[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 

  

บทความทั่วไป
วิธีทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อประโยชน์สูงสุดตามวิถีเกษตรอินทรีย์

อังคาร ที่ 20 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2559

คะแนน vote : 64  

 

วิธีทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อประโยชน์สูงสุดตามวิถีเกษตรอินทรีย์



        ปัจจุบัน ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะได้รับการยอมรับว่าสามารถช่วยให้ผลผลิตดีขึ้น และไม่เป็นอันตรายเหมือนกับปุ๋ยเคมี อีกทั้งยังสามารถทำได้เองอีกต่างหาก ปุ๋ยชีวภาพสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ

  1. ปุ๋ยน้ำที่เกิดจากขยะเปียกต่างๆ เช่น เศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้ พืชสมุนไพร
  2. ปุ๋ยที่เกิดจากการผลิตจากสัตว์ เช่นปลา หรือหอยเชอรี่สำหรับวิธีการทำปุ๋ยชีวภาพนั้น สามารถทำได้ดังต่อไปนี้
  3. ปุ๋ยที่เกิดจากพืชหรือขยะเปียก ขั้นแรกให้เราหาวัสดุต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ดังนี้

    • เศษวัสดุเหลือใช้ เช่นเศษพืช เศษผัก/ผลไม้ หรือเศษอาหาร จำนวนประมาณครึ่งถัง
    • กากน้ำตาลประมาณ 1 ลิตร
    • น้ำที่เกิดจากการหมักจุลินทรีย์จำนวน 1 ลิตร
    • น้ำสะอาดประมาณครึ่งถัง

    เมื่ออุปกรณ์ต่างๆ ครบ ให้เราเริ่มนำ น้ำสะอาดเติมลงในถัง และเติมส่วนผสมอื่นๆ เช่นหัวเชื้อจุลินทรีย์หรือน้ำหมักจุลินทรีย์ พร้อมกับกากน้ำตาลลงไปผสมให้เข้ากัน ข้อแนะนำก็คือไม่ควรเติมกากน้ำตาลมากจนเกินไปเพราะจะส่งผลให้เกิดกลิ่นที่รุนแรงตามมาได้ จากนั้นเมื่อทุกอย่างเข้ากันดีแล้วให้เทส่วนผสมที่ออกมาลงในถุงปุ๋ยแล้วนำไปเก็บไว้ในที่ร่มประมาณ 7 วัน ก็จะได้ปุ๋ยชีวิภาพสูตรพืชตามที่ต้องการ

    2. ปุ๋ยที่เกิดจากสัตว์ ขั้นแรกเราต้องเตรียมวัสดุดังต่อไปนี้

    • ปลา หรือหอยเชอรี่ที่ต้องการนำมาทำปุ๋ยประมาณ ครึ่งถัง
    • กากน้ำตาลประมาณ 1 ลิตร
    • น้ำที่เกิดจากการหมักจุลินทรีย์สำหรับเป็นหัวเชื้อประมาณ 1 ลิตร
    • น้ำสะอาดประมาณครึ่งถัง
    • ถังพลาสติกเปล่าๆ ที่มีฝาปิดมิดชิดพร้อมไม้สำหรับคน

    เมื่ออุปกรณ์ต่างๆ ครบแล้วให้เราเริ่มลงมือได้โดยการนำ ปลา หอยเชอรี่ ลงในถัง แล้วเทส่วนกากน้ำตาล น้ำหมักหัวเชื้อ น้ำสะอาดลงไปในถังเปล่าที่เตรียมไว้ จากนั้นให้ใช้ไม้คนวัสดุให้เข้ากัน แล้วปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 1-2 เดือนโดยระหว่างการหมักนั้น ให้คนส่วนผสมต่างๆ ในถังอย่างสม่ำเสมอเพื่อเร่งหรือกระตุ้นให้เกิดการย่อยสลายได้ดีขึ้น เมื่อผ่านไปประมาณ 2 เดือนก็สามารถนำปุ๋ยหมักชีวิภาพขึ้นมาใช้งานได้

    สำหรับประโยชน์คร่าวๆ ของปุ๋ยหมักทั้งสองสูตรนั้น สามารถช่วยในการกำจัดน้ำเน่าเสีย (อย่างที่เคยเห็นใช้กันในระหว่างเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่) ใช้ในการบำบัดกลิ่นเหม็นต่างๆ รวมไปถึงใช้ในการทำความสะอาดคอกสัตว์หรือกิจการปศุสัตว์ นอกจากนั้นในภาคการเกษตรยังนำไปใช้งานเพื่อเร่งผลผลิตแทนปุ๋ยเคมีได้อีกด้วย นับว่ามีประโยชน์รอบด้านจริงครับ ที่สำคัญยังเป็นปุ๋ยที่ผลิตขึ้นมาได้เอง โดยใช้วัสดุราคาถูกที่หาได้ทั่วไปอีกด้วย



เข้าชม : 493


บทความทั่วไป 5 อันดับล่าสุด

      Thailand 4.0 คืออะไร 25 / ก.ค. / 2560
      การทำน้ำหมักลูกยอ 12 / มิ.ย. / 2560
      ดอกไม้จันทน์ 7 / มิ.ย. / 2560
      การทำดอกไม้จันทน์ 5 / มิ.ย. / 2560
      6 วิธีออมเงินขั้นเทพ 1 / พ.ค. / 2560


 
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกระแสสินธุ์  ตำบลโรง  อำเภอกระแสสินธุ์  จังหวัดสงขลา 
โทร. 0887912294  krisiya2294@gmail.com ,krisy.552@hotmail.com





Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05