รายละเอียดการนำเสนอผลงาน
1. ชื่อผลงาน การส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการจัดการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมวิชาชีพระยะสั้น ชั้นเรียน
วิชาชีพ โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนหลักสูตรวิชาช่างเชื่อม 40 ชั่วโมง
2. ความสอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ 2564
ข้อ 2. สงเสริมการจัดการศึกษาและการเรียนรูตลอดชีวิตสำหรับประชาชนที่เหมาะสมกับทุกชวงวัย 2.1) สงเสริมการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ในรูปแบบ Re-Skill& Up-Skill และการสร้างนวัตกรรมและผลิตภัณฑที่มีคุณภาพ มีความหลากหลาย ทันสมัย และตอบสนองความตองการของประชาชนผูรับบริการ และสามารถออกใบรับรองความรูความสามารถเพื่อนำไปใชในการพัฒนาอาชีพไดและภารกิจต่อเนื่อง 1.3) การศึกษาตอเนื่อง 1) จัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอยางยั่งยืน โดยใหความสำคัญกับการจัดการศึกษาอาชีพ เพื่อการมีงานทำในกลุมอาชีพเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม คหกรรม และอาชีพเฉพาะทางหรือการบริการ รวมถึงการเนนอาชีพชางพื้นฐาน ที่สอดคลองกับศักยภาพของผูเรียน ความตองการและศักยภาพของแตละพื้นที่มีคุณภาพไดมาตรฐานเปนที่ยอมรับ สอดรับกับความตองการของตลาดแรงงาน และการพัฒนาประเทศ ตลอดจนสรางความเขมแข็งใหกับศูนยฝกอาชีพชุมชน โดยจัดใหมีการสงเสริมการรวมกลุมวิสาหกิจชุมชน การพัฒนาหนึ่งตำบลหนึ่งอาชีพเดน การประกวดสินคาดีพรีเมี่ยม การสรางแบรนดของ กศน. รวมถึงการสงเสริมและจัดหาชองทางการจำหนายสินคาและผลิตภัณฑ และใหมีการกำกับ ติดตาม และรายงานผลการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอยางเปนระบบและ ตอเนื่อง
3. หลักการและเหตุผล
ตามที่ สำนักงาน กศน. ได้กำหนดกับนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ 2564 ในการส่งเสริมการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนที่เหมาะสมกับทุกช่วงวัย ส่งเสริมการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ในรูปแบบ Re-Skill& Up-Skill และการสร้างนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีความหลากหลาย ทันสมัย และตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้รับบริการ และสามารถออกใบรับรองความรู้ความสามารถเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพได้ ผ่านภารกิจต่อเนื่อง ที่ดำเนินการในรูปแบบการศึกษาต่อเนื่อง ดังนี้ 1) จัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาอาชีพ เพื่อการมีงานทำในกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม คหกรรม และอาชีพเฉพาะทางหรือการบริการ รวมถึงการเน้นอาชีพช่างพื้นฐาน ที่สอดคล่องกับศักยภาพของผู้เรียน ความต้องการและศักยภาพของแต่ละพื้นที่มีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ สอดรับกับความต้องการของตลาดแรงงาน และการพัฒนาประเทศ ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งให้กับศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน โดยจัดให้มีการส่งเสริมการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน การพัฒนาหนึ่งตำบลหนึ่งอาชีพเดือน การประกวด สินค้าดีพรีเมี่ยมการสร้างแบรนด์ของกศน.รวมถึงการส่งเสริมและจัดหาช่องทางการจำหน่ายสินค่าและผลิตภัณฑ์ พร้อมให้มีการกำกับ ติดตาม และรายงานผลการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง นั้น
กศน.ตำบลป่าชิง มีความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับกลุ่มเป้าหมายในชุมชน ที่เน้นอาชีพช่างพื้นฐาน ที่สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน และสร้างช่องทางการพัฒนาอาชีพที่หลากหลาย จึงได้ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการจัดการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมวิชาชีพระยะสั้น ชั้นเรียนวิชาชีพ โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนหลักสูตรวิชาช่างเชื่อม 40 ชั่วโมง ซึ่งหลังจากสมาชิกกลุ่มได้เรียนรู้ตามหลักสูตรสามารถนำความรู้ได้ใช้ในการพัฒนาอาชีพ นำความรู้ไปช่วยเหลืองานของชุมชนได้เป็นอย่างดี ผู้รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมจึงได้สรุปผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best practice) นี้ขึ้น
4.วัตถุประสงค์
1. เพื่อสรุปผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practice) จากการจัดกิจกรรมวิชาช่างเชื่อม
2. เพื่อสรุปประโยชน์ที่ผู้เรียนและชุมชนได้รับจากการส่งเสริมอาชีพของ กศน.ตำบลป่าชิง
5.เป้าหมาย
5.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
- ได้เอกสารสรุปผลการดำเนิน และข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากการส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการจัดการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมวิชาชีพระยะสั้น ชั้นเรียนวิชาชีพ โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนหลักสูตรวิชาช่างเชื่อม 40 ชั่วโมง จำนวน 1 เล่ม
5.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
- เอกสารสามารถเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน ผู้รับบริการ หน่วยงาน ที่สนใจต่อไป
6. ตัวชี้วัดความสำเร็จ
ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นรูปธรรม
7. ขั้นตอน/วิธีการดำเนินงาน
ในการดำเนินการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการจัดการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมวิชาชีพระยะสั้น ชั้นเรียนวิชาชีพ โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนหลักสูตรวิชาช่างเชื่อม 40 ชั่วโมง ให้ผู้เรียนได้นำความรู้ประยุกตฺใช้และรวบรวมข้อมูลเป็นเอกสารเพื่อการเผยแพร่ได้ กศน.ตำบลป่าชิง ได้ส่งเสริมและสร้างโอกาสให้กลุ่มได้เข้าร่วมการฝึกอบรมอาชีพช่างเชื่อม 40 ชั่วโมง โดยฝึกปฏิบัติ ณ กศน.ตำบลป่าชิงและได้ดำเนินการตามวงจรคุณภาพของเดมิ่ง (PDCA) เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายดังนี้
1. ขั้นตอนการวางแผน (Plan)
1.1 ประชุมวางแผน/สำรวจข้อมูลความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
1.2 นำข้อมูลความต้องการเสนอเข้าสู่แผนปฏิบัติการประจำปีของ กศน.ตำบลป่าชิง ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 สู่แผนปฏิบัติการประจำปีของ กศน.อำเภอจะนะ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
2. ขั้นตอนการปฏิบัติตามแผน (Do)
2.1 ดำเนินงานตามแผนงานโครงการในปีงบประมาณ 2564
ผู้รับผิดชอบกิจกรรมดำเนินงานตามแผนงานโครงการที่กำหนดไว้ ตามใบจัดสรรงบประมาณ และแบบ กผ.สข.02 ณ กศน.ตำบลป่าชิง หมู่ที่ ๙ ตำบลป่าชิง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 15 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 23 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 เรียนทุกวัน หยุดวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 12.00 น. ถึงเวลา 17.00 น. จำนวน 40 ชั่วโมง เรียนวันละ 5 ชั่วโมง มีผู้เรียน 11 คน โดยมีนายเสกสรร จันคง เป็นวิทยากรให้ความรู้ โดยใช้เงินงบประมาณ ปี พ.ศ. 2564 แผนงาน : ยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน งบรายจ่ายอื่น รหัสงบประมาณ 2000 2350 5270 0019 (กิจกรรมวิชาชีพระยะสั้น ชั้นเรียนวิชาชีพ) ภายในวงเงิน 9,๐๐๐ บาท (เงินเก้าพันบาทถ้วน)
3. ขั้นตอนการตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน (Check)
3.1 นิเทศติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการ
3.2 รายงานผลการจัดกิจกรรมผ่านหัวหน้างาน เพื่อเสนอผู้บริหารรับทราบและพิจารณาการขับเคลื่อนงานในปีงบประมาณ 2565 ต่อไป
4. ขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไข (Act)
นำผลจากการรายงานผลการจัดในปีงบประมาณ 2564 มาปรับปรุงและพัฒนางานโดย ควรเพิ่มวัสดุฝึกให้มากขึ้นเพื่อสร้างทักษะความชำนาญให้แก่สมาชิกควรมีการส่งเสริมสร้างความยั่งยืนโดยจัดงบประมาณให้สามารถดำเนินการจัดซื้อเครื่องเชื่อมมาใช้ในกลุ่มได้อย่างถาวร แทนการใช้เครื่องมือจากวิทยากร เพื่อประโยชน์ในการขยายอาชีพของกลุ่มและสมาชิกต่อไป
8. ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ
8.1 ผลที่เกิดขึ้นกับสมาชิก
จากการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพของเดมิ่ง สมาชิกในกลุ่มสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน สามารถสร้างอาชีพและขยายกลุ่มผู้เรียนโดยธรรมชาติผ่านการนำความรู้ไปถ่ายทอดให้สมาชิกในชุมชนได้ช่วยเหลืองานของหมู่บ้านต่อไป
8.2 ผลที่เกิดขึ้นกับสถานศึกษา
กศน.อำเภอจะนะ สามารถดำเนินงานได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน ที่มีความสอดคล้องตามนโยบายและจุดเน้นของสำนักงาน กศน.จังหวัดสงขลา สำนักงาน กศน. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีกลุ่มอาชีพที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ และขยายผลได้ในเชิงประจักษ์แสดงให้เห็นถึงผลงานด้านการส่งเสริมกลุ่มอาชีพในชุมชนให้มีการพัฒนา และอยู่ได้อย่างยั่งยืน
8.3 ผลที่เกิดขึ้นกับชุมชน
กลุ่มอาชีพช่างเชื่อมที่ได้รับการส่งเสริมเป็นกลุ่มที่เกิดมาจากสมาชิกในชุมชนที่มีความสนใจดังนั้น การขยายผลและประยุกต์ใช้ความรู้จึงเกิดขึ้นได้จริง
9. การกำกับและติดตาม
-การกำกับติดตามเพื่อให้การดำเนินการบรรลุเป้าหมาย โดยผู้บริหารสถานศึกษามีการติดตามอย่างต่อเนื่อง และมอบหมายให้ที่ปรึกษาโซนคอยให้คำแนะนำช่วยเหลือ เพื่อแก้ปัญหาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน
10. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ
-ควรมีการส่งเสริมงบประมาณในการจัดเครื่องเครื่องมือในการเชื่อมให้กลุ่มเพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
11. ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของโครงการ
- โครงการการจัดการศึกษาต่อเนื่อง (การเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการค้า, การส่งเสริมอาชีพ วิชาช่างก่อสร้าง ช่างไม้ ช่างเชื่อม)
12. การเผยแพร่ผลงาน
- เผยแพร่ผ่าน หน้าเว็บไซต์ กศน.ตำบลป่าชิง http://sk.nfe.go.th/chana12/
เข้าชม : 397
|