การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
เป็นการจัดกระบวนการให้บุคคลรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน สร้างกระบวนการจิตสาธารณะ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการพัฒนาสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน โดยยึด หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวปฏิบัติตลอดจนการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยเน้นการจัดการ เรียนรู้ผ่านกิจกรรม ดังนี้
๑. การส่งเสริมการด าเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่
- หมู่บ้านเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท
- การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่
- การทำบัญชีครัวเรือน
- วิสาหกิจชุมชน/สหกรณ์
๒. การเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเน้นการแก้ปัญหา การดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ สิ่งแวดล้อม และวิกฤติพลังงาน โดยเน้นการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้เครื่องทุ่นแรง โดยให้ผู้เรียนนำองค์ความรู้จากภูมิปัญญา จากการศึกษาค้นคว้านวัตกรรมที่มีอยู่ หรือ อาจประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา เพื่อปรับใช้ในครัวเรือน เช่น การนำขยะหรือมูลสัตว์ มาผลิตเป็นก๊าชชีวภาพ การถนอมอาหาร โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น แนวทางการจัดกิจกรรม
๑. สำรวจภูมิปัญญา นวัตกรรม เทคโนโลยีที่เหมาะสม และสอดคล้องกับแนวโน้มการพัฒนาของพื้นที่ เช่น การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ด้านพลังงานสะอาด ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
๒. เลือกพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมในการดำเนินงาน
๓. ประสานความร่วมมือกับภูมิปัญญา ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการจัดกิจกรรม
๔. จัดทำหลักสูตรและดำเนินการจัดกิจกรรมตามรูปแบบที่เหมาะสม
เข้าชม : 648 |