[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

บุหลันฟาร์ม  “ 1  ไร่ หายจนคนเกาะใหญ่ ด้วยเกษตรผสมผสาน

 

ที่ดินเพียง 1 ไร่ อาจดูไม่มากมายนัก แต่หากมีการศึกษา จัดระเบียบกระบวนการคิด และวางแผนอย่างรอบคอบ เราก็จะสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่า สามารถสร้างรายได้ และสร้างความสุขให้กับครอบครัวได้อย่างยั่งยืน ด้วยการทำ “เกษตรผสมผสาน

คุณนิตยา   อภัยพรม  เจ้าของบุหลันฟาร์ม เปิดเผยว่า ตนเองได้เช่าที่ดินจำนวน  1  ไร่เพื่อที่จะทำการเกษตรไว้สำหรับกินในครัวเรือน  และประกอบอาชีพเป็นแม่ค้ารับซื้อของเก่าด้วย และต่อมาได้ผันตัวเองจากแม่ค้ารับซื้อของเก่า มาประกอบอาชีพการทำเกษตรผสมผสาน เพราะด้วยสภาพร่างกายไม่แข็งแรงและมีอายุมากขึ้น จึงได้เริ่มทำการเกษตรอย่างจริงจัง  ได้แก่ การปลูกพืชหมุนเวียน การเลี้ยงปลา  การทำน้ำหมักชีวภาพ และการเพาะเห็ดนางฟ้า  โดยเริ่มแรกได้ซื้อก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้ามาเพาะเพื่อเก็บดอกขาย  และต่อมาก็เริ่มศึกษาการทำก้อนเชื้อเห็ดเพื่อใช้ในการเพาะเอง และขายก้อนเชื้อเห็ดให้กับผู้ที่สนใจด้วย เพราะเห็ดชนิดนี้ เป็นที่ต้องการของตลาด แต่ในช่วงฤดูร้อนผลผลิตจะออกมาไม่ค่อยดีมากนัก ต่อมาจึงได้ปรับเปลี่ยนมาเพาะเห็ดฟางเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มรายได้

ด้วยความสนใจและรักในงานการทำเกษตร จึงได้มีการขยายทำโรงเรือนเพาะเห็ดเพิ่มจาก 1 โรงเป็น 4 โรง รวมถึงการสลับปลูกพืชทางการเกษตรแบบหมุนเวียนโดยจะไม่ทิ้งช่วงให้ดินว่างเปล่าเลย โดยทางคุณนิตยา  อภัยพรม ได้กล่าวว่าตนเองได้ผลิตน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหาร เศษผัก ของเหลือใช้ต่างๆ เพื่อที่จะนำมาใช้ในการรดพืชผลทางการเกษตร ช่วยลดต้นทุนและยังช่วยรักษาสภาพดิน จึงทำให้ตนเองได้ปลูกพืชได้ทุกช่วงฤดูกาล

ปัจจุบันทางครอบครัวมีรายได้หลักจากการขายผลผลิตทางการเกษตรไม่ต่ำกว่าเดือนละ 30,000 บาทต่อเดือน  และสามารถส่งเสียให้ลูกได้เรียนหนังสือ โดยไม่มีหนี้สินใดๆ

 

จากระยะเวลาเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา  5  ปี บุหลันฟาร์ม ได้พัฒนาจากธุรกิจครอบครัวเล็กๆ ไปสู่ธุรกิจที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆจนสามารถส่งออกไปขายยังตลาดในชุมชน และตลาดในเมืองได้ จนสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัว และสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้ที่สนใจทำการเกษตรผสมผสานได้  ใครสนใจศึกษาดูงานเพื่อเรียนรู้ได้ที่  24 /3 หมู่ที่  3  ตำบลเกาะใหญ่  อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา  90270

 

  
  



ประวัติแหล่งเรียนรู้ทางสังคม วัฒนธรรม  ตำบลเกาะใหญ่
 
           ต.เกาะใหญ่ ตั้งอยู่ใน อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา 
 
 
 
          เดิมพื้นที่อำเภอกระแสสินธุ์เป็นตำบลหนึ่งที่อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เมื่อประมาณต้นปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้มี คณะสงฆ์ ผู้นำชุมชน และคณะครูอาจารย์ในพื้นที่ ๓ ตำบล ได้แก่ ตำบลโรง ตำบลเชิงแส และตำบลเกาะใหญ่ ได้ประชุมตกลงกันเสนอให้ทางการแยก การปกครองออกจากอำเภอระโนด เนื่องจากการคมนาคมระหว่างสามตำบลมีความลำบากไม่สะดวกกับการติดต่อกับทางราชการโดยตกลงขอใช้ชื่อว่า “กิ่งอำเภอกระแสสินธุ์” ทั้งนี้ก็ด้วยการนำเอาอักษรย่อของสามตำบลมาร่วมกันตั้งเป็นชื่อดังกล่าว คือ
บ้านทุ่งบัว

 
 
 
 
บ้าน ทุ่งบัว  ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา สาเหตุที่เรียกชื่อ บ้านทุ่งบัว เนื่องจากพื้นที่ทางทิศเหนือของหมู่บ้าน ติดต่อกับทะเลสาบสงขลา มีน้ำขังตลอดปี มีบัวนาขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า “บ้านทุ่งบัว”
การก่อตั้งหมู่บ้าน เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ.ใด นั้นไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด แต่จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุในหมู่บ้าน ว่าน่าจะก่อตั้งหมู่บ้านประมาณไม่ต่ำกว่า ๔๐๐ ปีมาแล้ว บุคคลกลุ่มแรกที่เริ่มมาก่อตั้งหมู่บ้าน คือ สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่ พร้อมญาติโยม ซึ่งอพยพหนีภัยโจรสลัดมาลายู มาจากจังหวัดนราธิวาส โดยทางเรือ ซึ่งได้จอดเรือไว้ที่อ่าวบ้านทุ่งบัว ต่อมาซึ่งชาวบ้านได้ขุดพบหลักฐานซากเรือโบราณดังกล่าว ที่บริเวณอ่าวหน้าบ้านทุ่งบัว ปัจจุบันซากเรือได้เก็บรักษาอยู่ที่วัดทุ่งบัว
สภาพภูมิศาสตร์ ของหมู่บ้านทุ่งบัวในอดีต พื้นที่ทางทิศตะวันตกติดกับภูเขาพื้นที่เป็นป่ารก อุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นไม้ สัตว์ป่านาๆชนิด เช่น เสือ กวาง ลิง กระรอก เป็นต้น ทางด้านทิศตะวันออก เป็นที่ราบติดกับทะเลเป็นทุ่งหญ้า อ่าวดอกบัว

บ้านแหลมยาง
 
 
                บ้านแหลมยาง  ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เริ่มก่อตั้งหมู่บ้านมาประมาร ๒๐๐ ปี มาแล้ว พื้นที่ตั้งหมู่บ้านมีลักษณะเป็นที่ราบเชิงภูเขา ติดต่อกับทะเลสาบสงขลา สาเหตุที่เรียกชื่อบ้านว่า “แหลมยาง” สมัยก่อนพื้นที่ในหมู่บ้านมีต้นยางขึ้นอยูป็นจำนวนมาก และมีต้นยางขนาดใหญ่มาก จำนวน ๑ ต้น มีอายุหลายร้อยปี ผู้สัญจรไปมาในท้องทะเล ไม่ว่าจะเป็นคนในท้องถิ่น หรือต่างถิ่น เช่น ชาวบ้านจากจังหวัดพัทลุง ก็จะมองเห็นต้นยางใหญ่ต้นนี้มาจากระยะไกล ซึ่งเป็นจุดเด่นและสัญลักษณ์ว่า ใกล้จะถึงบ้านแหลมยางแล้ว จึงเรียกชื่อบ้าน “แหลมยาง” มาจนถึงปัจจุบัน
 
 
บ้านไร่
 
 
บ้านไร่ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา  เริ่มก่อตั้งหมู่บ้านเมื่อประมาณ ๓๐๐ ปีมาแล้ว พื้นที่ตั้งหมู่บ้านมีลักษณะเป็นที่ราบ เชิงภูเขา สมัยก่อนพื้นที่เป็นป่ารกไม่มีเจ้าของ ต่อมาประชาชนเข้ามาถางป่า จับจองที่ดินทำกิน ทำไร่ ส่วนใหญ่จะทำไร่ข้าว ไร่มัน ละไร่แตงโม จึงเรียกหมู่บ้านว่า “บ้านไร่”
 
 
บ้านแหลมบ่อท่อ
 
 
 
บ้านแหลมบ่อท่อ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา  ที่มาของชื่อหมู่บ้านแหลมบ่อท่อ เนื่องจากพื้นที่ของหมู่บ้านมีลักษณะเป็นที่ราบเชิงภูเขาติดต่อกับทะเลสาบสงขลา ชาวบ้านจึงเรียกว่า “แหลม” ส่วน “บ่อท่อ” มาจากชื่อของบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านอยู่ทางทิศเหนือของวัดแหลมบ่อท่อ ประมาณ ๗๐ เมตร ติดกับทะเลสาบสงขลา เป็นบ่อน้ำผุดขึ้นเหนือพื้นดินตามธรรมชาติ มีน้ำใส และปริมาณน้ำในบ่อมาก ชาวบ้านจึงนำไม้ มาทำท่อสวมลงไปในบ่อเพื่อรองรับน้ำให้สะดวกในการใช้น้ำ จึงเรียกชื่อหมู่บ้านว่า “แหลมบ่อท่อ” จนถึงปัจจุบัน
 
 
บ้านยางทอง
 
                บ้านยางทอง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕  ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา  สาเหตุที่เรียกชื่อ บ้านยางทอง เนื่องจากในสมัยก่อนในหมู่บ้านมีต้นยางเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านมีอาชีพเผาเอาน้ำมันมาจากต้นยาง มาทำไต้เพื่อใช้แสงสว่าง และใช้มันยางในการต่อเรือ และมีต้นยางขนาดใหญ่ ๑ ต้น ปัจจุบันอยู่ที่ “หลาทวด” ซึ่งไม่ใครสามารถตัดเอามาทำน้ำมันยางได้ เนื่องจากมีงูจงอางอยู่ประจำที่ต้นยาง และชาวบ้านในหมู่บ้านเชื่อว่าเป็นต้นยางที่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ จึงเป็นที่เคารพบูชาของชาวบ้าน มีการบนบาน ร้องขอในสิ่งต่างๆ เมื่อได้ตามความประสงค์ก็จะนำทองคำเปลว มาติดต้นยางรอบๆต้น จนเต็มไปด้วยทองคำเปลว จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน “ยางทอง” จนถึงปัจจุบัน
                ปัจจุบัน ต้นยางต้นดังกล่าวไม่มีแล้ว แต่ชาวบ้านได้สร้างศาลา (ชาวบ้านเรียกว่า หลาทวด ตั้งอยู่บนเนินภูเขาเกาะใหญ่ หมู่ที่ ๕ ต.เกาะใหญ่) และรูปปั้นของทวด ถืองูจงอางมีหงอนสีแดงพันรอบๆรูปปั้น เพื่อเป็นที่สักการบูชา ปัจจุบัน ชาวบ้านยังทำพีเซ่นไหว้ทำบุญให้แก่ทวด เป็นประจำทุกปี ปีละ ๒ ครั้ง ในวัน สงกรานต์และวันทอดผ้าป่า
 
 
บ้านแหลมหาด

                บ้านแหลมหาด ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา  ได้ก่อตั้งขึ้นโดยประมาณ ๑๕๐ ปี มาแล้ว โดยมีนายปาน ขุนราช เป็นกำนันคนแรก ที่มาของชื่อบ้านแหลมหาด เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นพื้นดินที่ยื่นออกไปในทะเลสาบ เรียกว่า แหลม และมีหาดทราย ซึ่งในอดีตมีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่บนหาดทรายเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านเรียกอีกชื่อว่า หาดไข่เต่า ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวัดแหลมหาด และเรียกชื่อว่า บ้านแหลมหาด ในปัจจุบันบ้านแหลมหาด ยังมีชื่อบ้านที่แยกออกเป็น ๓ หมู่บ้าน คือ บ้านคลองเติง บ้านแหลมเตาปูน บ้านสวนฝรั่ง
 
บ้านเกาะใหญ่

                บ้านเกาะใหญ่ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๗ ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา  บ้านเกาะใหญ่เริ่มก่อตั้งเป็นหมู่บ้านมาประมาณ ๓๐๐ ปีมาแล้ว สาเหตุที่เรียกชื่อบ้านว่าบ้านเกาะใหญ่ เนื่องจากมีสภาพพื้นที่เป็นแหลมที่มีภูเขายื่นติดต่อกับทะเลสาบสงขลา ลักษณะเหมือนเกาะขนาดใหญ่ ชาวบ้านจึงเรียก “บ้านเกาะใหญ่” จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านว่า คนกลุ่มแรกที่เป็นผู้เริ่มก่อตั้งหมู่บ้านเกาะใหญ่ คือ สมเด็จเจ้าเกาะใหญ่ ซึ่งอพยพหนีภัยโจรสลัดมลายู มาจากจังหวัดนราธิวาส
                เกาะใหญ่ เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของทะเลสาบสงขลา ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของทะเลสาบสงขลาตอนเหนือ ห่างจากฝั่งตะวันตกประมาณ ๑๕ กิโลเมตร อาณาเขตเกาะใหญ่ ทิศเหนือ  ใต้ ตะวันตก จดทะเลสาบสงขลา ส่วนทางทิศตะวันออกจดคลองยมราช กว้างประมาณ 10 เมตร ยาวจากฝั่งทะเลสาบที่อ่าวทุ่งบัวไปจดฝั่งทะเลสาบที่อ่าวเกาะใหญ่ รวมความยาวคลองนี้ ประมาณ ๒,๕๐๐ เมตร
 
 
บ้านแหลมคูลา
                บ้านแหลมคูลา ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘ ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา  ที่มาของชื่อบ้านแหลมคูลา เนื่องจากมีลักษณะพื้นที่ดินยื่นออกไปนอกทะเลสาบสงขลาฝั่งตะวันตก จึงเรียกว่า”แหลม” ส่วน “คูลา” เนื่องจากในสมัยก่อนชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ข้าว และมีนกคูลา มากินข้าวในไร่ และอาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งนี้เป็นจำนวนมาก จึงเรียกชื่อหมู่บ้านว่าบ้านแหลมคูลา (ปัจจุบันอาชีพทำไร่ข้าวจ้าวและนกคูลา ไม่มีให้เห็นอีก) และอีกกระแสหนึ่งชาวบ้านเล่าว่า เดิมเคยมีพระพุทธรูปทำด้วยโลหะชื่อว่า พระคูลา เป็นพระคู่บ้านแต่ปัจจุบันพระพุทธรูปดังกล่าวไม่ได้อยู่ในหมู่บ้านอีกแล้ว จึงเรียกชื่อหมู่บ้านตามชื่อพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว
 
บ้านแหลมชัน

            บ้านแหลมชัน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๙ ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา  ได้แยกหมู่บ้านมาจากหมู่ที่ ๖ ตำบลเกาะใหญ่ ในปี ๒๕๒๘ โดยมีนายจรูญ  บุษบงค์  เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ที่มาของชื่อ บ้านแหลมชัน เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ที่ตั้งของหมู่บ้านแหลมชัน มีลักษณะเป็นแหลมเชิงภูเขาสูงชันติดริมทะเล ชาวบ้านจึงเรียกว่า “บ้านแหลมชัน


เข้าชม : 910
 
 

ศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบลเกาะใหญ่
ตำบลเกาะใหญ่  อำเภอกระแสสินธุ์   จังหวัดสงขลา   โทรศัพท์ 074-399139
โทรสาร  074-399790  supanantukta2532@gmail.com 

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05