[x] ปิดหน้าต่างนี้
 


 
ข้อมูลสารสนเทศ

ตำบลทุ่งลาน

ข้อมูลทั่วไป

          1. สภาพพื้นที่

เป็นที่ราบลุ่มเกิดจากการทับถมของตะกอนจากลำน้ำสายต่าง ๆ มีความลาดชันของพื้นที่มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่ประมาณ 35.50 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 22,200 ไร่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอคลองหอยโข่งประมาณ 9 กิโลเมตร 

เมื่อปี พ.ศ. 2518 ตำบลทุ่งลาน จัดตั้งขึ้นโดยการแบ่งเขตการปกครองตามพระราชบัญญัติการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ประกอบด้วย 12 หมู่บ้าน
                   ต่อมา พ.ศ. 2530 ตำบลทุ่งลานได้แยกออกเป็น 2 ตำบล คือ ตำบลทุ่งลานและตำบลโคกม่วง ทำให้ตำบลทุ่งลาน ประกอบด้วย 9 หมู่บ้าน

หมู่ที่ 1 บ้านย่านยาว

หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งแม่บัว

หมู่ที่ 3 บ้านพร้าวตก

หมู่ที่ 4 บ้านควน

หมู่ที่ 5 บ้านโคกพยอม

หมู่ที่ 6 บ้านทุ่งเจริญ

หมู่ที่ 7 บ้านท่าหรั่ง

หมู่ที่ 8 บ้านแม่คล้า-พรุกง

หมู่ที่ 9 บ้านพร้าวออก

ต่อมา พ.ศ. 2537 ได้รับการจัดตั้งเป็นสภาตำบล

ต่อมา พ.ศ. 2539 ได้รับการจัดตั้งในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 113. ตอนที่ 9 ง. ลงวันที่ 30 มกราคม 2539 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2539 เป็นเทศบาลตำบลทุ่งลาน 

          2. ที่ตั้งและอาณาเขต

ที่ตั้ง ตำบลทุ่งลาน มีเนื้อที่ประมาณ 35.50 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 22,200 ไร่ ตั้งอยู่ทาง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ว่าการอำเภอคลองหอยโข่ง เป็นระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร
                   อาณาเขต  ตำบลทุ่งลานมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้
                          ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่
                          ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลพังลา อำเภอสะเดา
                          ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลพะตง และ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่
                          ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง
 

          3. ภูมิประเทศ

         พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลูกคลื่นลอนลาด เนินเขา ที่ลาดเชิงเขาและพื้นที่ราบลุ่มที่เกิดจากการทับถมของตะกอนจากลำน้ำ สายต่าง ๆ ความลาดชันของพื้นที่มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์

 

          4. ภูมิอากาศ

ตำบลทุ่งลานอยู่ภายใต้อิทธิของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมี 2 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม

 

          5. สภาพทางเศรษฐกิจ

          1) การเกษตรกรรม ตำบลทุ่งลาน เป็นแหล่งผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตที่ได้จากยางพารา การเกษตรกรรมสามารถที่จะกระทำได้ตลอดปี เนื่องจากมีน้ำในปริมาณที่เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์
                             2) การปศุสัตว์ ในปีงบประมาณที่ผ่านมา ได้รับการส่งเสริมการปศุสัตว์เพิ่มมากขึ้น โดยมุ่งเน้นให้เกิดการเพิ่มราย ได้ให้กับราษฎรมากยิ่งขึ้น
                   3) การอุตสาหกรรม มีโรงงานประกอบอุตสาหกรรม จำนวน 1 แห่ง คือ โรงงานผลิตผลไม้กระป๋อง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 7. บ้านท่าหรั่ง
                             4) การพาณิชย์ มีกิจการที่เกี่ยวกับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1. บ้านย่านยาว ส่วนการประกอบกิจการพาณิชย์อื่น ๆ ยังมีไม่มาก ส่วนใหญ่จะเป็นการประกอบอาชีพค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ ภาย ในหมู่บ้าน เช่น ร้านขายของชำ ร้านตัดผม ร้านเสริมสวย เป็นต้น
 

          6. สภาพทางสังคม

          1) การศึกษา   มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 3 โรงเรียน คือ
                    1. โรงเรียนบ้านโคกพยอม หมู่ที่ 5. บ้านโคกพยอม
                    2. โรงเรียนวัดบางศาลา หมู่ที่ 7. บ้านท่าหรั่ง
                    3. โรงเรียนวัดปรางแก้ว หมู่ที่ 8. บ้านพรุกง
                    4.  กศน.ตำบลทุ่งลาน  หมู่ที่ 9  บ้านพร้าว  (กศน.อำเภอคลองหอยโข่ง)
                    5.  มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนฯ จำนวน 1 ศูนย์ ตั้งในโรงเรียนวัดปรางแก้ว    

          6.   ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน ในหมู่ที่ 3. หมู่ที่ 4. หมู่ที่ 5. และหมู่ที่ 6

                   2) การศาสนา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณ 99 เปอร์เซ็นต์ โดยมีวัดเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน จำนวน 2 วัด คือ วัดบางศาลา หมู่ที่ 7 และวัดปรางแก้ว หมู่ที่ 8 นอกจากนี้ยังมีสำนักสงฆ์ 2 แห่ง  คือ สำนักสงฆ์บ้านโคกพยอม  หมู่ที่ 5 และสำนักสงฆ์บ้านย่านยาว หมู่ที่ 1

          3)  ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี มีการส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณี

วัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นมาโดยตลอด เช่น ประเพณีลอยกระทง ประเพณีสงกรานต์ เป็นต้น และยังมีการส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมเช่นกัน
                             4)  การสาธารณสุข มีการให้บริการสาธารณสุขมูลฐานเบื้องต้นคือ สถานีอนามัยทุ่งลาน ตั้งอยู่หมู่ที่ และมีศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชนทุกหมู่บ้าน อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 99 ของประชากรทั้งตำบล
                             5)  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีการให้บริการจากหน่วยงานของทางราชการในการป้องกันและดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของราษฎร โดยจัดให้มีป้อมสายตรวจของสถานีตำรวจภูธร จำนวน 2 จุด คือ ตั้งอยู่หมู่ที่ เชื่อมระหว่างตำบลทุ่งลานกับตำบลพะตง  อำเภอหาดใหญ่  และหมู่ที่ 7 เชื่อมระหว่างตำบลทุ่งลานกับตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่
 

          7.  ระบบบริการพื้นฐาน

                   1) การคมนามคมขนส่ง การคมนาคมติดต่อระหว่างตำบล อำเภอและจังหวัด มีเส้นทางที่ใช้ในการคมนาคม คือ

-  ทางหลวงชนบท (รพช.) หมายเลข 2039  บ้านพร้าว โคกม่วง
          -  หมายเลข 4033 บ้านย่านยาว บ้านเหนือ
                   -  หมายเลข 4076 บ้านท่าหรั่ง - โป๊ะหมอ
          ส่วนเส้นทางคมนาคมที่ใช้สัญจรภายในหมู่บ้านหรือระหว่างหมู่บ้าน ส่วนใหญ่จะเป็น

ถนนลูกรังและหินคลุก จะมีบางหมู่บ้านที่ได้มีการก่อสร้างถนนคอนกรีตหรือถนนลาดยางภายในหมู่บ้าน
                    2)  การโทรคมนาคมสื่อสาร มีการให้บริการโทรคมนาคมสื่อสารบ้างแต่ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของตำบลทุ่งลาน เช่น การให้บริหารโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ครัวเรือน โทรศัพท์สาธารณะ และมีหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน จำนวน 9 หมู่บ้าน
                    3)  การไฟฟ้า มีการให้บริการไฟฟ้าครัวเรือนครอบคลุมเกือบทั้งตำบล จะมีบางครัวเรือนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้สำหรับการอุปโภคบริโภค แต่ได้ดำเนินการประสานงานพื้นที่และสำนักงานการไฟฟ้าเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป และนอกจากนี้ยังได้มีการขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะครอบคลุมเกือบทุกหมู่บ้าน
                    4)  การประปา มีการให้บริการประปาหมู่บ้านครอบคลุมทุกหมู่บ้าน มีบ่อบาดาลจำนวน 4 แห่ง ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกัน และมีถังกักเก็บน้ำประจำหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน
                    5)  การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นหน้าที่โดยตรงของเทศบาลตำบล ในการสร้างความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในการป้องกันและระงับสาธารณภัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น มีการจัดทำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และเตรียมความพร้อมอย่างสม่ำเสมออุปกรณ์เครื่องมือในการดับเพลิง มีการติดตั้งเครื่องดับเพลิงเคมีเบื้องต้นประจำทุกหมู่บ้าน ๆ ละ 1 ถัง และติดตั้งที่เทศบาลตำบลทุ่งลาน จำนวน 4 ถัง

          8.  ลักษณะทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1)      ทรัพยากรดิน โดยทั่วไปเป็นดินร่วน ดินร่วนปนดินทราย ดินร่วนปนดินเหนียว สามารถ

ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดินได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าสำหรับการทำนา การปลูกพืชไร่ พืชสวน ไม้ผล ยางพารา ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์
                    2)  ทรัพยากรน้ำ ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำผิวดิน ซึ่งได้แก่ คลองท่าเคียน คลองทุ่งแม่บัว คลองบ่อ คลองไม้แก่น คลองไม้เรี้ย เป็นต้น สำหรับแหล่งน้ำใต้ดินจะพบในชั้นหิน โดยทั่วไปมีปริมาณน้ำตั้งแต่ 50 – 100 แกลลอนต่อนาที นอกจากนี้ยังมีคลองอู่ตะเภาไหลผ่านตามแนวเขตพื้นที่และมีคลองส่งน้ำชลประทาน
                    3)  สิ่งแวดล้อม ปัญหาสิ่งแวดล้อมของตำบลทุ่งลานนับวันจะเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น ตามการขยายตัวของเมืองอันเกิดจากการเพิ่มของประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัญหาทางด้านมลพิษที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ขยะมูลฝอย เป็นต้น

กศน.ตำบลทุ่งลาน 

          กศน.ตำบลทุ่งลาน ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา 90230 (สามแยกบ้านพร้าว) สังกัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอคลองหอยโข่ง ช่องทางการติดต่อ E-mail : tunglannfe@hotmail.com/ facebook : กศน.ตำบลทุ่งลาน อ.คลองหอยโข่ง / website : sk.nfe.go.th/klong02

 

ประวัติความเป็นมา

          แต่เดิมเป็นศูนย์การเรียนชุมชนตำบลทุ่งลาน ตั้งอยู่ ณ วัดปรางแก้ว ตามประกาศจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชน  ลงวันที่  25  กุมภาพันธ์ 2542   สถานที่ตั้งของศูนย์การเรียนชุมชนในปัจจุบัน เดิมเป็นอาคารที่ทำการขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งลาน  และเมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลย้ายที่ทำการใหม่  อาคารแห่งนี้จึงได้จัดตั้งเป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลทุ่งลาน  ต่อมาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ย้ายไปตั้งอยู่ที่วัดปรางแก้ว  อาคารแห่งนี้จึงเป็นศูนย์เอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน ของหมู่ที่ 9 ตำบลทุ่งลาน  คือเป็นที่ตั้งของกลุ่มออมทรัพย์ประจำหมู่บ้าน  ศูนย์กีฬาประจำตำบล  หอกระจายข่าว  เป็นต้น  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอคลองหอยโข่งจึงได้ติดต่อประสานงานกับ นายทนง   เพชรสุวรรณ์  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 9 ตำบลทุ่งลาน  ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบดูแลสถานที่ดังกล่าวอยู่   เพื่อขออนุญาตใช้สถานที่เป็นที่ตั้งศูนย์การเรียนชุมชน  และได้ย้ายมาตั้งเป็นศูนย์การเรียนชุมชนตำบลทุ่งลานเมื่อปี 2547  จนถึงปัจจุบัน  และได้ประกาศจัดตั้งจากจังหวัดสงขลา เป็นศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบลทุ่งลาน เรียกกันว่า กศน.ตำบลทุ่งลาน ตั้งอยู่ที่ศูนย์เอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 9 ต.ทุ่งลาน อ.คลองหอยโข่ง ลงวันที่ 12  ตุลาคม พ.ศ. 2552

ทำเนียบครูศูนย์การเรียนชุมชนตำบลทุ่งลาน

1.   นางสาวยุพรัตน์  สุวรรณชาตรี  ปี 2547-2547

2.       นางกันติชา  ทั้วสุภาพ  ปี 2547-ปัจจุบัน 

ข้อมูลของศูนย์การเรียนชุมชนตำบลทุ่งลาน

1.      บุคลากรรับผิดชอบดูแลศูนย์การเรียนชุมชนตำบลทุ่งลาน

1)  นายจตุรภัทร  เวชสิทธิ์              ผู้อำนวยการ กศน.คลองหอยโข่ง

2)  นางกันติชา  ทั้วสุภาพ               หัวหน้า กศน.ตำบลทุ่งลาน 

2.      คณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชนตำบลทุ่งลาน

1)  นายทัศนัย  แก้วสมบูรณ์            ประธาน

2)  นายทนง  เพ็ชรสุวรรณ              รองประธานกรรมการ

3)  นายเพียร  สุวรรณวงศ์              กรรมการ

4)  นางวิภา  สุวรรณะ                  กรรมการ

5)  นายแอบ  รัตนพันธ์                 กรรมการ

6)  นายไมตรี  แก้วนิล                  กรรมการ

7)  นายมานพ  กาญจนะมิ่ง            กรรมการ

8)  นางชนัญชิตา  แก้วยะรัตน์         กรรมการ

9)  นางอุษา  สุขมี                      กรรมการ

10) นางสาวกันติชา  ดำอำไพ           กรรมการและเลขานุการ 

              4. ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

     1)  ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลทุ่งลาน  มีดังนี้ 

ที่

ชื่อ - สกุล

ชำนาญในด้าน

สถานที่

1

 

2

 

นายพร้อม  ทองเสนอ

 

นายปลื้ม  แก้วสกูล

 

หมอต่อกระดูก นวดแผนโบราณ

นวดแผนโบราณ

 

 

15 หมู่ที่ 3 ต.ทุ่งลาน อ.คลองหอยโข่ง

จ.สงขลา

52/1 หมู่ที่ 5 ต.ทุ่งลาน อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา

 

 2)      แหล่งเรียนรู้ในชุมชนตำบลทุ่งลาน  มีดังนี้ 

ที่

ชื่อแหล่งเรียนรู้

ความรู้ในด้าน

สถานที่

1

2

3

 

4

5

6

7

 

8

9

10

 

11

 

เกษตรผสมผสานบ้านย่านยาว

ฟาร์มเห็ดท่าหรั่ง

ศูนย์ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

 

ฟาร์มเห็ดโกล่ำ

กลุ่มขนมเพื่อการค้า

กลุ่มเครื่องแกงเพื่อการค้า

สวนไผ่พิชาญ์

 

สวนหม่อนบ้านโคกพะยอม

กลุ่มเลี้ยงปลาในกระชังทุ่งลาน

กลุ่มเลี้ยงวัวทุ่งลาน

 

ศูนย์ปราบศัตรูพืชตำบลทุ่งลาน

 

การทำเกษตรผสมผสาน

การเพาะเห็ด

การปลูกผักปลอดสารพิษ ผักไฮโดรโปนิกส์

การเพาะเห็ด

การทำขนมต่างๆ

การผลิตเครื่องแกงต่างๆ

การปลูกไผ่และการแปรรูปผลผลิต

การทำสวนหม่อน

การเลี้ยงปลานิลในกระชัง

การรวมกลุ่มเลี้ยงวัว และการบริหารจัดการกลุ่ม

การผลิตยาปราบศัตรู

 

ม.1 ต.ทุ่งลาน

ม.7 ต.ทุ่งลาน

 

 

ม.9 ต.ทุ่งลาน

ม.9 ต.ทุ่งลาน

ม.1 ต.ทุ่งลาน

ม.6 ต.ทุ่งลาน

 

ม.5 ต.ทุ่งลาน

ม.7 ต.ทุ่งลาน

ม.7 ต.ทุ่งลาน

 

ม.4 ต.ทุ่งลาน

               5. กิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนในพื้นที่ตำบลทุ่งลาน

                   1) การจัดการศึกษาพื้นฐาน เป็นการจัดเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมให้ประชาชนที่พลาดโอกาสทางการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ได้แก่ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย    แยกตามระดับชั้น และสถานที่พบกลุ่ม ดั้งนี้

ที่

สถานที่พบกลุ่ม

ระดับประถม

ระดับ ม.ต้น

ระดับ ม.ลาย

 

1

กศน.ตำบลทุ่งลาน

พบกลุ่มทุกวันอังคาร

พบกลุ่มทุกวันอังคาร

พบกลุ่มทุกวันพุธ

 

                                2) การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ เป็นการจัดการศึกษาที่เป็นความรู้และทักษะอาชีพในเชิงเศรษฐกิจ ให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ผู้เรียนมีความชำนาญการเฉพาะอย่าง สามารถเพิ่มผลผลิต และลดต้นทุนการผลิต มีความรู้และทักษะในการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ รู้จักนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

                             2.1 อาชีพการทำขนมเพื่อการค้า

                             2.2 อาชีพการทำเครื่องแกงเพื่อการค้า

                             2.3 อาชีพการทำน้ำดื่มสมุนไพร

                             2.4 อาชีพช่างปูกระเบื้อง

                             2.6 อาชีพช่างเหล็ก

                             2.7 อาชีพการทำหอมเจียวกระเทียมเจียว

                             2.8 อาชีพการแปรรูปสมุนไพร (น้ำมันนวด ลูกประคบ)                          

                   3) การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของประชาชน โดยเป็นการกระตุ้นให้เปลี่ยนวิธีคิดและพฤติกรรมให้มีความรู้สึกเห็นคุณค่าของตนเอง และให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข เช่น กีฬา เพศศึกษา ยาเสพติด การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง กฎหมายที่ควรรู้ในชีวิตประจำวัน การฟื้นฟูและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คุณธรรมจริยธรรม เป็นต้น มีการจัดการศึกษาที่หลากหลายรูปแบบ เช่น การแข่งขัน การศึกษาดูงาน การเข้าค่าย การประชุม การอบรม เป็นต้น กิจกรรมที่นักศึกษาเข้าร่วมโครงการ เช่น

                             3.1  โครงการต้านยาเสพติด 

                             3.2  กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

                             3.3  กิจกรรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพช่วงวัยทอง            

                             3.4  กิจกรรมให้ความรู้การป้องกันการท้องก่อนวัยอันควร                              

                   4)  การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะที่ผู้เรียนมีอยู่แล้ว และสามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและชุมชน มีรูปแบบการเรียนการสอนในลักษณะหลักสูตรระยะสั้น เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน เช่น การจัดเวทีชาวบ้าน การจัดกระบวนการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การวางแผนชุมชน การเข้าร่วมกิจกรรมประเพณีชุมชน เป็นต้น กิจกรรมที่จัด ได้แก่

                             4.1  การให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม

                             4.2 ให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง                  

                             4.3 ให้ความรู้ตามรอยพระยุคลบาท                           

                   5) การจัดกิจกรรมผู้สูงอายุ

                             5.1  การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ

                             5.2  การให้ความรู้เกี่ยวกับอาชีพการทำเหรียญโปรยทาน

                             5.3  การให้ความรู้เกี่ยวกับการทำดอกไม้จันทน์  

6 ) การศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย เป็นการจัดการให้บริการแหล่ง

การเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเรียนรู้ได้ตามความต้องการ ความถนัด และความสนใจ คือ ศูนย์การเรียนชุมชนได้พัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนตำบลทุ่งลานให้เป็นแหล่งเรียนรู้ประจำตำบล

                    7) โครงการอื่น ๆ

                             6.1   โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนตำบลทุ่งลาน 

 

ความเป็นมา กศน.ตำบล

ความเป็นมา

          จากการประเมินผลการปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางพระราชบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2542  ในช่วงปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2542-2551) ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา  พบว่าหลายเรื่องประสบผลสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับโครงสร้างหน่วยงานการศึกษาให้มีเอกภาพ อย่างไรก็ตาม  ยังมีอีกหลายเรื่องที่มีปัญหาต้องเร่งดำเนินการแก้ไขปรับปรุง พัฒนาและต่อยอด ที่สำคัญ ได้แก่  ด้านคุณภาพการศึกษา  การเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารและการศึกษา การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา สภาการศึกษาในคราวประชุม เมื่อวันที่ 5  กุมภาพันธ์ 2552  โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฎ์) เป็นประธาน  ได้เห็นชอบให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาดำเนินการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง  ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ได้แต่งตั้งคณะอนุกรมการสภาการศึกษาเฉพาะกิจ ปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561)  ซึ่งได้มีการดำเนินการจัดทำข้อเสนอยุทธศาสตร์และมาตรการปฏิรูปการศึกษา รวม 9 ประเด็น  ได้แก่ 1) การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 2) การผลิตและการพัฒนาครูคณาจารย์  3)  การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาและการมีส่วนร่วม 4) การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา  5) การผลิตและการพัฒนากำลังคน  6) การเงินเพื่อการศึกษา  7) เทคโนโลยีทางการศึกษา  8) กฎหมายการศึกษา  9) การเรียนรู้ตลอดชีวิต การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาตามยุทธศาสตร์และมาตรการทั้ง 9 ประเด็น ดังกล่าว  คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 18  สิงหาคม  2552

จากการวิเคราะห์ผลการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาในแง่ของปัญหาที่ต้องเร่งปรับปรุงแก้ไข  พัฒนาและสานต่อ  และข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง บนฐานของหลักการและแนวทางแห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2552  และแก้ไขเพิ่มเติม 

(ฉบับที่ 2)  พ.ศ. 2545  พ.ศ. 2545  พบว่ามีหลายประเด็นที่สะท้อนเชื่อมโยงถึงข้อจำกัด ในการใช้ศูนย์การเรียนชุมชน  หรือ ศรช. เป็นกลไกส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน  ตามกรอบบทบาทหน้าที่กำหนดไว้เพียงกลไกเดียว  ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าว  เป็นเหตุผลรองรับที่สำคัญในการใช้ กศน.ตำบล เป็นกลไกเสริมพลังการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชนอีกกลไกหนึ่ง  กล่าวคือ

          1.  ผลจากการประเมินผลการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542  พบสภาพปัญหาที่เชื่อมโยงหรือสะท้อนถึงข้อจำกัด ในการใช้ ศรช. เป็นกลไกส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ของชุมชน เพียงกลไกหรือรูปแบบเดียว  ได้แก่

                   1.1  ในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพกรบริหารและการจัดการศึกษา และส่งเสริมการมีส่วนร่วม  รวมทั้งการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา  พบว่า  หน่วยปฏิบัติยังไม่มีอิสะและความคล่องตัวในการบริหารและการจัดการศึกษาเท่าที่ควร  รวมทั้งยังขาดการมีส่วนร่วมในการบริหารและการจัดการศึกษาจากทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง

                   1.2  ในด้านการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา  ในส่วนของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยแม้ว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น  โดยในปี 2549  จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากร (อายุ 15 59 ปี) คือ 8.7  ปี  แต่ก็ยังไม่ถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือ 9.5  สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงต้องปรับลดอัตราเพิ่มจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากรวัยแรงงานลง  โดยกำหนดเป้าหมายสิ้นปีสุดท้ายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10  คือ ปี 2551  ไว้ที่จำนวน 10 ปีเท่านั้น  และยังพบว่าการให้บริการการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาสยังไม่ทั่วถึง  และไม่มีกลไกที่ชัดเจน

                    1.3  ในด้านการศึกษาตลอดชีวิต  การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  แม้ว่าจะมีความก้าวหน้าจากเทคโนโลยีสารสนเทศ  ซึ่งทำให้มีเครื่องมือมากขึ้น  ยังขาดเนื้อหาและวิธีการที่เหมาะสมที่จะทำให้มีสัมฤทธิผลเท่าที่ควร  ทำให้การศึกษาตลอดชีวิตยังไม่เป็นวิธีชีวิตของคนในชาติ

                   1.4  การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาไม่สะท้อนผลการดำเนินของ ศรช.โดยตรง  และขาดการนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามบทบาทภารกิจของ ศรช. อย่างชัดเจน

          2.  ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง  มีประเด็นสำคัญที่เชื่อมโยงถึงความจำเป็นที่ต้องใช้  กศน.ตำบลเป็นกลไกขับเคลื่อนภารกิจการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน  ได้แก่

                   2.1  การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่  ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษารวมทั้งการมีส่วนร่วมของชุมชน  ภาคเอกชน  และทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง

                   2.2  การพัฒนาการบริหารจัดการ  เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ  เพื่อให้ประชาชนทุกคนในชุมชนตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิต  มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

                   2.3  การพัฒนาการบริหารจัดการ  เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ  เพื่อให้ประชาชนทุกคนในชุมชนตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิต  มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

2.4 การจัดตั้งหน่วยงานและ/หรือปรับปรุงบทบาทหน่วยงาน เพื่อเป็นกลไกรับรองคุณภาพมาตรฐานและเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  โดยปรับบทบาทสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต  และจัดให้มีศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมในพื้นที่ระดับหมู่บ้านหรือชุมชนทั่วประเทศ  เพื่อเติมเต็มระบบการศึกษาให้รองรับการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง

                ด้วยสภาพข้อเท็จจริงของสภาพปัญหาอุปสรรคการไม่บรรลุผลการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542  ที่ผ่านมาและข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองในประเด็นที่กล่าวมาแล้ว นั้น  เป็นเหตุผลความจำเป็นรองรับการจัดให้มี กศน.ตำบล  ซึ่งสาระสำคัญเกี่ยวกับ กศน.ตำบลที่มุ่งดำเนินการต่อไปนี้  คือยุทธศาสตร์สำคัญของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หรือสำนักงาน กศน. ที่จะใช้ในการมีส่วนรวมสนับสนุนการขับเคลื่อนข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง  (พ.ศ.2552-2561)  ให้ปรากฏผล  ในทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ  ตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้  คือ  คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ 

            บทบาทและภาระกิจของ กศน. ตำบล

          กศน.ตำบล เป็นหน่วยงานในสังกัด กศน. อำเภอ มีฐานะเป็นหน่วยจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน

           กศน. ตำบล มีภาระกิจที่สำคัญ ดังนี้ 

          1. จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ในชุมชน โดยจำแนกเป็นรายกิจกรรม  ดังนี้
  
                1.1 การศึกษานอกระบบ 260 คน ประกอบด้วย
       
                     1.1.1 การศึกษาขั้นพื้นฐาน
       
                     1.1.2 การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
       
                     1.2.3 การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
       
                     1.2.4 การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
  
                1.2 การศึกษาตามอัธยาศัย

          2. สร้าง และขยายภาคีเครือข่าย เพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน

          3. ส่งเสริมและสนับสนุน การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชนของภาคีเครือข่าย ทั้งในแง่ของความเข้มแข็งและความต่อเนื่องในการมีส่วนร่วม และศักยภาพในการจัด

            4. จัดทำระบบข้อมูล สถิติ และสารสนเทศ เกี่ยวกับประชากรกลุ่มเป้าหมายและผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาและแผนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ทั้งในระดับชุมชนหรือระดับจุลภาค ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และภาพรวมระดับประเทศของสำนักงาน กศน.

           5. จัดทำแผนงานโครงการ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประจำปีงบประมาณ เพื่อจัดกิจรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย และชุมชน และพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงานของ สำนักงาน กศน. สำนักงาน กศน. จังหวัด และ กศน. อำเภอ ที่สังกัด เพื่อการสนับสนุนงบประมาณ จาก กศน. อำเภอ ที่สังกัด โดยในกรณีของการจัดกิจกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ยึดค่าใช้จ่ายรายหัวตามที่ มติคณะรัฐมนตรีกำหนด คูณด้วยจำนวนนักศึกษา 60 คน สำหรับกิจกรรมอื่นๆ นั้น จัดทำแผนงานโครงการเพื่อเสนอของบประมาณ ให้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจาก กศน. อำเภอ

          6. ประสานและเชื่อมโยงการดำเนินงาน การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของศูนย์การเรียนชุมชน และภาคีเครือข่ายในตำบล โดยมีการประสานแผนการดำเนินงานภายในตำบลที่รับผิดชอบและกับ กศน. อำเภอ ที่สังกัด ตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงาน บนพื้นฐานของความเป็นเอกภาพด้านนโยบายและความหลากหลายในการปฏิบัติ

            7. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในความรับผิดชอบ ตามระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อรับรองการประกันคุณภาพภายนอกของ กศน. อำเภอที่สังกัด

          8. รายงานผลการดำเนินงาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต่อ กศน.อำเภอ ที่สังกัด ตามแผนหรือข้อตกลงที่กำหนดไว้

          9. ปฏิบัติภารกิจอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย จาก กศน. อำเภอ สำนักงาน กศน. จังหวัด หรือ สำนักงาน กศน. และตามที่กฎหมาย กำหนด 



เข้าชม : 1597
 
 

ศูนย์การเรียนรู้ตำบลทุ่งลาน 

บ้านพร้าวออก หมู่ที่ 9 ต.ทุ่งลาน อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา 90230 โทรศัพท์  089-8700994 
                                         E-mail:tunglannfe@hotmail.com/Facebook:กศน.ตำบลทุ่งลาน อ.คลองหอยโข่ง                                            
สังกัดศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอคลองหอยโข่ง  สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดสงขลา
กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05