[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 

  

ข้อมูลการเรียน และความรู้สำหรับนักศึกษา กศน.ตำบลป่าชิง
แหล่งเรียนรู้ด้านอาชีพ ตำบลป่าชิง

จันทร์ ที่ 5 เดือน กันยายน พ.ศ.2565


 ทำเนียบแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน

ตำบลป่าชิง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

……………………………………………………………………………………..

 

1.    ชื่อแหล่งเรียนรู้ :

กศน.ตำบลป่าชิง

 

2.    สถานที่ที่ตั้ง :

หมู่ที่ 9 ตำบลป่าชิง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

 

3.    ผู้รับผิดชอบ :

นายจำรัส พรุเพชรแก้ว

 

4.    เบอร์โทรศัพท์ :

084-0685484

 

5.    ความสำคัญ/เนื้อหาแหล่งเรียนรู้

          การจัดการศึกษาของ กศน.ตำบลป่าชิง ให้ความสำคัญเรื่องการศึกษาและการเรียนรู้ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาและการเรียนรู้ของคนไทย เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างทั่วถึงมีคุณภาพและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีนโยบายให้มีการจัดตั้ง กศน.ตำบลขึ้น โดยให้เป็นหน่วยจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่ตั้งอยู่ในระดับตำบลเพื่อให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบล เป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับประชาชนเพื่อประชาชนได้ใช้ในการแสวงหาความรู้เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ ตามแนวทางการดำเนินงานของ กศน. ตำบล ซึ่งต้องมีการปรับบทบาทภารกิจ ให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและบริบทของพื้นที่ภายใต้การขับเคลื่อนการดำเนินงาน 4 ศูนย์การเรียนรู้ ได้แก่       

        1) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่  เป็นศูนย์กลางการส่งเสริมการจัดกระบวนการการเรียนรู้ และหน่วยประสานงานแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ      

          2) ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล (ศส.ปชต.)  เพื่อสร้างการเรียนรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยเฉพาะสิทธิและหน้าที่ในระบอบประชาธิปไตย บูรณาการความร่วมมือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

           3) ศูนย์ดิจิทัลชุมชน  ให้ความรู้ส่งเสริมการฝึกทักษะที่จำเป็นกับประชาชนกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคดิจิทัล

          4) ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตชุมชน  เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีคุณภาพที่สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษา โดยยึดชุมชนเป็นฐานในการดำเนินงาน โดย กศน.ตำบลมีบทบาทเป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวก 

 

6.    ภาพกิจกรรมแหล่งเรียนรู้

       
     

  


     การนิเทศติดตาม

 


                                                                  

 






การส่งเสริมการเรียนรู้ภาษา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านอาชีพ