โครงการพัฒนาลุ่มน้ำคลองจำไหรและคลองหอยโข่งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ความเป็นมาของโครงการ :
เมื่อประมาณปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2524 พ.ต.ณรงค์เดช นันทโพธิ์เดช ได้นำพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาลุ่มน้ำคลองจำไหรและคลองหอยโข่ง มาให้สำนักชลประทานที่ 9 (จังหวัดชลบุรี) เพื่อพิจารณาในการจัดหาน้ำเพื่อการอุปโภค – บริโภค และการเกษตรกรรมให้กับราษฎรในพื้นที่ตำบลคลองหอยโข่งและบางส่วนของตำบลทุ่ง ลาน อำเภอคลองหอยโข่ง (ปัจจุบันแยกการปกครองเป็นอำเภอคลองหอยโข่ง) จังหวัดสงขลา ประกอบกับหน่วยทหารของ ร.5 พัน 4 ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นกองพลพัฒนาที่ 4 (ค่ายรัตนพล) ได้ไปตั้งหน่วยอยู่ในเขตบริเวณดังกล่าว ซึ่งขาดแคลนน้ำในการอุปโภค – บริโภค และในกิจกรรมอย่างอื่นซึ่งต้องจัดหาน้ำให้กับหน่วยทหารใช้ควบคู่กันไปด้วย
ที่ตั้งโครงการ :
โครงการพัฒนาลุ่มน้ำคลองจำไหรและคลองหอยโข่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งยูง ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ที่พิกัด 47 NPH 502-550 แผนที่ มาตราส่วน 1:50,000 ระวาง 5022 I ห่างจากอำเภอหาดใหญ่ ประมาณ 30 กม. มีเส้นทางเดินทางเข้าโครงการได้ 2 ทาง คือ
- แยกจากทางหลวงสายหาดใหญ่ – สะเดา ที่เทศบาลตำบลพะตง มาตามถนน รพช. หมายเลข 11033 ระยะทาง 11 กม. เป็นทางลาดยางตลอดถึงสามแยกบ้านเหนือแยกเข้าโครงการฯ ตามถนนบนคันคลองอีกประมาณ 5.5 กม.
- แยกจากทางเข้าสนามบิน (ทางหลวงหมายเลข 4135 ) ตามถนนชูพันธ์ ผ่านกองบิน 56 ระยะทางประมาณ 12 กม. ถึงสามแยกบ้านเหนือ แยกเข้าโครงการฯ ตามถนนบนคันคลองอีกประมาณ 5.5 กม. ทั้ง 2 เส้นทางดังกล่าว สามารถใช้การคมนาคมได้ตลอดทั้งปี
สภาพภูมิอากาศ :
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปในเขตโครงการ มีลักษณะเป็นดินปนทราย บริเวณหัวงานโครงการและพื้นที่ส่งน้ำเป็นที่ราบลุ่มน้ำระหว่างคลองจำไหรและ คลองหอยโข่งซึ่งตอนปลายจะไหลลงสู่คลอง อู่ตะเภา บริเวณอ่างเก็บน้ำคลองจำไหรเป็นที่ราบเชิงเขา มีสภาพเป็นสวนยางปนป่า คลองจำไหรมีต้นกำเนิด จาก น้ำตกผาดำ บนเทือกเขาแก้ว ซึ่งมีพรมแดนติดต่อระหว่าง อำเภอคลองหอยโข่ง อำเภอสะเดา อำเภอรัตภูมิ และ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล คลองจำไหร ไหลผ่านตำบลคลองหอยโข่ง ตำบลโคกม่วง ตำบลทุ่งลาน ก่อนจะไหลลงสู่คลองอู่ตะเภา และทะเลสาบสงขลา
วัตถุประสงค์โครงการ :
เพื่อการเกษตรกรรมและการอุปโภค-บริโภค ทั้งนี้เนื่องจากในฤดูแล้งปริมาณน้ำในเขตดังกล่าวขาดแคลนบ่อน้ำที่ขุดไว้ใช้ ตามหมู่บ้านต่าง ๆ จะมีความลึกเฉลี่ยประมาณ 12-15 ม. และมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอจึงไม่สามารถทำการเกษตรกรรมได้ ทางฝ่ายทหารและทางราษฎรต้องการให้มีที่สำหรับการเกษตรกรรมในฤดูแล้ง
รายละเอียดโครงการ :
ฝายหัวงานและอาคารประกอบ มีรายละเอียดและขนาดดังนี้
- ฝายคอนกรีตล้วน ขนาดสันฝายยาว 15.40 ม. สูง 2.50 ม.พร้อมประตูระบายทรายกว้าง 4.00 ม.
สูง 3.90 ม. ปริมาณน้ำผ่านสูงสุด 60 ม.3/วินาที และผ่านประตูระบายทรายได้ 35 ม.3/วินาที
- ทางระบายน้ำล้นฉุกเฉิน ขนาดกว้าง 100 ม. ยาว 460 ม. สามารถระบายน้ำได้ 80 ม.3/วินาที
- ทรบ.ปากคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย ขนาด 1-? 1.25*1.25 ม. ยาว 23 ม. ปริมาณน้ำผ่านท่อ 2.185 ม.3/วินาที
ทำนบดินอ่างเก็บน้ำคลองจำไหร มีรายละเอียดและขนาดดังนี้
- พื้นที่รับน้ำ 6.25 ตร.กม.
- ปริมาณฝนตกเฉลี่ยทั้งปี 1,900 มม.
- ปริมาณน้ำไหลลงอ่างทั้งปี 4.2 ล้าน ลบ.ม.
- ทำนบดินสูง 12.5 ม.
- หลังคันกว้าง 6.00 ม.
- ทำนบดินยาว 1,360 ม.
- ระดับสันทำนบดิน +47.00 ม. (ร.ท.ก.)
- ระดับน้ำสูงสุด + 45.65 ม. (ร.ท.ก.)
- ระดับน้ำเก็บกัก +45.00 ม. (ร.ท.ก.)
- ระดับธรณีท่อส่งน้ำ +37.00 ม. (ร.ท.ก.)
- ความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับเก็บกัก 6.00 ล้าน ลบ.ม.
- ความจุที่ระดับพักตะกอน 62,000 ลบ.ม
- พื้นที่ผิวน้ำที่ระดับเก็บกัก 1.6 ตร.กม
ฝายหัวงานและอาคารประกอบ มีรายละเอียดและขนาดดังนี้
- ฝายคอนกรีตล้วน ขนาดสันฝายยาว 15.40 ม. สูง 2.50 ม.พร้อมประตูระบายทรายกว้าง 4.00 ม. สูง 3.90 ม. ปริมาณน้ำผ่านสูงสุด 60 ม.3/วินาที และผ่านประตูระบายทรายได้ 35 ม.3/วินาที
- ทางระบายน้ำล้นฉุกเฉิน ขนาดกว้าง 100 ม. ยาว 460 ม. สามารถระบายน้ำได้ 80 ม.3/วินาที
- ทรบ.ปากคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย ขนาด 1-? 1.25*1.25 ม. ยาว 23 ม. ปริมาณน้ำผ่านท่อ 2.185 ม.3/วินาที
- ช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการได้ 8,000 ไร่ ในฤดูแล้งได้ 4,000 ไร่
- จัดหาน้ำเพื่อการอุปโภค – บริโภค แก่ราษฎรและทหารค่ายรัตนพล จำนวน ประมาณ 500 ครอบครัว
- เพื่อบรรเทาอุทกภัยในเขต อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
- ใช้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด
- ใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ของอำเภอคลองหอยโข่ง และใกล้เคียง
ผลประโยชน์ที่ได้รับ :
- ช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการได้ 8,000 ไร่ ในฤดูแล้งได้ 4,000 ไร่
- จัดหาน้ำเพื่อการอุปโภค - บริโภค แก่ราษฎรและทหารค่ายรัตนพล จำนวน ประมาณ 500 ครอบครัว
- เพื่อบรรเทาอุทกภัยในเขต อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
- ใช้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด
- ใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ของอำเภอคลองหอยโข่ง และใกล้เคียง
วัตถุประสงค์โครงการ :
- เพื่อให้ราษฎร/ เกษตรกร มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำชลประทาน
ปลูกฝังความรักถิ่นฐานบ้านเกิด
- เพื่อให้คณะกรรมการบริหารกลุ่มมีอำนาจในการควบคุมสมาชิก
- เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำคุ้มค่าการลงทุน
- เพื่อควบคุมการใช้น้ำอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
- เพื่อให้มีการดูแลบำรุงรักษา ซ่อมแซม ปรับปรุงแหล่งน้ำอย่างต่อเนื่อง
- เพื่อให้กลุ่มเข้มแข็งสามารถบริหารงานพัฒนาอาชีพมีรายได้ มีกิน มีใช้
- เพื่อให้มีการอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันกลุ่มผู้ใช้น้ำโครงการมีการบริหารกลุ่มผู้ใช้น้ำ โดยกลุ่มบริหารการใช้น้ำโครงการ
เป็นหลักเพื่อบริหารกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน (กลุ่มพื้นฐาน) จำนวน 7 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 คลองส่งน้ำสายใหญ่ กม.1+800- กม. 2+100
กลุ่มที่ 2 คลองส่งน้ำสายใหญ่ กม. 2+850-กม. 3+650
กลุ่มที่ 3 คลองส่งน้ำสายใหญ่ กม. 4+120-กม. 4+310
กลุ่มที่ 4 คลองส่งน้ำสายใหญ่ กม. 4+690-กม.5+660 และคลองซอย 5ขวา กม.0+680-กม.0+890
กลุ่มที่ 5 คลองซอย 1ขวา กม.1+260-กม.1+880
กลุ่มที่ 6 คลองซอย 3ขวา กม.3+180-กม.3+653
กลุ่มที่ 7 คลองแยกซอย 1ซ้าย กม.0+0174-กม.0+830
โดยแบ่งตามตารางรอบเวรการส่งน้ำ เพื่อให้เกิดศักยภาพและสอดคล้องกับพื้นที่รับประโยชน์
ที่มาของข้อมูล : สำนักงาน กปร. และ สำนักชลประทานที่ 12 กรมชลประทา
เข้าชม : 768
|