภาพก็ได้
  3. ผ้าป่าสามัคคี คือผ้าป่าที่มีการแจกฎีกาบอกบุญไปตาทมสถานที่ต่างให้ร่วมกันทำบุญแล้วแต่ศรัทธา โดยจัดเป็นกองผ้าป่ามารวมกันจะเป็นกี่กองก็ได้ เมื่อถึงวันทอดจะมีขบวนแห่ผ้าป่ามารวมกันที่วัดอย่างสนุกสนาน ในบางครั้งจุดประสงค์ก็เพื่อร่วมกันหาเงินสร้างถาวรวัตถุต่างๆเช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญและอื่นๆ เป็นต้น

 

การทอดผ้าป่าในเมืองไทยนั้น ได้รับการรื้อฟื้นขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ด้วยทรงพระประสงค์จะรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีในทางพระศาสนา

 

การทอดกฐิณ

 

การทอดกฐิณเป็นประเพณีสำหรับพุทธศาสนิกชนที่มีศรัทธาเลื่อมใส ประสงค์จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและส่งเสริมให้พระภิกษุได้ตามปฏิบัติตามพระวินัย ซึ่งถือปฏิบัติมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจนถึงปัจจุบันนี้ เป็นการเพิ่มพูนบุญกุศลซึ่งนำมาความสุขมาให้ เป็นงานบุญที่มีปีละครั้ง จึงจัดเป็นกาลทาน แปลว่า “ถวายตามกาลสมัย”

 

สำหรับคำว่ากฐิณมีความหมาย 4 ประการด้งนี้

 

  1. กฐิณที่เป็นชื่อของกรอบไม้ หมายถึง ไม้สะดึงคือกรอบไม้แบบชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึงเพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับใช้เป็นเครื่องมือเย็บจีวร ซึ่งมีลักษณะเป็นวงกลม เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ในสมัยก่อนการเย็บจีวรต้องใช้ไม่สะดึงขึงให้ตึงก่อนแล้วจึงเย็บ เพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมือนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอเหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน
  2. กฐิณที่เป็นชื่อของผ้า หมายถึงผ้าที่ถวายใช้เป็นกฐิญภายในกำหนดเวลา 1 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่หรือผ้าเทียมใหม่ เช่นผ้าฟอกสะอาดหรือผ้าบังสุกุล ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ เป็นพระภิกษุหรือสามเณรก็ได้ ซึ่งหากถวายแก่พระสงฆ์แล้วก็เป็นอันใช้ได้
  3. กฐิณที่เป็นชื่อของบุญกิริยา หมายถึงการทำบุญถวายผ้ากฐิณเป็นทานแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่วัดใดวัดหนึ่งครบ 3 เดือน เพื่อสงเคราห์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด
  4. กฐิณทีเป็นชื่อของสังฆกรรม หมายถึงกิจกรรมของสงฆ์ก็จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐิณให้แก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อทำจีวรสำเร็จแล้วด้วยความร่วมมือของพระภิกษุทั้งหลาย ก็จะได้เป็นโอกาสให้ได้ช่วยกันทำจีวรของพระภิกษุของพระภิกษุรูปอิ่น ขยายเวลาทำจีวรได้อีก 4 เดือน ทั้งนี้เพราะในสมัยพุทธกาลการหาผ้าเพื่อทำจีวรทำได้โดยยาก ไม่ทรงอนุญาตให้เก็บสะสมผ้าไว้เกิน 10 วัน แต่เมื่อได้ช่วยกันทำสังฆกรรมเรื่องกฐิณแล้ว อนุญาตให้แสวงหาผ้าและเก็บผ้าไว้ทำเป็นจีวรได้จนตลอดฤดูหนาว

 

ประเภทของกฐิณแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ กฐิณหลวงและกฐิณราษฎร์

 

กฐิณหลวงแบ่งเป็น

 

  1. กฐิณที่กำหนดเป็นพระราชพิธี ซึ่งเป็นกฐิณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิณด้วยพระองค์เองหรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระบรมวงศานุวงศ์หรือองคมนตรี  หรือผู้ที่ทรงเห็นสมควรเป็นผู้แทนพระองค์นำผ้าพระกฐิณพระราชทานไปทอดถวาย ณ พระอารามหลวงที่สำคัญๆ ทั้งในกรุงเทพมหานคาและส่วนภูมิภาค
  2. กฐิณต้นเป็นกฐิณที่เกิดขึ้นเพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิณ ณ วัดที่มีใช่พระอารามหลวง แต่เป็นวัดราษฎร์วัดใดวัดหนึ่ง และมิได้เสด็จไปอย่างเป็นทางราชการหรืออย่างเป็นพระราชพิธีแต่เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้กฐิณพระราชทานเป็นกฐิณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานผ้าพระกฐิณของหลวงแก่ผู้ที่กราบบังคมทูลขอพระราชทานเพื่อไปทอดถวาย ณ พระอารามหลวงอื่นๆ ที่มิใช่ 16 วัดซึ่งทางราชการกำหนดขึ้นเป็นพระราชพิธี
    •    เป็นวัดที่ยังไม่เคยเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิณมาก่อน
    •    ประชาชนมีความเลื่อมใสในวัดนั้นมาก
    •    ประชาชนในท้องถิ่นนั้นไม่ค่อยมีโอกาสได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไป จะได้มีโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จอย่างใกล้ชิด
  3.  

 

กฐิณราษฎร์แบ่งเป็น

 

  1. มหากฐิณ เป็นกฐิณที่ราษฎรหรือประชาชนนำไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่งซึ่งตนมีศรัทธาเป็นการเฉพาะ กล่าวคือ ท่านผู้ใดมีศรัทธาจะทอดกฐิณ ณ วัดใด ก็นำผ้าจัดเป็นองค์กฐิณ ซึ่งอาจถวายของอื่นๆไปพร้อมกับองค์กฐิณ เรียกกันว่าบริวารกฐิณ ตามที่นิยมกันมีปัจจัย 4
  2. จุลกฐิณ เป็นกฐิณที่ต้องทำให้เสร็จภายในวันเดียว เดิมเรียกว่ากฐิณแล่นซึ่งมีความหมายคือเร่งรีบจึงจะเสร็จทันกาล ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือและความสามัคคีของคนหมู่มาก จึงไม่ค่อยมีใคนิยมทำกันนัก
  3. กฐิณสามัคคี เป็นกฐิณที่มีเจ้าภาพหลายคนร่วมกัน แต่เพื่อไม่ให้การจัดงานยุ่งยากมากเกินไป ก็มักจะตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งดำเนินการแล้วมีหนังสือบอกบุญไปยังผู้อื่นด้วย เมื่อได้ปัจจัยมาเท่าไรก็จัดผ้าอันเป็นองค์กฐิน รวมทั้งบริวาร ปัจจัยที่เหลือก็ถวายวัด เพื่อทางวัดจะนำไปใช้จ่ายในทางที่ควร กฐินสามัคคีนี้มักนำไปทอดยังวัดที่กำลังมีการก่อสร้างหรือกำลังบูรณปฎิสังขรณ์ เพื่อสมทบทุนให้สิ่งอันพึงประสงค์ของวัดสำเร็จ 
  4. กฐิณตกค้าง หรือ กฐิณโจร กฐินที่เจ้าภาพนำไปทอดโดยมิได้ให้ทางวัดทราบล่วงหน้า พอผ่านไปพบวัดใดวัดหนึ่งที่ยังไม่มีกฐิน ไม่มีผู้จองกฐินจวนจะหมดเขตกฐินอยู่แล้ว ก็จู่โจมเข้าไปทอดถวายคล้ายกับโจรปล้นมิให้เจ้าของทรัพย์รู้ตัว

 

การทอดกฐินเป็นบุญพิเศษ

 

  • พิเศษเพราะเป็นสังฆทาน มิได้เฉพาะเจาะจงแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง 
  • พิเศษเพราะเป็นการถวายทานตามกาล ไม่มีทั่วไป เรียกว่า กาลทาน” ตามพระธรรมวินัยกำหนดกาลไว้ คือ มีกำหนดเวลาถวายที่จำกัดเพียงหนึ่งเดือนหลังจากออกพรรษาแล้ว ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 โดยแต่ละวัดสามารถรับกฐินได้ปีละครั้งเดียว และจะต้องมีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาครบ 5รูป หากวัดใดมีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาไม่ถึง 5 รูป จะต้องนิมนต์พระสงฆ์จากวัดอื่นๆ มาร่วมพิธีกรรมให้ครบ 5 รูปเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ครบองค์สงฆ์ตามพระวินัยบัญญัติ องค์สงฆ์ 5 รูป ตามพระวินัยบัญญัติดังกล่าวนั้น มี 4 รูป เป็นองค์พยาน และอีก 1 รูปเป็นองค์ครองผ้ากฐิน ภาษาสังฆกรรมของพระเรียกว่า ปัญจวรรค” ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ ถ้าทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ก็ไม่เป็นการทอดกฐิน แต่มีข้อยกเว้นพิเศษว่า ถ้าทายกทายิกาผู้จะทอดกฐินนั้น มีกิจจำเป็นเช่นจะต้องไปในทัพ ไม่สามารถจะอยู่ทอดกฐินตามกำหนดนั้นได้ จะทอดกฐินก่อนกำหนดดังกล่าวแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุรับไว้ก่อนได้ 
  • พิเศษเพราะมีอานิสงส์ทั้งสองฝ่าย คือ อานิสงส์สำหรับพระภิกษุผู้รับกฐิน และอานิสงส์สำหรับผู้ถวายกฐิน


ที่มา

www.bokboontoday.com/advertise/ความแตกต่างของการทอดผ้าป่าและการทอดกฐิ 


เข้าชม : 1879


ความรู้เกี่ยวกับ IT 5 อันดับล่าสุด

      สำหรับใครที่ต้องการจะอัพสมองให้ไบรท์อยู่เสมอ ก็สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วย 6 วิธีอัพสมองเพิ่มความจำ จะเป็ 7 / พ.ย. / 2559
      การทอดผ้าป่า 7 / พ.ย. / 2559
      การพัฒนา Koratsite 31 / ต.ค. / 2553
      มันสามารถเขียนทับไฟล์ที่ลึกกว่า root ได้อีกด้วย 20 / เม.ย. / 2551
      แก้ปัญหา Windows XP บูตช้า 12 / ก.พ. / 2551


 

ศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบลเกาะใหญ่
ตำบลเกาะใหญ่  อำเภอกระแสสินธุ์   จังหวัดสงขลา   โทรศัพท์ 074-399139
โทรสาร  074-399790  supanantukta2532@gmail.com 

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05