การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะความสามารถและศักยภาพของคนในชุมชน รวมทั้งกลไก ทุกภาคส่วนในชุมชนให้ร่วมกันรับผิดชอบและเห็นถึงความสำคัญในการ ฟื้นฟูพัฒนาสังคมและชุมชน ของตนเอง โดยหน่วยงานสถานศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนต้องให้ความสำคัญต่อการใช้กระบวน การทางการศึกษาส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน เกิดการเรียนรู้และบูรณาการความรู้ ประสบการณ์ และ ทักษะอาชีพเข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและชุมชนโดยรวม และ เพื่อให้การ ดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จตามนโยบายดังกล่าว จึงได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานในการส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดกิจกรรมพัฒนา สังคมและชุมชน ใน 5 ด้าน ซึ่งมีจุดเน้นของแต่ละด้าน ดังนี้
1. ด้านเศรษฐกิจ - กิจกรรมเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
2. ด้านการเมือง - กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในวิถีชีวิต
3. ด้านสังคม - กิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้
4. ด้านสิ่งแวดล้อม - กิจกรรมรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
5. ด้านศิลปวัฒนธรรม – กิจกรรมเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้พยายามเชื่อมโยงหรือบูรณาการทั้ง 4 กิจกรรมด้วย โดยสอดคล้องกับสภาพเป็นจริงในชีวิตและสังคมของผู้เรียน
การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนเป็นการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้และทักษะจากการศึกษาที่ผู้เรียนมีอยู่หรือได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนโดยมีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการพัฒนาการเรียนรู้และทุนทางสังคมเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนให้มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขตามวิถีทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตลอดจนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีการพัฒนาที่ยั่งยืน นโยบาย
เร่งจัดการศึกษานอกโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน บูรณาการความรู้และทักษะการดำรงชีวิต เพ่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ นำไปสู่สังคมที่เข้มแข็ง มีความเอื้ออาทรต่อกัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
เป้าหมายสาธารณะ
การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนเป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งใช้กระบวนการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคมและชุมชนให้มีความเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีความเออาทร มีคุณธรรม จริยธรรม สืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกำหนดทิศทางการพัฒนาของสังคมและชุมชนตามแนวทางในระบอบประชาธิปไตย โดยจัดกิจกรรม 5 ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านศิลปวัฒนธรรม
แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
1. พัฒนาศักยภาพการทำงานของบุคลากร กศน. โดยปรับบทบาทการทำงานให้สอดคล้องกับหน้าที่สร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนตามนโยบาย และกำหนดให้ครู กศน. รับผิดชอบการจัดกิจกรรมระดับหมู่บ้านและตำบลต่อไป
2. ดำเนินการในรูปโครงการที่ให้ความสำคัญกับหลักของการพัฒนา 4 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ(วิสาหกิจชุมชน) ด้านการเมืองการปกครอง (ประชาธิปไตย) ด้านสังคม (วัฒนธรรมชุมชนและศิลปวัฒนธรรม) และด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการสั่งสอนอบรมเผยแผ่ธรรมมะและคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักของศาสนาในแต่ละท้องถิ่นโดยบูรณาการการเรียนรู้เข้ากับสภาพจริงของชุมชน
3. ส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน และกลไกทุกภาคส่วนของสังคมเป็นผู้รับผิดชอบหลัก (เจ้าภาพ) ในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ โดยเฉพาะการจัดการอบรมความรู้ให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในเรื่องการจัดการ การตลาดและบรรจุภัณฑ์
4. ใช้ทุนทางสังคมสนับสนุนการจัดกิจกรรมกรศึกษานอกโรงเรียนในชุมชน
5. ส่งเสริมให้มีการจัดทำเวทีชาวบ้านเพื่อให้ชุมชนเรียนรู้สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนและจัดทำแผนแม่บทชุมชน
ตัวชี้วัด
1. เชิงปริมาณ
1) จำนวนประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน
2) จำนวนและปริมาณทุนทางสังคมที่ใช้ในการจัดการศึกษานอกโรงเรียน
2. เชิงคุณภาพ
1) ความพึงพอใจของผู้รับบริการ
2) ประโยชน์ที่ผู้รับบริการได้รับ
เข้าชม : 821 |