ประวัติความเป็นมา กศน.ตำบลสะพานไม้แก่น
กศน.ตำบลสะพานไม้แก่น หรือเดิม ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลสะพานไม้แก่น เริ่มก่อตั้งใน พ.ศ.2538 ตามประกาศจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชน โดยใช้ห้องสมุดซึ่งเป็นอาคารไม้เก่า ในค่ายตำรวจตระเวนชายแดนที่ 432 (ศอน.) ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นสถานที่พบกลุ่ม จัดกิจกรรม การเรียนการสอน ให้กับนักศึกษาในศูนย์ฝึก เยาวชน และประชาชนในตำบลสะพานไม้แก่นอีกทั้งยังเป็นห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัยอีกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการประชุมคณะกรรมการศูนย์การเรียนรู้ชุมชน มีมติในที่ประชุมว่าให้ย้ายสถานที่ไปยัง ที่ทำการกำนันตำบลสะพานไม้แก่น ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ประชาชนสามารถใช้บริการได้สะดวกมากขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้รับเงินจัดสรรงบประมาณการก่อสร้างอาคาร จำนวน 800,000 บาท และได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมจากองค์การบริหารส่วนตำบลสะพานไม้แก่นและประชาชนในตำบลสะพานไม้แก่น จำนวน 400,000 บาท จัดสร้าง กศน.ตำบลสะพานไม้แก่น ในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลสะพานไม้แก่น เพื่อนำไปสู่การให้บริการประชาชนในทุกๆด้านมาจนถึงปัจจุบัน
สถานที่ตั้ง
กศน.ตำบลสะพานไม้แก่น ตั้งอยู่ในพื้นที่ขององค์การบริหารตำบลสะพานไม้แก่น
หมู่ 6 บ้านเกษมรัตน์ ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โทร 08-6296-7164
อัตลักษณ์
กศน.ตำบลสะพานไม้แก่น น่าอยู่ คู่พอเพียง
ปรัชญา
การศึกษาเพื่อชีวิต สร้างกระบวนการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น สู่สังคมสันติสุข สมานฉันท์
วิสัยทัศน์
ภายในปี 2558 กศน.ตำบลสะพานไม้แก่น มุ่งจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้รับการเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างโอกาสในการประกอบอาชีพและมีงานทำ อย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง โดยยึดพระราชดำรัส “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”และการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อสร้างสันติสุข ให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ภายใต้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
พันธกิจ
1. จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้ประชาชนได้เรียนรู้ตลอดชีวิต
2. จัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการมีงานทำ
3. จัดการศึกษาเพื่อสร้างคุณภาพชีวิต สร้างสังคมสันติสุข ภายใต้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
4. เสริมสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษา
5. พัฒนากลไกในการบริหารจัดการ กศน. ให้มีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล
เป้าประสงค์
1. ผู้เรียนและผู้รับบริการทางการศึกษา มีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการที่ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง
2. ประชาชนมีความรู้ อ่านออก เขียนได้ มีทักษะภาษาในกลุ่มประเทศอาเซียน รวมทั้งมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิภาคและความเป็นประชาคมอาเซียน
3. องค์กรภาคีเครือข่ายต่างๆ ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
4. การใช้สื่อเทคโนโลยีในการบริหารงานและจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ
5. ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ มีบ้านหนังสืออัจฉริยะเป็นแหล่งเรียนรู้
เข้าชม : 768 |