[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 

  

ข่าวประชาสัมพันธ์
Best Practice การปฏิบัติที่เป็นเลิศ กศน.ตำบลป่าชิง โดยนายจำรัส พรุเพชรแก้ว

อังคาร ที่ 26 เดือน เมษายน พ.ศ.2565


 

Best Practice

การปฏิบัติที่เป็นเลิศ

 

 

 

 

 

เรื่อง

การขยายพันธุ์พืชสู่การดำเนินชีวิตตามแนวทางของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

(การจัดการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมวิชาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ

โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ไตรมาส 1-2 ประจำปีงบประมาณ 2565) 

 

 

 

โดย

จำรัส  พรุเพชรแก้ว

ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน  ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้า  กศน.ตำบล

 

 

 

 

 

 

 

กศน.ตำบลป่าชิง

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอจะนะ

อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

 

คำนำ

         

รายงานผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ  (Best practice)  ซึ่งเป็นผลจากการจัดกิจกรรมของข้าพเจ้า      นายจำรัส  พรุเพชรแก้ว ในพื้นที่ตำบลป่าชิง  ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ.25635 (ไตรมาส  1-2)  นี้  เป็นกิจกรรมที่เกิดจากการดำเนินงานตามนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงานของ  สำนักงาน  กศน.  ประจำปีงบประมาณ  2565  ในแผนงาน : แผนงานยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ซึ่งมีกิจกรรมหลัก  2  กิจกรรม  คือ  การอบรมให้ความรู้  และการฝึกปฏิบัติ จากการจัดการเรียนการสอนผู้รับผิดชอบได้ขยายผลต่อเนื่องโดยติดตามผู้เรียนที่มีความสนใจและซึ่งได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน รายงานผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ  (Best practice) เล่มนี้  จัดทำขึ้นเพื่อสรุปผลการดำเนินงานที่เป็นผลจากความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมและพัฒนากลุ่มขยายพันธุ์พืช  ในการที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนานำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักปรัชญาคิดเป็นสู่การปฏิบัติ  ที่ได้ทำงานสนองนโยบายเร่งด่วนเพื่อร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ  : ยุทธศาสตร์ที่  2  ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน  และยุทธศาสตร์ที่  4  ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม    ได้อย่างเป็นรูปธรรม

           ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Best practice ของ กศน.ตำบลป่าชิง  ซึ่งได้สะท้อนผลจากการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ  ก่อเกิดประโยชน์ให้กับกลุ่มอาชีพที่ได้รับการส่งเสริมในแต่ละไตรมาสเพื่อสร้างความยั่งยืนเกิดกับผู้เรียนผู้รับบริการ  เล่มนี้คงจะเป็นประโยชน์กับผู้เรียนกลุ่มอาชีพ นักศึกษา  ครู  กศน.  และสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน  กศน.สงขลา  ต่อไป

 

 

 

 

                                                                                           ผู้จัดทำ

                                                                             จำรัส  พรุเพชรแก้ว                                                                                              ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

 

เรื่อง                                                                                                  หน้า

คำนำ

 

1. หลักการและเหตุผล

1

2. วัตถุประสงค์

2

3.  เป้าหมาย

2

4. ตัวชี้วัดความสำเร็จ

3

5  ขั้นตอนการดำเนินงาน

3

6. ผลการดำเนินงาน

4

7. ปัญหา/อุปสรรคจากการดำเนินงาน

4

8. ข้อเสนอแนะจากการดำเนินงาน

4

9. การเผยแพร่ผลการปฏิบัติงาน

4

ภาคผนวก

      ภาคผนวก ก ภาพกิจกรรมการดำเนินการ

      ภาคผนวก ข เอกสารการปฏิบัติงานตามโครงการ

 

5

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ชื่อผลงาน               การขยายพันธุ์พืชสู่การดำเนินชีวิตตามแนวทางของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ชื่อเจ้าของผลงาน      จำรัส  พรุเพชรแก้ว

ตำแหน่ง                ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน

สถานที่ทำงาน          ศูนย์ กศน.อำเภอจะนะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา 

                          โทรศัพท์ 074-207092 โทรสาร  074-207092

ผู้บริหาร                 นางสาวบุปผาชาติ เรืองกูล รองผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน.จังหวัดสงขลา รักษาการใน

                             ตำแหน่ง  ผู้อำนวยการ  ศูนย์  กศน.อำเภอจะนะ

รายละเอียดการนำเสนอผลงาน

 

1. ชื่อผลงาน    การขยายพันธุ์พืชสู่การดำเนินชีวิตตามแนวทางของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                         

2. ความสอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน  สำนักงาน  กศน.  ประจำปีงบประมาณ  2565

           นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ด้านการจัดการเรียนรู้คุณภาพ ข้อ 1.1 น้อมนำพระบรมราโชบายสู่การปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริทุกโครงการ และโครงการอันเกี่ยวเนื่องจากราชวงศ์ และด้านการสร้างสมรรถนะและทักษะคุณภาพ ข้อ 2.1 ส่งเสริมการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ที่เน้นการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับแต่ละช่วงวัยและการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมายและบริบทพื้นที่ และ 2.2 พัฒนาหลักสูตรอาชีพระยะสั้น ที่เน้น New skill Up skill และ Re skill ที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ความต้องการและความหลากหลายของกลุ่มเป้าหมาย เช่น ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ความต้องการของตลาดแรงงาน และกลุ่มอาชีพใหม่ที่รองรับ Disruptive Technology ตามแผนงานยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน

 

3. หลักการและเหตุผล

            ตามที่  สำนักงาน  กศน.  ได้กำหนดวิสัยทัศน์ให้คนไทยได้รับโอกาสการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ สามารถดำรงชีวิตที่เหมาะสมกับช่วงวัย สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีทักษะที่จำเป็นในโลกศตวรรษที่ ๒๑  โดยมีเป้าประสงค์  ข้อ ๑ ให้ประชาชนผู้ด้อย พลาด และขาดโอกาสทางการศึกษา รวมทั่งประซาซนทั่วไปได้รับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัย ที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง เป็นไปตามสภาพ ปัญหา และความต้องการของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน  ด้านการจัดการเรียนรู้คุณภาพ ข้อ 1.1 น้อมนำพระบรมราโชบายสู่การปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริทุกโครงการ และโครงการอันเกี่ยวเนื่องจากราชวงศ์ และด้านการสร้างสมรรถนะและทักษะคุณภาพ ข้อ 2.1 ส่งเสริมการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ที่เน้นการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับแต่ละช่วงวัยและการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมายและบริบทพื้นที่ และ 2.2 พัฒนาหลักสูตรอาชีพระยะสั้น ที่เน้น New skill Up skill และ Re skill ที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ความต้องการและความหลากหลายของกลุ่มเป้าหมายตามแผนงานยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน นั้น    

            กศน.ตำบลป่าชิง  มีความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับกลุ่มเป้าหมายในชุมชน  ที่เน้นการผลิต  การตลาด  และการสร้างช่องทางการขายายอาชีพ  จึงได้ส่งเสริมให้ความรู้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายเรื่องการขยายพันธุ์พืช ซึ่งเป็นเรื่องที่กำลังได้รับความนิยมในช่วงสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID—19) ด้วยประชาชนทั่วไปได้รับผลกระทบจากการประกอบอาชีพที่ต้องมีการปฏิสัมพันธ์กับคนหมู่มาก การเพาะขยายพันธุ์พืชจึงเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมทางเลือกที่สามารถทำได้และลดการแพร่ระบาดของโรค รวมทั้งสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ที่สนใจจะขยายพันธุ์พืชแล้วเพิ่มช่องทางการขายแบบออนไลน์  ได้มีโอกาสในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองผ่านกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง  กิจกรรมวิชาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ไตรมาส 1-2 ประจำปีงบประมาณ 2565 ซึ่งหลังจากผู้เรียนได้เรียนรู้ตามหลักสูตรสามารถนำความรู้ไปพัฒนาตนเอง เห็นช่องทางในการพัฒนาอาชีพที่มีความแตกต่างจากรูปแบบเดิมๆ  ผู้รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมจึงได้สรุปผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ  (Best practice)  นี้ขึ้น 

 

4.วัตถุประสงค์

1. เพื่อสรุปผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practice) จากการจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมวิชาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ไตรมาส 1-2 ประจำปีงบประมาณ 2565

2. เพื่อให้บุคลากร ประชาชนที่มีความสนใจ ในเรื่องการขยายพันธุ์พืชได้เห็นแนวทางการดำเนินการเพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนาความรู้ สู่การต่อยอดอาชีพได้

         

5.เป้าหมาย

        5.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ

            - ประชาชนทั่วไปในพื้นที่ตำบลป่าชิง  จำนวน  7 คน 

        5.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ

            - ประชาชนที่สมัครเรียนและผ่านการอบรม มีความรู้เรื่องการขยายพันธุ์พืชและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

6. ตัวชี้วัดความสำเร็จ

ร้อยละ 90 ของผู้เข้าอบรมนำความรู้เรื่องการขยายพันธุ์พืชไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

7. ขั้นตอน/วิธีการดำเนินงาน

            ในการดำเนินการเพื่อให้กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการทำกรงนกบ้านหัวดินเหนือ  ได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่การค้าออนไลน์ได้จริง  กศน.ตำบลป่าชิง  ได้ส่งเสริมและสร้างโอกาสให้กลุ่มได้เข้าร่วมโครงการการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืนกิจกรรมส่งเสริมศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน  งบรายจ่ายอื่น  1  อำเภอ  1  อาชีพ ประจำปีงบประมาณ 2563  หลักสูตร  40  ชั่วโมง  วิชา  ช่างทำโคมไฟกรงนก  ร่วมกับการเปิดโอกาสให้ตัวแทนกลุ่มบางคนเข้าร่วมในการเรียนหลักสูตรการค้าขายออนไลน์  ในปีงบประมาณ  2562  ดังนั้น  เมื่อสมาชิกกลุ่มได้เรียนรู้การทำกรงนกในรูปแบบโคมไฟ  สมาชิกกลุ่ม  คือนายอานัส  วันนิ  ประธานกลุ่ม  ได้นำผลิตภัณฑ์ทั้งรูปแบบดั่งเดิมและรูปแบบใหม่  ขึ้นโพสต์จำหน่าย  ในเพจ   อานัส วันนิ///กรงนก  ซึ่งกลุ่มสามารถเพิ่มยอดการจำหน่ายให้กับสินค้าของกลุ่มได้สูงขึ้น  ในการดำเนินการเพื่อส่งเสริมและพัฒนากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาอาชีพกรงนกเขาบ้านหัวดินเหนือ  กศน.ตำบลป่าชิง  ได้ดำเนินการตามวงจรคุณภาพของเดมิ่ง  (PDCA)  เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายดังนี้

1.      ขั้นตอนการวางแผน  (Plan)

1.1    ประชุมวางแผน/สำรวจข้อมูลความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

1.2นำข้อมูลความต้องการเสนอเข้าสู่แผนปฏิบัติการประจำปีของ  กศน.ตำบลป่าชิง  และนำสู่แผนปฏิบัติการประจำปีของ  กศน.อำเภอจะนะ

2.      ขั้นตอนการปฏิบัติตามแผน  (Do)

2.1  ดำเนินงานตามแผนงานโครงการในปีงบประมาณ  2565 

                    ผู้รับผิดชอบโครงการได้ดำเนินการตามแผนงานโครงการที่กำหนดไว้  ตามใบจัดสรรงบประมาณ  และแบบ กผ.สข.02  ในรูปแบบการจัดการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมวิชาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ไตรมาส 1-2 ประจำปีงบประมาณ 2565

3.      ขั้นตอนการตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน  (Check)

3.1    การนิเทศติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการ

3.2     รายงานผลการจัดกิจกรรมผ่านหัวหน้างาน  เพื่อเสนอผู้บริหารรับทราบและพิจารณาการขับเคลื่อนงานในปีงบประมาณ  2565 ต่อไป

4.      ขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไข  (Act)

นำผลจากการรายงานผลการจัดซึ่งเกิดจากการนิเทศติดตามมาปรับปรุงและพัฒนางานโดย ควรเพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้มีความรู้เรื่องการขยายพันธุ์พืชให้มากและขยายพื้นที่ให้กว้างขึ้น  ด้วยเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง ซึ่งจะช่วยลดรายจ่าย และอาจจะเพิ่มรายได้ให้กับผู้ที่ฝึกจนเกิดทักษะมีความชำนาญ ซึ่งจะเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยในการส่งเสริมการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้กับกลุ่มเป้าหมายต่อไป

 

 

 

8. ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ 

    8.1  ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เข้ารับการอบรม

            จากการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง  ทำให้ทราบว่ามีผู้เรียนที่นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้จริง ร้อยละ  100  จากการติดตามผู้ผ่านการอบรมได้นำวิธีการทาบกิ่งไปใช้ในการทาบกิ่ง (ต้นทุเรียน) การตอนกิ่ง (ต้นมะนาว) การเสริมราก (ต้นทุเรียน) และการเรียนรู้เพิ่มเติมที่ครูผู้รับผิดชอบได้แนะนำให้ความรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากหลักสูตร คือการทำน้ำหมักชีวภาพ เพื่อใช้ในการดูแลพันธุ์พืช

    8.2 ผลที่เกิดขึ้นกับสถานศึกษา

           กศน.อำเภอจะนะ  สามารถดำเนินงานได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน  ที่มีความสอดคล้องตามนโยบายและจุดเน้นของสำนักงาน  กศน. มีกลุ่มประชาชนที่สนใจรวมกลุ่มกันในการประกอบอาชีพเพื่อการพัฒนาตนเอง และเกิดการเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

    8.3  ผลที่เกิดขึ้นกับชุมชน

           ผู้เข้ารับการอบรมเมื่อมีความรู้แล้วได้ถ่ายทอดไปยังบุคคลในครอบครัว เพื่อนบ้าน ส่งเสริมให้เกิดการเกื้อกูล ช่วยเหลือกัน ซึ่งจะทำให้มีความสัมพันธ์ที่ดีของกลุ่มคนในชุมชน สร้างความสามัคคี ช่วยให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและยั่งยืน 

 

9. การกำกับและติดตาม 

            การกำกับติดตามเพื่อให้การดำเนินการบรรลุเป้าหมาย  โดยผู้บริหารสถานศึกษามีการติดตามอย่างต่อเนื่อง  และมอบหมายให้ที่ปรึกษาโซนคอยให้คำแนะนำช่วยเหลือ  เพื่อแก้ปัญหาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน

 

10. ปัญหา  อุปสรรค  และข้อเสนอแนะ 

           ควรมีการส่งเสริมการเรียนรู้การขยายพันธุ์พืชให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งจะสามารถช่วยประชาชนในการลดรายจ่ายให้กับครอบครัวในการซื้อพันธุ์พืชได้

 

11. ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของโครงการ 

           -  โครงการการจัดการศึกษาต่อเนื่อง  (การปลูกผัก,  การส่งเสริมอาชีพ  วิชาช่างก่อสร้าง, โครงการการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง)

 

12. การเผยแพร่ผลงาน

          -  เผยแพร่ผ่าน  หน้าเว็บไซต์  กศน.ตำบลป่าชิง  http://sk.nfe.go.th/chana12/

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาคผนวก ก ภาพกิจกรรมการดำเนินการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาพการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร การจัดการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมวิชาชีพระยะสั้น กลุ่มสนใจ โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ไตรมาส 1-2 ประจำปีงบประมาณ 2565

วันที่ 12 มกราคม 2565  ณ กศน.ตำบลป่าชิง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาพข่าวการจัดกิจกรรม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

      ภาคผนวก ข เอกสารการปฏิบัติงานตามโครงการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



เข้าชม : 177


ข่าวประชาสัมพันธ์ 5 อันดับล่าสุด

      ครงการการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ประวัติศาสตร์ชาติไทย และเป็นพลเมืองดีด้านการศึกษา 9 / พ.ค. / 2567
      ศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบลป่า จัดทำเวทีประชาคมเพื่อรับรองทึ่ดินสาธารณะประโยชน์ จำนวน 2 .5 ไร่ ให้ก่อสร้าง ศกร. ระดับตำบลป่าชิง ในพื้นที่หมู่ที่ 3 ตามระวางที่ดิน 9 / พ.ค. / 2567
      กิจกรรม Focus group และวิพากษ์เล่มต้นฉบับ วรรณกรรมชุมชน เรื่อง กรงนกบ้านหัวดินเหนือ 9 / พ.ค. / 2567
      วันที่ 18 เมษายน 2567 นายวิเชียร โชติช่วง ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอจะนะ พร้อมกรรมการประเมิน และหัวหน้าศกร.ตำบลทุกตำบล ลงพื้นที่ประเมิน ศกร.ตำบลป่าชิง 21 / เม.ย. / 2567
      การทำไข่เค็ม 17 / เม.ย. / 2567




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ที่นี่ เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป