[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

ศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบลสะพานไม้แก่น ยินดีต้อนรับ หมู่ 6 บ้านเกษมรัตน์ ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา 90130 โทรศัพท์ 08-6296-7164

 






การศึกษานอกระบบขั้นพื้นฐาน

การจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

แนวคิด
กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้ใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551 เป็นหลักสูตรที่มุ่งจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองอุดมการณ์การจัดการศึกษาตลอดชีวิต การสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตามปรัชญา “คิดเป็น” เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตและสังคม มีการบูรณาการอย่างสมดุลระหว่างปัญญาธรรม ศีลธรรม และวัฒนธรรม มุ่งสร้างพื้นฐานการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และพัฒนาความสามารถเพื่อการทำงานที่มีคุณภาพ โดยให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมจัดการศึกษาให้ตรงตามความต้องการของผู้เรียน และสามารถตรวจสอบได้ว่า การศึกษานอกระบบเป็นกระบวนการของการพัฒนาชีวิตและสังคม สามารถพึ่งพาตนเองได้ และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง เป็นหลักสูตรที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการของบุคคลที่อยู่นอกระบบโรงเรียน ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ประสบการณ์จากการทำงาน และการประกอบอาชีพ โดยการกำหนดสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ให้ความสำคัญกับการพัฒนากลุ่มเป้าหมายด้านจิตใจให้มีคุณธรรมควบคู่ไปกับการพัฒนาการเรียนรู้ สร้างภูมิคุ้มกัน สามารถจัดการกับองค์ความรู้ ทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีเพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สร้างภูมิคุ้มกันตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งคำนึงถึงธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ที่อยู่นอกระบบ และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการสื่อสาร

หลักการ
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดหลักการไว้ดังนี้
1. เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นด้านสาระการเรียนรู้ เวลาเรียน และการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความแตกต่างของบุคคล ชุมชน และสังคม
2. ส่งเสริมให้มีการเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยตระหนักว่าผู้เรียนมีความสำคัญ สามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
4. ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

จุดหมาย
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีสติปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีศักยภาพในการประกอบอาชีพและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการ จึงกำหนดจุดหมายดังต่อไปนี้
1. มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข
2. มีความรู้พื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิตและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
3. มีความสามารถในการประกอบสัมมาอาชีพให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด และตามทันความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
4. มีทักษะการดำเนินชีวิตที่ดี และสามารถจัดการกับชีวิต ชุมชน สังคมได้อย่างมีความสุขตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
5. มีความเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย โดยเฉพาะภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาไทย ความเป็นพลเมืองดี ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนา
ยึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
6. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
7. เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ และบูรณาการความรู้มาใช้ในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

ระดับการศึกษา
ระดับการศึกษาแบ่งระดับการศึกษาออกเป็น 3 ระดับ คือ
– ระดับประถมศึกษา
– ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
– ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
โดยแต่ละระดับใช้เวลาเรียน 4 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีที่มีการเทียบโอน แต่ทั้งนี้ต้องลงทะเบียนเรียนในสถานศึกษาอย่างน้อย 1 ภาคเรียน

สาระการเรียนรู้
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย 5 สาระการเรียนรู้ และ 18 มาตรฐานการเรียนรู้ ดังนี้

        1. สาระทักษะการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 มาตรฐาน ดังนี้

มาตรฐานที่ 1.1 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
มาตรฐานที่ 1.2 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการใช้แหล่งเรียนรู้
มาตรฐานที่ 1.3 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการจัดการความรู้
มาตรฐานที่ 1.4 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการคิดเป็น
มาตรฐานที่ 1.5 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการวิจัยอย่างง่าย

        2. สาระความรู้พื้นฐาน ประกอบด้วย 2 มาตรฐาน ดังนี้

มาตรฐานที่ 2.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสาร
มาตรฐานที่ 2.2 มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

        3. สาระการประกอบอาชีพ ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 3.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีในงานอาชีพ มองเห็นช่องทาง และตัดสินใจประกอบอาชีพได้ตามความต้องการ
                    และ  ศักยภาพของตนเอง

        4. สาระทักษะการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 4.1 มีความรู้ ความเข้าใจ เจตคติที่ดีเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม
มาตรฐานที่ 4.2 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีเกี่ยวกับการดูแล ส่งเสริมสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต
มาตรฐานที่ 4.3 มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับศิลปะและ สุนทรียภาพ

         5. สาระการพัฒนาสังคม ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน ดังนี้

มาตรฐานที่ 5.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง
                    สามารถนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต
มาตรฐานที่ 5.2 มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นคุณค่า และสืบทอดศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
มาตรฐานที่ 5.3 ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย มีจิตสาธารณะ เพื่อความสงบสุขของสังคม
มาตรฐานที่ 5.4 มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นความสำคัญของหลักการพัฒนา และสามารถพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน/สังคม

หมายเหตุ สาระการเรียนรู้ความรู้พื้นฐาน มาตรฐานที่ 2.1 มีความรู้ความเข้าใจทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสาร ซึ่งภาษาในมาตรฐานนี้หมายถึง ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ

โครงสร้างหลักสูตร

หมายเหตุ

  • วิชาเลือกและวิชาบังคับในแต่ละระดับสถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียน เรียนรู้จากการทำโครงงาน จำนวนอย่างน้อย 3 หน่วยกิต
  • จากโครงสร้างหลักสูตรดังกล่าวข้างต้น สถานศึกษาต้องจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในรายวิชาบังคับ ตามที่กำหนดไว้ในโครงสร้างหลักสูตร สำหรับรายวิชาเลือกนักศึกษาสามารถเลือกตามรายวิชาที่สำนักงาน กศน. จัดทำขึ้น หรือพัฒนาขึ้นได้ตามความต้องการของผู้เรียนและชุมชน
  • หลักสูตรแก้ไข ระดับการศึกษาทุกระดับ ต้องทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตจำนวน 200 ชั่วโมง

การลงทะเบียนเรียนรายวิชา
การลงทะเบียนเรียนตามโครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ให้ลงทะเบียนเรียนเป็นรายวิชาและตามจำนวนหน่วยกิต ในแต่ละภาคเรียนดังนี้
1. ระดับประถมศึกษา ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 14 หน่วยกิต
2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 16 หน่วยกิต
3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 20 หน่วยกิต

 

ตารางเปรียบเทียบ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กับหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551

หลักสูตร กศน 44
หลักสูตร กศน 51
การจัดการศึกษานอกโรงเรียน ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มี จุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีความเป็นไทย และมีศักยภาพ ในการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิต เนื่องมาจากได้มี พรบ.กศน. พ.ศ.2551 เกิด ขึ้น จึงต้องพัฒนาหลักสูตร กศน 2551 โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีสติปัญญา มีศักยภาพในการประกอบอาชีพ การศึกษาต่อ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัว ชุมชน สังคมได้อย่างมีความสุข
โครงสร้างหลักสูตร มี 3 ระดับ คือ
ระดับประถมศึกษา
 มัธยมศึกษาตอนต้น
 และมัธยมศึกษาตอนปลาย
โครงสร้างหลักสูตร มี 3 ระดับ คือ
ระดับประถมศึกษา
 มัธยมศึกษาตอนต้น
 และมัธยมศึกษาตอนปลาย
สาระการเรียนมี 8 หมวดวิชา คือ
กลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน 4 หมวดวิชา
ภาษาไทย
คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร ์
และภาษาต่างประเทศ
กลุ่มหมวดวิชาประสบการณ์ 4 หมวดวิชา
หมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน
พัฒนาทักษะชีวิต 1
พัฒนาทักษะชีวิต 2
และพัฒนาอาชีพ
สาระการเรียนมี 5 สาระ คือ

1) สาระทักษะการเรียนรู้

2)สาระความรู้พื้นฐาน

3)สาระการประกอบอาชีพ

4)สาระทักษะการดำเนินชีวิต
5) สาระการพัฒนาสังคม
มีกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม 100 ชั่วโมง มีกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม 100 ชั่วโมง
    เวลาเรียน ใช้เวลาเรียน 4 ภาคเรียน  ยกเว้นกรณีมีการเทียบโอนผลการเรียน     เวลาเรียน ใช้เวลาเรียน 4 ภาคเรียน  ยกเว้นกรณีมีการเทียบโอนผลการเรียน
หน่วยกิต  ใช้เวลาเรียน 40 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ1 หน่วยกิต หน่วยกิต  ใช้เวลาเรียน 40 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ1 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร

ระดับประถมศึกษา ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต  (20/28)

มัธยมศึกษาตอนต้น ไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต (24/32)

และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต(28/48)
โครงสร้างหลักสูตร

ประถมศึกษา ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต  (36/12)

มัธยมศึกษาตอนต้น ไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต(40/16)

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต(44/32)

วิธีการจัดการเรียนรู้ มี 2 รูปแบบ คือ
1) การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม
2) การเรียนรู้แบบทางไกล
วิธีการจัดการเรียนรู้ มี 7 รูปแบบ คือ
1) การเรียนรู้ด้วยตนเอง
2) การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม
3) การเรียนรู้แบบทางไกล
4)การเรียนรู้แบบชั้นเรียน (ร.ร.ผู้ใหญ่)
5) การเรียนรู้ตามอัธยาศัย
6)การเรียนรู้จากการทำโครงงาน
7)การเรียนรู้รูปแบบอื่น ๆ ตามความต้องการ
สื่อการเรียนรู้  เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อบุคคล ภูมิปัญญา แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชนนั้น ๆ สื่อที่ครู หรือผู้เรียนสร้างขึ้นเองก็ได้ สื่อการเรียนรู้  เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อบุคคล ภูมิปัญญา แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชนนั้น ๆ สื่อที่ครู หรือผู้เรียนสร้างขึ้นเองก็ได้
การวัดและประเมินผลการเรียน  คือ
1)การวัดและประเมินผลเป็นหมวดวิชา
2)การประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง
3) การประเมินคิด อ่าน วิเคราห์ เชียน
4) การประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์
5)การประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ
การวัดและประเมินผลการเรียน  คือ
1)การวัดและประเมินผลเป็นรายวิชา
2)การประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง
3) การประเมินคุณธรรม
4)การประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ

 



เข้าชม : 919
 
 
ศกร.ระดับตำบลสะพานไม้แก่น 
 บ้านเกษมรัตน์  หมู่ที่ 6 ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา 90130 โทรศัพท์ 08-6296-7164
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05