[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

  

บทความทั่วไป
เทคโนโลยีชีวภาพคืออะไร

เสาร์ ที่ 5 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2559

คะแนน vote : 59  

      เทคโนโลยีชีวภาพ คือ เทคโนโลยีซึ่งนำเอาความรู้ทางด้านต่างๆของวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับสิ่งมีชีวิต หรือชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิต หรือผลผลิตของสิ่งมีชีวิต เพื่อเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นทางการผลิตหรือทางกระบวนการ ของสินค้าหรือบริการ เพื่อใช้ประโยชน์เฉพาะอย่างตามที่เราต้องการ โดยสามารถใช้ประโยชน์ทางด้านต่างๆ เช่น ด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านทางการแพทย์ เป็นต้น

ประเภทของเทคโนโลยีชีวภาพมีกี่ประเภท

     เทคโนโลยีชีวภาพไม่มีจำนวนประเภทหรือไม่มีจำนวนชนิดที่แน่นอน และที่สำคัญคือ ไม่ควรจะระบุจำนวนประเภทหรือจำนวนชนิดที่แน่นอนลงไป เพราะมันจะเป็นการขัดขวางหรือเป็นการจำกัดการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในสาขาต่างๆหรือด้านต่างๆ เนื่องจากเมื่อระบุจำนวนประเภทหรือจำนวนชนิดที่ชัดเจนลงไปจะเป็นการตีกรอบขอบเขตของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพอยู่แค่ในจำนวนประเภทหรือจำนวนชนิดที่ได้ระบุหรือนิยามไว้ ทำให้จำกัดการเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพลงไปด้วย
ถ้าบอกว่า
เทคโนโลยีชีวภาพมี 4 ประเภท คือ
1.
GMOs
2.
การโคลนนิ่ง
3.
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
4.ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ
     ซึ่งประเภทเหล่านี้เป็นการนำ
เทคโนโลยีชีวภาพมาประยุกต์ใช้กับสิ่งมีชีวิต ถ้าเทคโนโลยีชีวภาพถูกจำกัดด้วยประเภทเหล่านี้ การนำเทคโนโลยีชีวภาพมาประยุกต์ใช้กับบางเทคโนโลยีที่นอกเหนือจากนี้อาจไม่เกิดขึ้นได้
เช่น
- DNA Computing เป็นการประยุกต์ความรู้มาใช้ระหว่าง
เทคโนโลยีชีวภาพ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ เพื่อนำดีเอ็นเอ (DNA) มาใช้ในการคำนวณประมวลผลคล้ายกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
- Bionics เป็นการประยุกต์ความรู้มาใช้ระหว่าง
เทคโนโลยีชีวภาพ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เพื่อสร้างสิ่งที่เลียนแบบธรรมชาติขึ้นมาใช้ในการแก้ปัญหา

ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีชีวภาพในชีวิตประจำวัน

นมเปรี้ยวและโยเกิร์ต
     เป็นผลิตภัณฑ์ทาง
เทคโนโลยีชีวภาพที่ทำจากนมชนิดต่างๆ เช่น นมสด นมพร่องมันเนย หรือ นมถั่วเหลือง โดยการหมักนมร่วมกับแบคทีเรียพวก แลคโตบาซิลัส เอซิโดซิส และ สเตรปโตคอคคัส เทอร์โมฟิลลัส แบคทีเรียพวกนี้จะช่วยย่อยน้ำตาลแลคโตสที่อยู่ในนมให้กลายเป็นกรดแลคติค ทำให้เกิดภาวะกรดและมีรสเปรี้ยว จะทำได้ 2 แบบ คือ นมเปรี้ยว ที่มีลักษณะเป็นน้ำคล้ายเครื่องดื่ม อีกชนิดหนึ่ง คือ โยเกิร์ต ที่มีลักษณะเป็นของเหลวข้น

น้ำหมักชีวภาพ หรือ น้ำสกัดชีวภาพ หรือ น้ำจุลินทรีย์
     เป็นผลิตภัณฑ์ทาง
เทคโนโลยีชีวภาพมีสถานะเป็นสารละลายของเหลวประกอบไปด้วยจุลินทรีย์จำนวนมาก มีสีดำออกน้ำตาล มีกลิ่นอมเปรี้ยวอมหวาน และยังสามารถใช้ช่วยในการปรับความสมดุลของสิ่งแวดล้อมและของสิ่งมีชีวิตได้ ในบางครั้งน้ำหมักชีวภาพยังสามารถนำไปล้างห้องน้ำได้ จะช่วยให้ขจัดกลิ่นเหม็นไม่พึงประสงค์ได้ น้ำหมักชีวภาพ ได้จากการหมักเศษซากพืช หรือเศษซากสัตว์ กับสารที่ให้ความหวาน

 พืช 
GMOs หรือ พืชดัดแปลงพันธุกรรม คือ พืชที่ได้รับการคัดเลือกให้มาผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม(Genetic Engineering) เพื่อที่จะให้พืชชนิดนั้นมีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติที่จำเพาะเจาะจงตรงตามความต้องการเช่น พืชที่ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่ไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโต, พืชที่มีความสามารถต้านทานแมลงศัตรูพืชได้, พืชที่มีสารอาหารทางโภชนาการหรือสารชีวโมเลกุลบางชนิดที่เพิ่มขึ้น เช่น มี โปรตีน หรือ วิตามิน หรือ ไขมัน ที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น

     พืช GMOs หรือ พืชดัดแปลงพันธุกรรมถือว่าเป็น จีเอ็มโอ (GMOs – Genetically Modified Organisms) หรือ สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ประเภทหนึ่ง ซึ่งพืชที่ผ่านการตัดต่อยีน(Gene)แล้วจากกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) มีอีกชื่อเรียกหนึ่งที่มักเรียกกัน นั่นคือ “Transgenic Plant”

     พืชจีเอ็มโอ (พืช GMOs) ที่ได้มีการวางจำหน่ายแล้วตามท้องตลาดในปัจจุบัน ได้แก่ ข้าวโพด, มะเขือเทศ, ถั่วเหลือง, ฝ้าย, มันฝรั่ง, มะละกอ, สควอช (Squash) และ คาโนลา (Canola) (พืชที่ให้น้ำมัน)

พืช GMOs



เข้าชม : 9248


บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า “การอ่าน” คือการเปิดประตูสู่โลกกว้าง 4 / ก.พ. / 2560
      แจง ม.44 เด็กเรียนฟรีทั้งประเทศ 26 / พ.ย. / 2559
      ฝึกพูดภาษาอังกฤษกับลูก ด้วยศัพท์ในชีวิตประจำวัน 26 / พ.ย. / 2559
      \"ร่มอากาศ\" สุดยอดนวัฒกรรม กันฝนได้แม้วันมามาก 26 / พ.ย. / 2559
      เทคนิคเพื่มความจำก่อนเข้าห้องสอบ 6 / พ.ย. / 2559


 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลกระแสสินธุ์ 
ตำบลกระแสสินธุ์   อำเภอกระแสสินธุ์   จังหวัดสงขลา   โทรศัพท์  074-399139
โทรสาร  074-399790  sumonta-tawan@hotmail.com  
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05