[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
  ยินดีต้อนรับสู่...ศูนย์การเรียนรู้ตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา      
 

  

ความรู้เกี่ยวกับ IT
ยาฆ่าแมลง

พฤหัสบดี ที่ 20 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2560

คะแนน vote : 62  

 

ข้อควรระวังกับสารกำจัดศัตรูพืช(ยาฆ่าแมลง)

      บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ ชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ  มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษเพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี  ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง

หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มาก ก็น้อย  สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ “สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย”  เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน

อะบาเม็คติน

(abamectin)

การออกฤทธิ์  เป็นสารกำจัดไรและแมลงที่ประกอบด้วยสาร  macrocyclic  lactone  glycoside  ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากการหมัก  (fermentation)  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส

ความเป็นพิษ  มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  10  มก./กก.  อาจทำให้ดวงตาเกิดอาการระคายเคืองได้เล็กน้อย

ศัตรูพืชที่กำจัดได้  หนอนใยผัก  หนอนม้วนใบ  ไรสนิม  ไรแดงและไรอื่น ๆ  ด้วงมันฝรั่ง  มดคันไฟ  และแมลงอื่น ๆ

พืชที่ใช้  ส้มเขียวหวาน  ส้มโอ  ฝ้าย  มันฝรั่ง  พืชผักและไม้ผล  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม  1.8%  อีซี

อัตราการใช้ 

- กำจัดแมลงศัตรูผักใช้อัตรา  20  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร

- กำจัดแมลงศัตรูส้ม  ใช้อัตรา  10  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร

- กำจัดแมลงศัตรูพืชอื่น ๆให้ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลาก

วิธีใช้  ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  เมื่อตรวจพบว่ามีศัตรูพืช  ฉีดซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ จะมีอาการม่านตาหรี่  หายใจไม่ออก  ไม่ค่อยรู้สึกตัว  ในรายที่มีอาการรุนแรง  ผู้ป่วยอาจเซื่องซึม กล้ามเนื้อกระตุกและเกิดอาการชัก

การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาด  จำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าปากให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ  1-2  แก้วทันทีและรีบทำให้อาเจียนด้วยการล้วงคอ  ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว  ห้ามทำให้อาเจียนหรือให้สิ่งของทางปาก  รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์  สำหรับแพทย์ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ ต้องรักษาตามอาการที่ปรากฏ  หากผู้ป่วยกินวัตถุมีพิษเข้าไป  ทำให้อาเจียนภายใน  30  นาที  หลีกเลี่ยงการให้ยา barbiturates,benzodiazepines,  และ  valproic  acid

ข้อควรรู้                 

– เป็นพิษต่อปลาและผึ้ง

– เป็นสารที่ได้จากการหมักเชื้อจุลินทรีย์ในดิน  ชื่อ  Steptomyces  avermitilis

– ออกฤทธิ์ได้ช้า  ไรจะเคลื่อนไหวไม่ได้ภายหลังจากที่ถูกกับสารนี้

– มีความคงตัวและติดกับใบพืชได้แน่น

อะซีเฟท

(acephate)

การออกฤทธิ์  เป็นสารกำจัดแมลง  ออร์กาโนฟอสเฟท  ออกฤทธิ์ได้ในทางดูดซึม  (systemic)  และทางสัมผัส (contact)

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (หนู)  866-945  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย) มากกว่า  10,250  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้  หนอนกะหล่ำ  หนอนกระทู้หอม  หนอนใยผัก  หนอนกระทู้ผัก  หนอนเจาะสมอ-อเมริกัน  หนอนชอนใบ  หนอนเจาะผลมะเขือเทศ  หนอนเจาะฝักข้าวโพด  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยไฟ  แมลงหวี่ขาว  ไรแดงและไรสนิม

พืชที่ใช้  ผักตระกูลกะหล่ำ  ผักตระกูลคึ่นใช่(celery)  ฝ้าย  ข้าวโพด  มะเขือเทศ  ยาสูบ  ส้ม  มันฝรั่ง  ถั่วแขก  ถั่วลันเตา  ถั่วเหลือง  ถั่วลิสง  ไม้ดอก  และไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม  75%  เอส

อัตราการใช้และวิธีใช้  อัตราการใช้แตกต่างกันออกไป  ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่จะใช้  โดยทั่วไปจะอยู่ในอัตรา  15-35  กรัม ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ฉีดให้ทั่วต้นพืช  เมื่อพบเห็นว่ามีแมลงศัตรูพืชระบาด

อาการเกิดพิษ ถ้าเข้าตา  จะทำให้เกิดอาการระคายเคือง  ม่านตาหรี่และตาพร่ามัว  ถ้ากลืนกินเข้าไปหรือสูดดม  จะมีผลต่อระบบประสาท  มีน้ำลายและน้ำมูกออกมาก  เหงื่อออก  เป็นตะคริว  คลื่นไส้  อาเจียน  น้ำตาไหล  มีอาการสั่นและชัก  หากคนไข้รับพิษเข้าไปในปริมาณสูง  อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงและถึงตายได้

การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษเนื่องจากกินเข้าไป  รีบทำให้คนไข้อาเจียนโดยให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  (เกลือ  1  ช้อนโต๊ะ  ผสมกับน้ำอุ่น  1  แก้ว)  ถ้าสัมผัสผิวหนัง  ให้รีบล้างด้วยสบู่กับน้ำจำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ยาแก้พิษคือ  อะโทรปินซัลเฟท  (atropine  sulphate)  โดยฉีดแบบ  IV  ขนาด  2 มก.และให้ฉีดซ้ำทุก ๆ  3-8  นาที  จนเกิดอาการ  atropinization  อาจให้ยาได้ถึง  12  ครั้งภายใน 2  ชั่วโมง  สำหรับยา  2-PAM  สามารถให้ร่วมกับอะโทรปินซัลเฟทได้

ข้อควรรู้                 

– สารออกฤทธิ์อยู่ได้นาน  10-15  วัน

– รายละเอียดในการใช้อย่างอื่น  ควรดูจากฉลาก

– ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  สำหรับพืชผัก  14  วัน  ฝ้ายให้ใช้ก่อน  21  วัน

ออลดิคาร์บ

(aldicarb)

การออกฤทธิ์  เป็นสารกำจัดแมลง  ไรและไส้เดือนฝอย  คาร์บาเมท(carbamate)  ออกฤทธิ์ในทางดูดซึม  และเป็น cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (หนู)  0.9  มก./กก.  ชนิด  10 %  จี

มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (หนู)  7.0  มก./กก.  ทางผิวหนัง  2,100-3,970 มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยกระโดด  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยหอย  เพลี้ยแป้ง  แมลงหวี่ขาวมวนต่างๆ  ไรแดง  แมลงเต่าทอง  หนอนม้วนใบและไส้เดือนฝอย

พืชที่ใช้  ฝ้าย  อ้อย  มะเขือเทศในระยะเริ่มปลูก  ถั่วลิสง  ส้ม  ถั่วเขียว  ถั่วเหลือง  ข้าวฟ่าง  กาแฟและไม้ดอกไม้ประดับต่าง ๆ

สูตรผสม  10 %  จี

อัตราการใช้และวิธีใช้  แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดพืชและวิธีใช้  ควรศึกษาจากฉลากที่ติดข้างภาชนะบรรจุให้ละเอียดก่อนใช้

อาการเกิดพิษ ผู้ได้รับพิษจะมีอาการปวดศีรษะ  วิงเวียน  ตื่นเต้น  ตาพร่า  อ่อนเพลีย  คลื่นไส้  อาเจียน  จุกแน่นหน้าอก  เหงื่อออกมาก  ม่านตาหรี่  น้ำตาและน้ำลายไหล  หายใจถี่  ลมหายใจจะค่อย ๆ อ่อนลง กล้ามเนื้อกระตุก  ชักและหมดสติในที่สุด

การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้รีบล้างด้วยน้ำกับสบู่จำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนานประมาณ 15  นาที  ถ้ากลืนกินเข้าไป  อย่าทำให้อาเจียน  ให้คนไข้รับประทานแอ็คติเวทเต็ด  ชาร์โคล (activated  charcoal)  2-4  ช้อนโต๊ะ  ละลายกับน้ำ  1  แก้ว  แล้วนำผู้ป่วยส่งแพทย์

ข้อควรระวัง              

– ถ้าต้องการปลูกพืชอาหารอย่างอื่นที่นอกเหนือจากคำแนะนำในฉลากบนพื้นที่ที่ ได้ใช้สารกำจัดแมลงชนิดนี้แล้ว  ควรปลูกภายหลังจากใช้แล้วอย่างน้อย  8  สัปดาห์

– ทำให้เกิดอาการระคายเคืองดวงตา  ผิวหนัง  และระบบหายใจ

– เป็นอันตรายต่อปลา  อย่าให้ปนเปื้อนกับน้ำในสระ  บ่อ  คลอง  หรือแหล่งน้ำอื่น ๆ

– ให้ทำลายภาชนะบรรจุที่ใช้แล้วด้วยวิธีฝังหรือ  เผาและอยู่ห่างไกลจากควัน

– อย่านำภาชนะบรรจุที่ใช้หมดแล้วมาใช้ใหม่  ไม่ว่าจะเพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตาม

– เมื่อจะใช้ควรสวมใส่ถุงมือยางและเสื้อแขนยาว

– อย่าผสมออลดิคาร์บ  10 %  จี  กับน้ำ  เพราะจะได้สารละลายที่มีอันตรายสูงมากและอย่าใช้เครื่องมือบด

ออลดริล

(aldrin)

การออกฤทธิ์  เป็นสารกำจัดแมลง  chlorinated  hydrocarbon  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส  กินตาย  และมีพิษทางหายใจ  มีฤทธิ์ตกค้างยาวนาน

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (หนู)  ประมาณ  67  มก./กก.  ทางผิวหนังมากกว่า 200  มก./กก.  มีอันตรายในทางสัมผัสที่เนื่องมาจากการใช้สูงมาก

ศัตรูพืชที่กำจัดได้  มด  ปลวก  แมงกะชอน  จิ้งหรีด

พืชที่ใช้  ในประเทศไทย  ห้ามใช้กับพืชทุกชนิด

สูตรผสม 40%  ดับบลิวพี  และ  ชนิดน้ำมัน

อัตราการใช้และวิธีใช้  กำจัดปลวกและแมลงในดินทั่วไป  ใช้อัตรา  800-1,600  กรัม  ผสมกับน้ำแล้วราด  หรือพ่นให้ทั่วพื้นที่  1  ไร่

อาการเกิดพิษ  ผู้ได้รับพิษจะมีอาการปวดศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  อ่อนเพลียและวิงเวียน

การแก้พิษ ถ้าพิษเกิดจากการสัมผัสที่ผิวหนัง  ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่จำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ควรทำให้อาเจียนโดยเร็ว  ด้วยการใช้นิ้วล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  (เกลือ  1  ช้อนโต๊ะ  ผสมน้ำอุ่น  1  แก้ว)  แล้วนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที

ข้อควรรู้  ปัจจุบันทางราชการไม่อนุญาตให้นำเข้ามาใช้ทางการเกษตร  และถือเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่  4  ผู้มีไว้ในครอบครองจะมีความผิดตาม  พ.ร.บ.  วัตถุอันตราย  พ.ศ.  2535  มีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน  10  ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

อัลฟาไซเปอร์เมธริน

(alphacypermethrin)

การออกฤทธิ์  เป็นสารไพรีทรอยด์ที่ใช้กำจัดแมลง  ออกฤทธิ์ในทางถูกตัวตายและกินตาย

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  79  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  2,000  มก./กก.  อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังมีอาการระคายเคือง

ศัตรูพืชที่กำจัดได้ ด้วงงวง  แมลงเต่าทอง  หนอนชอนใบ  แมลงวันผลไม้  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยแป้ง  แมลงหวี่ขาว  เพลี้ยกระโดด  หนอนม้วนใบ  หนอนเจาะสมอ  หนอนกระทู้หนอนคืบ  เพลี้ยไฟและแมลงอื่น ๆ

พืชที่ใช้  ส้ม  กาแฟ  ฝ้าย  ไม้ดอก  ไม้ผล  ผัก  ข้าว  ถั่วเหลือง  ชา  ยาสูบและพืชอื่น ๆ

สูตรผสม 10%  อีซี

อัตราการใช้และวิธีใช้  ใช้อัตรา  15  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  พ่นให้ทั่วต้นพืช  เมื่อพบว่ามีแมลงศัตรูพืชระบาด

อาการเกิดพิษ สำหรับผู้แพ้  ถ้าถูกผิวหนังจะมีอาการแสบร้อน  หรือหมดความรู้สึกบริเวณนั้น  อาการจะหายไปเองภายใน  2-3  ชั่วโมง  ถ้าเข้าทางปากจะมีอาการระคายเคืองตามเยื่อบุปาก  จมูก  ลำคอ  ไอ  จาม  คัดจมูก  หายใจขัด  ถ้ารับพิษมากจะมีอาการตัวสั่น  ชักกะตุก

การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนัง  ต้องล้างด้วยน้ำกับสบู่จำนวนมาก ๆ  หากเข้าตา  ต้องล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง หากกลืนกินเข้าไปห้ามทำให้อาเจียนรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที  สำหรับแพทย์  ช่วยให้ผู้ป่วยหายใจสะดวก  ล้างท้องโดยใช้  endotracheal  tube  แล้วให้  activated  charcoal  ตามด้วยโซเดียมซัลเฟททางสายยาง  ระงับอาการตัวสั่น  ชักกระตุก  ด้วยยา  diazepam  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                 

– ใช้กำจัดไรไม่ได้

– เป็นพิษต่อผึ้งและปลา

– ออกฤทธิ์ได้รวดเร็วและมีฤทธิ์ฆ่าไข่แมลงได้ด้วย

อลูมิเนียมฟอสไฟต์

(aluminium  phosphide  or  phostoxin)

การออกฤทธิ์  เป็นสารรมควันพิษกำจัดแมลงศัตรูพืชในโรงเก็บ

ความเป็นพิษ เป็นอันตรายถึงชีวิตทันทีเมื่อหายใจเอาอากาศที่มี  ไฮโดรเจน  ฟอสไฟต์  (hydrogen  phosphide) อยู่  2  ส่วนในล้านส่วนเข้าไปในร่างกาย

ศัตรูพืชที่กำจัดได้  ไข่  ตัวอ่อน  ดักแด้  และ  ตัวแก่ของแมลงศัตรูพืชในโรงเก็บ  เช่น  ด้วงงวงข้าว  มอดข้าวเปลือก  มอดแป้งมอดยาสูบ  มอดฟันเลื่อย  ด้วงงวงข้าวโพด  ด้วงถั่วเขียว  ด้วงถั่วเหลือง  ด้วงกาแฟ  ด้วงขาแดง ด้วงหนังสัตว์  ผีเสื้อข้าวเปลือก  ผีเสื้อข้าวสารและผีเสื้อข้าวโพด

พืชที่ใช้  เมล็ดธัญพืชทุกชนิด  เมล็ดฝ้าย  เมล็ดถั่ว  เมล็ดดอกไม้  เมล็ดทานตะวัน  แป้งต่าง ๆ

สูตรผสม 59%  และ  57%  (เมล็ดกลมและแบน)

อัตราการใช้และวิธีใช้  ชนิดเม็ด  ใช้  6  เม็ดต่อน้ำหนักผลิตผล  1  ตัน  ชนิด  pellet  ใช้  10  เม็ดต่อน้ำหนักผลิตผล  1  ตัน โดยการหยอดเม็ดยาลงไปในแถวของผลิตผลด้วยมือ  หรือถ้าเป็นไซโลอาจใช้เครื่องหยอดเม็ดอัตโนมัติก็ได้

อาการเกิดพิษ  ถ้าได้รับแก๊สเข้าไปเพียงเล็กน้อยจะมีอาการอ่อนเพลีย  หูอื้อ  คลื่นไส้  แน่นหน้าอก  กระสับกระส่าย เมื่อได้รับอากาศบริสุทธิ์  อาการเหล่านี้จะหายไป  ถ้าได้รับแก๊สมากขึ้น  นอกจากแสดงอาการดังกล่าวแล้ว  จะมีอาการอาเจียน  ปวดท้อง  ท้องร่วง  เจ็บหน้าอกและหายใจลำบาก  เนื้อเขียว  ทรงตัวไม่อยู่  โลหิตขาดออกซิเจน  หมดสติและตายทันที

การแก้พิษ ให้รีบนำผู้ป่วยไปอยู่ในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ทันที  พร้อมกับให้นอนนิ่ง ๆ  และให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ให้ยาขับเสมหะและยาแก้ไอ

ข้อควรรู้ 

– ฟอสต๊อกซินจะปล่อยแก๊ส  แอมโมเนียและคาร์บอนได้  อ๊อกไซด์  ออกมาพร้อมกับ  hydrogen phosphide

– แก๊ส  hydrogen  phosphide  เป็นแก๊สไวไฟ

– แก๊สนี้กัดกร่อนทองแดงและโลหะอื่นบางชนิด

– ออกฤทธิ์ช้า  แมลงจะตายหมดภายใน  2-3  วัน

– เป็นพิษอย่างแรงเมื่อหายใจหรือกลืนกินเข้าไป

– ใส่ถุงมือยางหรือพีวีซี  เมื่อจะใช้

– อย่าเปิดภาชนะบรรจุ  ยกเว้นเมื่อต้องการใช้ทันที  ควรเปิดในที่โล่งแจ้งเท่านั้น

– เก็บห่างไกลจากความชื้น  น้ำ  และเป็นที่เย็น-แห้ง  อากาศถ่ายเทได้ดี  ห่างไกลจากไฟและความร้อน

– ก่อนใช้ควรดูบริเวณที่จะใช้ให้แน่ใจว่า  ไม่มีคนหรือ  สัตว์อยู่ในบริเวณใกล้เคียง

อะมิโนคาร์บ

(aminocarb)

การออกฤทธิ์  เป็นสารกำจัดแมลงที่อยู่ในกลุ่มสารคาร์บาเมทออกฤทธิ์ในทางกินตายและถูกตัวตาย

ความเป็นพิษ  มีพิษเฉียบพลัน  (acute oral LD 50)  ทางปาก  (หนู)  30  มก./กก.  ทางผิวหนัง  275  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้  หนอนผีเสื้อต่าง ๆ  และแมลงกัดกินใบ

พืชที่ใช้  ฝ้าย  ยาสูบ  ไม้ผล  และไม้ประดับ

สูตรผสม  50%  และ  75%  ดับบลิวพี

อัตราการใช้และวิธีใช้  ใช้ฉีดพ่นเมื่อพบเห็นแมลงครั้งแรก  ให้ทั่วต้นพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

การแก้พิษ  ใช้ยา  อาโทรปินซัลเฟท

ข้อควรรู้ เป็นอันตรายต่อผึ้ง

อะมิทราช

(amitraz)

การออกฤทธิ์  เป็นสาร  formamidine  ที่ออกฤทธิ์กำจัดได้ทั้งไรและแมลง  ไม่ออกฤทธิ์ในทางดูดซึม  กำจัดไรได้ทุกระยะของการเจริญเติบโต

ความเป็นพิษ  มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (หนู)  800  มก./กก.  ทางผิวหนังมากกว่า  1,600 มก./กก.  มีพิษกับผึ้งน้อยมาก

ศัตรูพืชที่กำจัดได้  ไรแมงมุมแดงและไรอื่น ๆ  เพลี้ยอ่อน  แมลงหวี่ขาวฝ้าย  เพลี้ยหอย  หนอนม้วนใบ  ไข่  และหนอนผีเสื้อระยะแรก  ตัวเบียฬภายนอกของสัตว์เลี้ยง  รวมทั้งเห็บ  เหาและไร

พืชที่ใช้  ส้ม  สวนผลไม้  ไม้ดอก-ไม้ประดับ  สตรอเบอร์รี่  ฝ้าย  และพืชตระกูลแตง

สัตว์ที่ใช้   วัว  ควาย  หมู  แกะ  แพะและสุนัข

สูตรผสม  20%  และ  12.5%  อีซี

อัตราการใช้และวิธีใช้   ชนิด  20%  อีซี  ใช้  80  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  เมื่อพบเห็นว่า  มีแมลงศัตรูพืชรบกวน  สำหรับสัตว์  ใช้ได้ทั้งแบบพ่นบนตัวสัตว์และแบบจุ่ม  โดยให้น้ำยามีความเข้มข้น  0.025-0.05%  สารออกฤทธิ์

การแก้พิษ  ถ้ามีอาการเป็นพิษเกิดที่ผิวหนัง  ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตา  ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ สำหรับยาแก้พิษโดยเฉพาะยังไม่มี  รักษาตามอาการที่ปรากฏ

ข้อควรรู้                 

– เป็นอันตรายต่อปลา

– ไม่เข้ากับสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

– ปลอดภัยต่อแมลงที่เป็นประโยชน์ทั้งหมด

– จะใช้ได้ผลดีเมื่อสภาพอากาศแห้ง  อย่าใช้  ถ้ามีฝน

– มีอันตรายเมื่อถูกผิวหนังและกลืนกินเข้าไป

– ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  2-7  สัปดาห์

อะซาเม็ทธิฟอส

(azamethiphos)

การออกฤทธิ์  เป็นสารกำจัดแมลง  organophosphate  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ  มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  1,180  มก./กก.  อาจทำให้ดวงตาเกิดอาการระเคืองเล็กน้อย

ศัตรูพืชที่กำจัดได้  ไร  เห็บ  เหา  หมัด  ยุง  แมลงวัน  แมงมุม  แมงป่องและด้วง

สถานที่ใช้  คอกไก่  และฟาร์มปศุสัตว์

สูตรผสม  50%  ดับบลิวพี , 10%  ดับบลิวพี , 1%  Bait

อัตราการใช้และวิธีใช้  สำหรับสูตร  50%  ใช้อัตรา  50  กรัมผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ฉีดพ่นบนตัวสัตว์หรือบริเวณผนัง  หลังคา ทากรงหรือคอกสัตว์  อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้

อาการเกิดพิษ ถ้าเข้าตาจะทำให้ระคายเคืองเล็กน้อย  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไปจำนวนมาก ๆ  จะทำให้ cholinesterase  enzyme  ลดต่ำลง  ผู้ป่วยอาจมีอาการวิงเวียนศีรษะ  ปวดท้อง  หายใจไม่สะดวก ม่านตาหรี่  เหงื่อออกมาก  อาการจะทุเลาลงไปได้เองถ้าไม่ได้รับพิษยาเพิ่มขึ้น

การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังหรือเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไป  ทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้างคอ  หรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น ๆ  แล้วนำผู้ป่วยส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษคือ  atropine sulfate  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้  อาจผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่นได้ในขณะที่จะฉีดพ่น

อะซินฟอส-เอ็ทธิล

(azinphos  ethyl)

การออกฤทธิ์  เป็นสารกำจัดแมลง  ออร์กาโนฟอสเฟท  ประเภทถูกตัวตายและกินตาย  เป็น  cholinesterase inhibitor  มีฤทธิ์ตกค้างยาวนาน  และสามารถกำจัดไข่ได้ด้วย

ความเป็นพิษ  มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (หนู)  ประมาณ  17.5  มก./กก.  ทางผิวหนัง ประมาณ  250  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้  หนอนหลอดหอม  หนอนคืบกะหล่ำ  หนอนเจาะสมอสีชมพู  หนอนชอนใบ  หนอนใยผัก  เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง  เพลี้ยจักจั่น  ไรแดง  ไรสนิม  เพลี้ยไฟ  มวนเขียว  มวนดอกรัก  แมลงหวี่ขาว  แมลงปีกแข็งและด้วงต่าง ๆ

พืชที่ใช้  ส้ม  ฝ้าย  องุ่น  สตรอเบอร์รี่  มันฝรั่ง  ข้าว  ไม้ผล  ผักต่าง ๆ  ยาสูบ  กาแฟ  และพืชอื่น ๆ

สูตรผสม 40%  อี.ซี.

อัตราการใช้  อัตราการใช้แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับชนิดของพืช  โดยทั่วไปจะใช้อยู่ในระหว่าง  15-40  ซีซี.  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ควรศึกษาจากฉลากให้แน่นอนก่อนใช้

วิธีใช้  ใช้ก่อนที่แมลงศัตรูจะระบาดหรือทำลายพืชผล  โดยการฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  ใช้ซ้ำเมื่อจำเป็น

อาการเกิดพิษ  ผู้ที่ได้รับพิษจะมีอาการ  ชีพจรเต้นช้า  เหงื่อออกมาก  ม่านตาหรี่  เวียนศีรษะ  เมื่อยตัว  อาเจียน  ท้องร่วง  ปัสสาวะบ่อยครั้ง  ถ้าได้รับพิษมาก ๆ  หัวใจจะหยุดเต้นและเสียชีวิต

การแก้พิษ  ถ้าถูกผิวหนังและมีอาการเป็นพิษ  ให้รีบล้างด้วยน้ำกับสบู่หลาย ๆ  ครั้ง  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำที่สะอาดมาก ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไป  ให้ผู้ป่วยกินยา  อะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  1/100  เกรน  2  เม็ด แล้วรีบนำส่งแพทย์ทันที

ข้อควรรู้                 

– เป็นพิษต่อผึ้งและปลา  มีฤทธิ์ตกค้างยาวนาน  และออกฤทธิ์ ได้กว้างขวาง

– ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  สำหรับสตรอเบอร์รี่ และองุ่น  ใช้ก่อน  5-10  วัน

– ผัก  มันฝรั่ง  และอื่น ๆ  ใช้ก่อน  15-21  วัน

อะซินฟอส-เมทธิน

(azinphos-methyl)

การออกฤทธิ์  เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสเฟท  ประเภทถูกตัวตาย และกินตาย

ความเป็นพิษ  มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (หนู)  5 - 20  มก./กก. ทางผิวหนัง  220  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยหอย  เพลี้ยแป้ง  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยจักจั่น  แมลงหวี่ขาว  มวนต่าง ๆ

พืชที่ใช้  ส้ม  องุ่น  สตรอเบอร์รี่  ฝ้าย  ผักต่าง ๆ  แตงโม  แตงกวา  ถั่ว ยาสูบ  มะเขือเทศ  มันฝรั่ง  หอม  มะเขือ อ้อย  ไม้ผล  ไม้ดอกและไม้ประดับ

สูตรผสม 40%  อีซี

อัตราการใช้และวิธีใช้  โดยทั่วไปใช้ในอัตรา  15-40  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  (ควรศึกษารายละเอียดก่อนใช้)  ใช้ในอัตราที่สม่ำเสมอ  ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืชอย่างละเอียด  และฉีดซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ  ผู้ได้รับพิษจะมีอาการตาพร่ามัว  ชีพจรเต้นช้า  อ่อนเพลีย  วิงเวียนคลื่นไส้  อาเจียน  ท้องเดิน  ปวดเกร็งในช่องท้อง  เหงื่อและน้ำตาออกมาก  ปวดปัสสาวะอย่างฉับพลันและมากกว่าปกติ  แน่นหน้าอก  หายใจขัด  กระตุกตามปลายนิ้วมือและเท้า  ถ้าได้รับพิษมาก ๆ  หัวใจจะหยุดเต้นและตาย

การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยสบู่กับน้ำมาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ  ถ้าผู้ป่วยเกิดพิษเนื่องจากกลืนกินเข้าไปและมีอาการดังกล่าวปรากฏให้เห็น  ให้ใช้ยาถ่ายพวกซาไลน์  เช่น  ดีเกลือ (Epsom  salt)  พร้อมกับให้กินยาอะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  1/100  เกรน  2  เม็ด  แล้วนำส่งแพทย์ทันที  สำหรับยา  ท๊อกโซโกนิน  (Toxogonin)  เป็นยาแก้พิษที่สามารถใช้รักษาร่วมกับอะโทรปินซัลเฟทได้

ข้อควรรู้         

– อย่าให้สัตว์กินพืชที่ใช้สารกำจัดแมลงชนิดนี้

– เป็นพิษต่อปลาและสัตว์ปีกสูงมาก  มีอันตรายต่อผึ้ง

– ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  5-10  วัน  (ส้ม  องุ่น  สตรอเบอร์รี่)

อะโซไซโคลติน

(azocyclotin)

การออกฤทธิ์ เป็นสารประกอบของ  heterocyclic  tin  ที่ใช้ในการกำจัดไร  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  90  มก./กก.  ทางผิวหนังประมาณ  1,000  มก./กก. อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง

ศัตรูพืชที่กำจัดได้  ไรชนิดต่าง ๆ

พืชที่ใช้ องุ่น  ส้ม  ไม้ผล  และพืชผัก

สูตรผสม 25%-50%  ดับบลิวพี

อัตราการใช้และวิธีใช้  ใช้อัตราตามที่กำหนดบนฉลาก  ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้น  เมื่อตรวจพบว่ามีไรกำลังทำลายพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

ข้อควรรู้                   

– เป็นพิษต่อปลา  ไม่เป็นอันตรายต่อผึ้ง

– กำจัดไรได้ทั้งในระยะตัวอ่อนและตัวแก่

– มีฤทธิ์ในการกำจัดแมลงอย่างอื่น

– ผสมได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ

บาซิลลัส  ธูริงกิเอ็นซิส

(Bacillus  thuringiensis)

การออกฤทธิ์  เป็นแบคทีเรีย  (bacteria)  ชนิดหนึ่งที่ทำให้หนอนและแมลงบางชนิดเป็นโรค  และตายในท้ายที่สุด ออกฤทธิ์โดยการทำให้กระเพาะและไส้ของหนอนเป็นอัมพาตและ หยุดกินอาหาร

ความเป็นพิษ  ไม่เป็นอันตรายต่อคน  สัตว์เลี้ยงและแมลงที่เป็นประโยชน์  ปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม

ศัตรูพืชที่กำจัดได้  หนอนกระทู้  หนอนคืบกะหล่ำปลี  หนอนหงอนยาสูบ  หนอนใยผัก  และหนอนผีเสื้ออื่น ๆ

พืชที่ใช้  กะหล่ำปลี  กะหล่ำดอก  บร็อคโคลี่  คื่นฉ่ายและผักอื่น ๆ  ฝ้าย  พืชตระกูลแตง  มะเขือ  หอม  กระเทียม องุ่น  ส้ม  ถั่วต่าง ๆ  มันฝรั่ง  ฟักทอง  สตรอเบอร์รี่

สูตรผสม ชนิดดับบลิวพี.เอฟ  (F)  และชนิดน้ำ  (aqueous)

อัตราการใช้  ศึกษาจากฉลากที่ปิดข้างภาชนะบรรจุ  จะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของสูตรผสม

วิธีใช้  ใช้เมื่อพบเห็นว่ามีแมลงศัตรูพืชครั้งแรก  ให้ใช้ซ้ำทุกอาทิตย์เท่าที่จะจำเป็น  โดยการฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่ ควรใช้ในช่วงตอนเย็นขณะที่มีอากาศร้อน – แห้ง

ข้อควรรู้                   

– สารกำจัดแมลงชนิดนี้  จะมีประสิทธิภาพและออกฤทธิ์ต่อเมื่อหนอนกินเข้าไป  หนอนจะไม่ตายทันทีและยังคงเกาะอยู่บนต้นพืช  หยุดกินอาหารและจะตายภายใน  2-3  วัน

– อย่าปล่อยให้สารละลายที่ใช้ฉีดพ่นอยู่ในถังนานเกินกว่า  12  ชั่วโมง

– อย่าเก็บไว้ในที่มีความร้อนสูงกว่า  90  องศาฟาเรนไฮ

เบ็นดิโอคาร์บ

(bendiocarb)

การออกฤทธิ์  เป็นสารกำจัดแมลงคาร์บาเมท  ที่ออกฤทธิ์ในทางถูกตัวตายและกินตาย  เป็น  cholinesterase inhibitor

ความเป็นพิษ  มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (หนู)  40-120  มก./กก.  ทางผิวหนังมากกว่า 1,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  แมลงหวี่ขาว  หนอนใยผัก  ผีเสื้อมันฝรั่ง  มวนต่าง ๆ  ตัวอ่อนแมลงเต่าทอง ด้วง  ด้วงงวง  ไร  แมลงสาบ  แมลงสามง่าม  ปลวก  แตน  หมัด  ยุง  ศัตรูพืชอื่น ๆ  และศัตรูปศุสัตว์

พืชที่ใช้  มันฝรั่ง  กะหล่ำ  แตงโม  พืชสวนต่าง ๆ  ไม้ดอกไม้ประดับ  รวมทั้งใช้กำจัดแมลงศัตรูในบ้านเรือน

สูตรผสม  20% , 80%  ดับบลิวพี , 10%  จี

อัตราการใช้และวิธีใช้  กำจัดแมลงทั่วไปใช้ในอัตรา  15-25  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ควรอ่านรายละเอียดในฉลากเพิ่มเติมก่อนใช้  ใช้เมื่อปรากฏว่ามีแมลงศัตรูพืช  โดยฉีดพ่นน้ำยาผสมให้ทั่วต้นพืช  ฉีดซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ  ผู้ที่ได้รับพิษจะมีอาการปวดศีรษะ  มึนงง  คลื่นเหียนอาเจียน  ตาพร่า  น้ำลายฟูมปาก  เหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย  เจ็บหน้าอก  เป็นตะคริว  ท้องร่วง  ตัวสั่น  กล้ามเนื้อกระตุก  ถ้าได้รับพิษมาก ๆ  จะหายใจไม่ค่อยออก  ปอดบวม  เกิดอาการกระตุกที่ปลายนิ้วมือและเท้า  และอาจตายเนื่องจากระบบหายใจล้มเหลว

การแก้พิษ  ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยสบู่กับน้ำมาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ  ถ้าพิษเกิดจากการกลืนกินเข้าไปและมีอาการดังกล่าวข้างต้น  ควรให้ยาพวกซาไลน์  เช่น  ดีเกลือ  (epsom  salt)  แก่คนไข้  พร้อมกับให้กินยาอะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  1/100  เกรน  2  เม็ด  แล้วนำส่งแพทย์ทันที สำหรับแพทย์ถ้าคนไข้มีอาการ  ได้รับพิษสูงและรุนแรง  อาจใช้อะโทรปิน  ซัลเฟท  ขนาด  1-2  มก. ฉีดแบบ  IM  ทุก  15  นาที  จนกว่าอาการ  atropinization  จะปรากฏให้เห็น

ข้อควรรู้                

– ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยวกับพืชอาหาร  ทิ้งระยะเก็บอย่างน้อย  14  วัน

– เป็นพิษต่อปลาสูง

– ออกฤทธิ์น๊อคหนอนได้เร็ว  และมีฤทธิ์ตกค้างอยู่ได้นานเกือบ  10  อาทิตย์

เบ็นฟูราคาร์บ

(benfuracarb)

การออกฤทธิ์  เป็นสารกำจัดแมลงคาร์บาเมท  ออกฤทธิ์ในทางถูกตัวตายและกินตาย  มีฤทธิ์ในทางดูดซึม  โดยผ่านทางรากพืช  เป็น  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ  มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (หนู)  138  มก./กก.  (สุนัข)  300  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  มากกว่า  2,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้  หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด  เพลี้ยกระโดด  เพลี้ยอ่อน  หนอนกระทู้  หนอนกอ  บั่ว  เพลี้ยจักจั่น หนอนม้วนใบ  หนอนแมลงวัน  ด้วง  หนอนใบกะหล่ำ  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยหอย  และไส้เดือนฝอย

พืชที่ใช้  ข้าว  อ้อย  มันฝรั่ง  ถั่วเหลืองข้าวฟ่าง  ส้ม  ฝ้าย  ข้าวโพด  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม 20%  และ  30%  อีซี , 3%  G

อัตราการใช้และวิธีใช้   แตกต่างกันออกไปตามพืชที่ใช้  ควรศึกษาให้ละเอียดก่อนใช้  ใช้ผสมน้ำแล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบพืช

อาการเกิดพิษ  ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง  ดวงตา  เมื่อสัมผัสถูก  ถ้ากลืนกินเข้าไปจะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นเหียนอาเจียน  น้ำลายไหลฟูมปาก  เหงื่อออกมาก  กล้ามเนื้อบิดเกร็งกระตุก  ตัวสั่นและหายใจลำบาก

การแก้พิษ  ในกรณีที่เกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยสบู่กับน้ำมาก ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไปให้รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์  ให้ดื่มน้ำก่อน  1-2  แก้ว  แล้วทำให้อาเจียนด้วยการใช้นิ้วล้วงคอ  ถ้าคนไข้หมดสติอย่าทำให้คนไข้อาเจียนหรือให้สิ่งของใด ๆ  ทางปากคนไข้  ถ้าหายใจเอาละอองไอเข้าไป  ให้ย้ายคนไข้ไปอยู่ในที่มีอากาศบริสุทธิ์  สำหรับแพทย์  ห้ามใช้ยาพวกอ๊อกไซม์  (oximes)  เช่น  2-PAM  แต่ให้ใช้อะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  2  มก.  ฉีดเข้าทางเส้นเลือด  (IV)  หรือฉีดใต้ผิวหนังก็ได้

ข้อควรรู้                  

– ไม่มีการจำหน่ายในอเมริกา

– เป็นอันตรายต่อปลาสูง  อย่าปล่อยให้ปะปนกับน้ำในแม่น้ำลำคลอง

– เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง

เบนซัลแท็พ

(bensultap)

การออกฤทธิ์  เป็นสารกำจัดแมลง  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ  มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (หนูตัวผู้)  1,105  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้  ด้วงมันฝรั่ง  หนอนกอข้าว  หนอนกระทู้  หนอนใยผัก  หนอนชอนใบ  ด้วงงวงเจาะสมอ  เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน  และแมลงอื่น ๆ

พืชที่ใช้  ข้าว  ฝ้าย  องุ่น  ข้าวโพด  มันฝรั่ง  ไม้ผล  พืชผักและพืชอื่น ๆ

สูตรผสม  50%  ดับบลิวพี  และ  4% จี

อัตราการใช้และวิธีใช้   ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วทั้งต้นเมื่อตรวจพบว่ามี แมลงศัตรูพืชกำลังทำลายพืชเพาะปลูก  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

ข้อควรรู้                 

– อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังเกิดอาการระคายเคืองได้

– อย่าผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

– ค่อนข้างจะปลอดภัยต่อปลา

– ไม่เป็น  cholinesterase  inhibitor

– หนอนที่ถูกตัวยาจะเคลื่อนไหวได้เชื่องช้าและหยุดกินอาหารและตายในเวลาต่อมา

– ออกฤทธิ์ได้ช้า

เบ็นโซเมท

(benzomate)

การออกฤทธิ์  เป็นสารกำจัดไรที่ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและมีฤทธิ์ตกค้าง

ความเป็นพิษ  มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก   15,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้  ไรชนิดต่าง ๆ ทั้งในระยะที่เป็นไข่และตัวแก่

พืชที่ใช้  ส้ม  องุ่น  และไม้ผลทั่วไป

สูตรผสม  20% อีจี

อัตราการใช้และวิธีใช้   ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วทั้งต้นเมื่อตรวจพบว่ามีไร รบกวนพืชที่ปลูก  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

ข้อควรรู้                   

– ค่อนข้างจะเป็นพิษต่อปลา  แต่ไม่เป็นอันตรายต่อแมลงที่มีประโยชน์

– อย่าผสมกับ EPN  หรือ  Bordeaux

– ผสมได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ

ไบเฟนธริน

(bifenthrin)

การออกฤทธิ์  เป็นสารกำจัดแมลงและไร

ความเป็นพิษ  มีพิษเฉียบพลัน  ทางปาก  (หนู)  375  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้  หนอนชอนใบ  หนอนใยผัก  หนอนเจาะสมอสีชมพู  หนอนเจาะสมอฝ้าย  ไรแดง  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยไก่ฟ้า  แมลงหวี่ขาว

พืชที่ใช้  ส้ม  ฝ้าย  มะเขือเทศมะเขืออื่นๆ  กระถิน

สูตรผสม 10%  อีซี

อัตราการใช้และวิธีใช้  10-30  ซีซี  ผสมน้ำ  20 ลิตร

อาการเกิดพิษ  ถ้าถูกผิวหนัง  ดวงตา จะก่อให้เกิดอาการระคายเคือง ถ้าสูดดมเขาไปจะมีอาการวิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่า และระบบหายใจระคายเคือง ถ้าได้รับปริมาณมากอาจมีอาการชักกระตุก หมดสติและเสียชีวิต

การแก้พิษ  หากถูกผิวหนังต้องล้างด้วยน้ำกับสบู่ หากเข้าตาต้องล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง แล้วไปพบแพทย์ ถ้ากลืนกินเข้าไป ห้ามทำให้อาเจียน รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที พร้อมด้วยฉลากวัตถุมีพิษ  สำหรับแพทย์ ช่วยทำให้ผู้ป่วยหายใจสะดวก โดยการดูแสมหะและให้ออกซิเจน ทำการ้างท้องโดยใช้endotracheal tube เพื่อป้องกัน  chemical  pneumonia  และตามด้วย activated charcoal และยาถ่ายโซเดียมซัลเฟททางสายยาง  หากผู้ป่วยมีอาการชักให้ใช้ยา diazepam 2-5 มก./IV  หรือ IMรักษาตามอาการ

ไบนาพาคริล

(binapacryl)

การออกฤทธิ์  เป็นสารกำจัดไรประเภทดูดซึมและมีประสิทธิภาพในการกำจัดโรคราแป้งได้ด้วย

ความเป็นพิษ   มีพิษเฉียบพลัน  ทางปาก (หนู)  421  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้   ตัวเต็มวัยและไข่ของไรชนิดต่าง ๆ

พืชที่ใช้  ฝ้าย ปอกะเจา ข้าวฟ่าง ถั่ว พริก แตง มะเขือ มะเขือเทศ ชา องุ่น มะม่วง  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม  40 %  อีซี

อัตราการใช้และวิธีใช้  ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมกับน้ำแล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช

อาการเกิดพิษ  อาจเกิดขึ้นภายหลังจากรับพิษโดยทางสัมผัส  สูดดมหรือกินเข้าไป ทางปากเป็นเวลา 2 วัน โดยในระยะแรกจะมีอาการเป็นไข้  ความร้อนสูง  เหนื่อยและไม่มีแรง กระหายน้ำ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกมาก หายใจลำบาก ในระยะหลังจะมีอาการมึนงง ตัวเขียวคล้ำเพราะขาดออกซิเจน กล้ามเนื้อตามตัวจะสั่นกระตุกและหมดสติ บางรายอาจมีอาการปัสสาวะเป็นเลือด ตับไตเป็นแผล พร้อมกับมีอาการดีซ่านตามมา

การแก้พิษ  ถ้าเป็นพิษที่เกิดจากการสัมผัส  ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ หรือจะใช้น้ำยาล้างตาไอโวโทนิคก็ได้ ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไปให้ล้างท้องคนไข้ทันทีด้วยการใช้ยาโซเดียมไบ คาร์โบเนท 5% ถ้ายังล้างท้องไม่ได้ต้องทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการใช้ยา syrup of IPECAC และถ่ายท้องโดยใช้ยา saline cathartics แล้วรักษาด้วยยา Phenobarbitol หรือรักษาตามอาการ

บีพีเอ็มซี

(BPMC)

การออกฤทธิ์  เป็นสารกำจัดแมลง คาร์บาเมท(carbamate)  ออกฤทธิ์ได้ในทางสัมผัสและถูกตัวตาย

ความเป็นพิษ  มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (LD 50)  (หนู)  410 มก./กก.  ทางผิวหนัง  4,200  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้  เพลี้ยจักจั่นสีเขียว  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  เพลี้ยกระโดดหลังขาว  เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก  เพลี้ยจักจั่นมะม่วง  เพลี้ยอ่อนและหนอนเจาะสมอฝ้าย

พืชที่ใช้  ข้าว  มะม่วง  ฝ้าย

สูตรผสม 50% อีซี  2% ฝุ่น  และ  4.5% จี

อัตราการใช้และวิธีใช้  ชนิด 50% อีซี ใช้อัตรา 20-40 ซีซีผสมกับน้ำ 20 ลิตร  กวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืชเมื่อตรวจพบว่ามีแมลงศัตรูพืชระบาด  ฉีดซ้ำได้ตามความจำเป็น  สำหรับสูตรผสมชนิดอื่นให้ใช้ตามคำแนะนำของฉลาก

อาการเกิดพิษ จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง  ดวงตาและเยื่อบุจมูก  ถ้าดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะมีอาการปวดศีรษะ  มึนงง  คลื่นไส้  อาเจียน มีน้ำลายมาก  เหงื่อออก ม่านตาหด  ปวดท้อง  ท้องเดิน  กล้ามเนื้อบิดเกร็ง  พูดและเดินลำบากและมีอาการชัก

การแก้พิษ  ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ ถ้าเข้าปาก ห้ามทำให้คนไข้อาเจียน  รีบนำส่งแพทย์ทันที  สำหรับแพทย์ รักษาคนไข้ด้วยการฉีดยา อาโทรปินซัลเฟท ขนาด 2 มก. เข้าทางเส้นโลหิต  ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจให้ยาได้ถึง 4 มก. แล้วฉีดซ้ำอีก 2 มก. ทุก ๆ 10-15 นาที จนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น ไม่ควรใช้ 2-PAM เพราะจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกตัวช้า

ข้อควรรู้                   

– ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  7-14  วัน

– ปลาจะตายเมื่ออยู่ในน้ำที่มีสารชนิดนี้อยู่ในอัตรา 24-49 ส่วนในล้านส่วน

– ออกฤทธิ์ฆ่าแมลงในทางถูกตัวตาย  พิษตกค้างออกฤทธิ์ได้ดี

– เก็บไว้ในที่แห้ง-เย็น  ห่างไกลจากอาการคนและสัตว์

โบรโมโปรไพเลท

(bromopropylate)

การออกฤทธิ์  เป็นสารกำจัดไร คลอริเนทเต็ด ไฮโดรคาร์บอน  ที่มีฤทธิ์ตกค้างยาวนาน ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสหรือถูกตัวตาย

ความเป็นพิษ  มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (LD 50)  (หนู)  มากกว่า 5,000 มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้  ไรชนิดต่าง ๆ ทั้งหมด

พืชที่ใช้ ส้ม  ไม้ผล  ฝ้าย  ถั่ว  แตง  มะเขือเทศ  ไม้ดอก  ไม้ประดับ  และพืชทั่วไป

สูตรผสม  25% 50% อีซี

อัตราการใช้และวิธีใช้  ใช้ตามคำแนะนำของฉลาก ใช้ผสมกับน้ำ ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้นพืช  เมื่อพบเห็นไรเริ่มทำลายพืช ฉีดพ่นซ้ำได้ตามความจำเป็น

การแก้พิษ  ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

คาร์โบฟูแรน

(carbofuran)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงและไส้เดือนฝอย คาร์บาเมท(carbamate) ประเภทดูดซึม และออกฤทธิ์ได้ในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน  (acute oral LD 50)  ทางปาก(หนู) 11 มก./กก. ทางผิวหนัง(กระต่าย)  10,200  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้ เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  เพลี้ยกระโดดหลังขาว  เพลี้ยไฟ  หนอนม้วนใบข้าว หนอนกระทู้ควายพระอินทร์  หนอนกอลาย  หนอนเจาะสมอ  หนอนกอสีชมพู  หนอนกอสีครีม  ด้วงดีด และไส้เดือนฝอย

พืชที่ใช้ ฝ้าย  ข้าว  ยาสูบ  ถั่วลิสง  มันฝรั่ง  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  อ้อย  ส้ม  ถั่วเหลือง  กล้วย  กาแฟ  ฟักทอง แตง  องุ่น  ผักต่าง ๆ

สูตรผสม 3% 5% จี  20% เอฟ  และ 35% เอสที

อัตราการใช้และวิธีใช้  ชนิด 3% จี กำจัดศัตรูข้าว ใช้ 3-5 กก.ต่อไร่  ฝ้ายใช้ 5-8 กก.ต่อไร่  ถั่วลิสงใช้ 5 กก.ต่อไร่  ผักใช้  5-15 กก.ต่อไร่  อ้อยใช้ 2.5-7.5 กก.ต่อไร่  มันฝรั่ง ใช้ 5-10 กก.ต่อไร่  ยาสูบใช้ 5-7.5 กก.ต่อไร่ ใช้หว่านลงในร่องปลูก  สำหรับสูตรผสมชนิดอื่นให้ใช้ตามคำแนะนำของฉลาก

อาการเกิดพิษ ผู้ที่ได้รับพิษจะมีอาการวิงเวียนและปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  น้ำลายไหล  เหงื่อออกมาก  ปวดที่ช่องท้อง  ท้องร่วง  อาเจียน  และหายใจติดขัด

การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไปต้องทำให้คนไข้อาเจียนโดยเร็ว โดยการใช้นิ้วล้องคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น ๆ แล้วให้ผู้ป่วยกินยา อาโทรปินซัลเฟท ขนาด 1/1000 เกรน  2 เม็ด  แล้วรีบนำส่งแพทย์ทันที ในรายที่มีอาการรุนแรงให้ยาอาโทรปินซัลเฟท ขนาด 2-4 มก. ฉีดเข้าทางเส้นโลหิต ได้ถึง 4 มก. แล้วฉีดซ้ำอีก 2 มก. ทุก ๆ10-15 นาที จนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น แล้วรักษาตามอาการต่อไป

ข้อควรรู้                   

– ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 6  สัปดาห์

– ห้ามผสมกับปูนขาว  lime  sulfer  และ Bordeaux  และสารที่มีสภาพเป็นด่าง

– วิธีใช้ อัตราส่วนและเวลาการใช้แตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของพืช ควรศึกษารายละเอียดก่อนใช้ทุกครั้ง

– เป็นพิษต่อผึ้งและปลา

– ประสิทธิภาพจะลดน้อยลงถ้าสภาพดินแห้ง

– ห้ามใช้คาร์โบฟูแรนภายใน 21 วัน  ในนาข้าวที่กำจัดวัชพืชด้วยโปรพานิลหรือจะใช้ โปรพานิลภายหลังการใช้

– ใช้กับต้นหอมที่เจตนาเพื่อเก็บหัวแก่เท่านั้น

คาร์โบฟีโนไธออน

(carbofenothion)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงและไร ออร์กาโนฟอสเฟท ประเภทไม่ดูดซึม ออกฤทธิ์เมื่อสัมผัสถูกและกินตาย cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน  (acute oral LD 50)  ทางปาก(หนู) 6.8-36.9 มก./กก. ทางผิวหนัง  1,270  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้ เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  ไรต่าง ๆ  หนอนกัดรากข้าวโพด และศัตรู ปศุสัตว์ เช่น เห็บ  เหา  ไร  แมลงวัน  และแมลงศัตรูภายนอกอื่น ๆ

พืชที่ใช้ ถั่ว  ฝ้าย  แตง  องุ่น  ข้าว  ชา  ส้ม  มันฝรั่ง  ข้าวโพด  มะเขือ  หอม  ข้าวฟ่าง  สตอเบอรี่  มะเขือเทศ  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม 47.9 % อีซี

อัตราการใช้และวิธีใช้ กำจัดแมลงทั่วไป ใช้อัตรา 10-20 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร  ควรศึกษารายละเอียดการใช้จากฉลากเพิ่มเติมก่อนใช้  ผสมกับน้ำแล้วฉีดให้ทั่วต้นพืช ใช้ซ้ำตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ ผู้ที่ได้รับพิษจะมีอาการวิงเวียนและปวดศีรษะ  ตื่นเต้น  ตกใจง่าย  ตาพร่า  อ่อนเพลีย  คลื่นไส้ อาเจียน  น้ำมูกและน้ำตาไหล  ผิวหนังเป็นตุ่ม  กล้ามเนื้อกระตุกและไม่มีความรู้สึกทางสัมผัส

การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังหรือเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ หลายครั้ง ถ้ากลืนกินเข้าไปต้องทำให้คนไข้อาเจียนโดยการใช้นิ้วล้องคอหรือให้ดื่มน้ำ เกลืออุ่น ๆ หลังอาเจียนแล้วให้คนไข้กินถ่านยา เพื่อช่วยดูดซับพิษที่หลงเหลือตกค้างอยู่ในกระเพาะ หรือให้คนไข้กินไข่สด ก็จะช่วยให้คนไข้หายเร็วขึ้น อย่าให้คนไข้กินยานอนหลับหรือยาแก้ปวดใด ๆ เพราะจะทำให้มีอาการรุนแรงยิ่งขึ้น ยากที่แก้พิษคือ อาโทรปินซัลเฟท ให้ขนาด 2-4 มก.ฉีดแบบ 1V และฉีดซ้ำทุก 5-10 นาที จนเกิดอาการ atropinization

ข้อควรรู้                   

– ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 7-21 วัน

– ให้พิษตกค้างยาวนาน

– เป็นพิษเมื่อถูกผิวหนังและหายใจเข้าไป

– เป็นพิษต่อผึ้งและปลา

– ไวไฟ

คาร์โบซัลแฟน

(carbosulfan)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงคาร์บาเมท(carbamate)ประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ได้ในทางสัมผัสถูกและกินตาย cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน  (acute oral LD 50)  ทางปาก(หนูตัวผู้) 209 มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้ เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยกระโดด  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยแป้ง  เพลี้ยหอย  แมลงหวี่ขาว  หนอนกอแถบลาย  หนอนกอสีชมพู  หนอนเจาะเถามันเทศ  หนอนเจาะยอดและเจาะผล  ด้วงงวงมันเทศ หนอนกัดรากข้าวโพด  มวนและไส้เดือนฝอย

พืชที่ใช้  อ้อย  ข้าว  แตงโม  มันเทศ  มะเขือยาว  มะเขือเปราะ  พริก  ฝ้าย  ไม้ผล  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  ถั่วเหลือง มันฝรั่ง  ส้ม  พืชผักและพืชไร่อื่น ๆ

สูตรผสม 20% อีซี และ 25% เอสที

อัตราการใช้และวิธีใช้  กำจัดแมลงทั่วไปใช้อัตรา  40-80 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร  ควรศึกษารายละเอียดการใช้จากฉลากเพิ่มเติมก่อนใช้  ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช

อาการเกิดพิษ ผู้ที่ได้รับพิษจะมีอาการวิงเวียนศีรษะ  อ่อนเพลีย  น้ำลายไหล  เหงื่อออกมาก  ตาพร่า  คลื่นไส้ อาเจียน  กล้ามเนื้อสั่นกระตุก  หน้าท้องเกร็ง  ท้องเสียและหายใจขัด

การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไปอย่าทำให้คนไข้อาเจียน เพราะจะเป็นการทำลายระบบหายใจ สำหรับแพทย์ ในกรณีเข้าตาให้หยอดตาคนไข้ด้วย  โฮมาโทรปิน(Homatropine) ในรายที่มีอาการแพ้พิษ  ให้ฉีดด้วยอะโทรปิน 2 มก. เข้าทาง IV หรือ SC แล้วฉีดซ้ำทุก 10-15 นาที  จนผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นแล้วรักษาตามอาการต่อไป  ห้ามใช้ oxime หรือ 2-PPM โดยเด็ดขาด

ข้อควรรู้                   

– ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  15 วัน

– เป็นอันตรายต่อปลา

 คาร์แทพ

(cartap)

การออกฤทธิ์  เป็นสารกำจัดแมลงไธโอคาร์บาเมท(thiocarbamate) ออกฤทธิ์ได้ในทางสัมผัสถูกและกินตาย cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน  (acute oral LD 50)  ทางปาก(หนูตัวผู้) 345 มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้  หนอนกอแถบลาย  หนอนกอสีครีม  หนอนกอหัวดำ  หนอนม้วนใบ  หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด  หนอนชอนใบส้ม  หนอนใยกะหล่ำ  ด้วยงวงเจาะสมอฝ้าย  ด้วงเจาะหัวมันฝรั่ง  หนอนผีเสื้อขาวกะหล่ำ เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  และอื่น ๆ

พืชที่ใช้ ข้าว  ส้ม  มันฝรั่ง  ถั่วต่าง ๆ  องุ่น  ชา  ข้าวโพด  ผักต่าง ๆ  ไม้ผลและพืชอื่น ๆ

สูตรผสม 4% จี และ 50% เอสพี

อัตราการใช้และวิธีใช้  ชนิด  4% จี ใช้อัตรา 4  กก./ไร่  หว่านให้ทั่วพื้นที่ ชนิด  50% เอสพี  ใช้อัตรา  10-20 กรัม ผสมกับน้ำ20 ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืชเมื่อพบเห็นแมลงรบกวนพืชครั้งแรก  ใช้ซ้ำตามความจำเป็น ควรศึกษารายละเอียดการใช้จากฉลากเพิ่มเติมก่อนใช้

อาการเกิดพิษ  ผู้ที่ได้รับพิษจะมีอาการคลื่นไส้  ตัวสั่น  น้ำลายฟูมปาก  กล้ามเนื้อหดเกร็ง  หายใจขัดและม่านตาขยาย

การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไปต้องทำให้คนไข้อาเจียนโดยการใช้นิ้วล้องคอหรือ ให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น ๆ แล้วนำส่งแพทย์ทันที สำหรับแพทย์ sulphydryl  agents เป็นยาแก้พิษ I-cysteine  ใช้ฉีดแบบ IV หรือฉีดด้วยBAL แบบ IM เพื่อรักษาคนไข้

ข้อควรรู้                   

 อาจมีอันตรายต่อฝ้าย

– เป็นพิษต่อปลา, ส่วนในผึ้งเป็นพิษต่ำ

– อย่าผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่นที่มีสภาพเป็นด่าง(alkaline)

– ออกฤทธิ์ช้า  แมลงจะหยุดกินอาหารเมื่อฉีดพ่นถูกตัว

คิโนเม็ทธิโอเนท หรือ อ๊อกซี่ธิโอควิน๊อกซ์

(chinomethionate or oxythioquinox)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลง ไร และเชื้อรา ออร์แกนนิค-ไฮโดรคาร์บอน  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสไม่ดูดซึม

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน  (acute oral LD 50)  ทางปาก(หนู) 2,500-3,000 มก./กก. ทางผิวหนัง(หนู) มากกว่า2000 มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้ ไรชนิดต่าง ๆ แมลงหวี่ขาว หนอนผีเสื้อต่าง ๆ รวมทั้งโรคราแป้ง(powder mildew) พิษตกค้างสามารถกำจัดไข่และตัวเต็มวัยของไรได้ด้วย

พืชที่ใช้ แอปเปิล  เชอรรี่  ส้ม  สตรอเบอร์รี่  ผักต่าง ๆ  ไม้ผล  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม 25% ดับบลิวพี

อัตราการใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก  ผสมน้ำฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืชเมื่อพบว่ามีไร แมลงหรือโรคราแป้งทำลายพืชที่ปลูก  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

ข้อควรรู้                   

– เป็นพิษต่อปลา, ค่อนข้างไม่เป็นพิษต่อผึ้ง

– เป็นพิษต่อกุหลาบถ้าใช้ในสภาพที่มีอากาศร้อน

 คลอร์เฟนวินฟอส

(chorfenvinphos)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสเฟท  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสถูกและในทางหายใจ  ผลของพิษตกค้างยาวนาน cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน  (acute oral LD 50)  ทางปาก(หนู) 10-39 มก./กก. ทางผิวหนัง(กระต่าย) 400-700มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้ หนอนแมลงวัน  หนอนกัดราก  หนอนคืบ  หนอนกระทู้  หนอนเขียว  หนอนม้วนใบ  ด้วงเง่ากล้วย แมลงวันผลไม้  เพลี้ยจักจั่น  หนอนกอ  หนอนเจาะต้นอ้อย  เห็บ  เหา  หมัด  และ screwworm

พืชที่ใช้ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก คะน้า  หอม  ถั่ว  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  ข้าว  มันฝรั่งและใช้ในทางปศุสัตว์

สูตรผสม 10% จี และ 24% อีซี

อัตราการใช้และวิธีใช้ ชนิด  24% อีซี ใช้อัตรา 30-50  ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  ชนิด 10% จี ใช้อัตรา 1-1.5  กก./ไร่  หว่านให้ทั่วพื้นที่  ควรศึกษารายละเอียดการใช้จากฉลากเพิ่มเติมก่อนใช้  ในทางปศุสัตว์ใช้ได้โดยการฉีดพ่นบนตัวสัตว์และผสมน้ำให้สัตว์อาบหรือจุ่ม

อาการเกิดพิษ จะมีอาการคลื่นไส้  ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย  ตาลาย  แน่นหน้าอก  หายใจไม่ออก  ปวดท้อง  อาเจียน และมีเหงื่อออกมาก

การแก้พิษ ให้รีบนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ใช้ไปอยู่ในที่มีอากาศบริสุทธิ์  เช็ดตัวและหน้าคนไข้แล้วให้กินยาอะโทรปิน ซัลเฟท ขนาด 1/100 เกรน 2 เม็ด แล้วนำผู้ป่วยส่งแพทย์ toxogonin เป็นยาที่ใช้แก้พิษได้

ข้อควรรู้                   

– ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 21 วัน

– เป็นพิษเมื่อถูกกับผิวหนังหรือกลืนกินเข้าไป ทำให้ผิวหนังและดวงตาระคายเคือง

– เป็นอันตรายต่อปลา พิษตกค้างไม่เป็นอันตรายต่อผึ้ง

– สามารถผสมได้กับสารกำจัดศัตรูพืชเกือบทั้งหมด

– ให้ผลในการควบคุมเป็นระยะเวลา 2-3 สัปดาห์

คลอร์ฟลูอะซูรอน

(chlorfluazuron)

การออกฤทธิ์ เป็นสารระงับการเจริญเติบโตของแมลง ทำให้ไม่ลอกคราบหรือ chitin inhibitor

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน  (acute oral LD 50)  ทางปาก(หนู) มากกว่า 8,500 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) มากกว่า 1,000 มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้ หนอนใยผัก  หนอนหนังเหนียว  หนอนกระทู้  หนอนคืบ  หนอนกินใบ  หนอนเจาะสมอ  หนอนเจาะฝัก  หนอนกัดกินดอก  และหนอนผีเสื้ออื่น ๆ

พืชที่ใช้ ผักตระกูลกะหล่ำ  หอม  หริก  ฝ้าย  ไม้ผล  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่ว ๆ ไป

สูตรผสม 5% อีซี

อัตราการใช้และวิธีใช้  ทั่ว ๆ ไปใช้อัตรา 15-30 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร  ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช ควรศึกษารายละเอียดการใช้จากฉลากเพิ่มเติมก่อนใช้

อาการเกิดพิษ ในกรณีที่กลืนกินเข้าไป  อาจมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนได้

การแก้พิษ ในกรณีที่มีอาการระคายเคืองที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไปไม่มียาแก้พิษโดยตรงให้รักษาตามอาการที่ปรากฏ

คลอร์ไพรีฟอส

(chlorpyrifos)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสเฟท ประเภทไม่ดูดซึม ออกฤทธิ์ได้ในทางสัมผัสและกินตาย  เป็นcholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน  (acute oral LD 50)  ทางปาก(หนู) 97-276 มก./กก. ทางผิวหนัง(กระต่าย) 2,000 มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้ เพลี้ยอ่อน  มด  หนอนใยผัก  หนอนผีเสื้อขาวกะหล่ำ  หนอนกระทู้ต่าง ๆ  หนอนเจาะสมอสีชมพู หนอนกอลาย  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยกระโดด  ไรแดง  ไรสนิมส้ม  เพลี้ยหอย  เพลี้ยแป้ง  แมลงวันทอง  แมลงหวี่ขาว  ด้วงงวงเจาะสมอ

พืชที่ใช้ ผักต่าง ๆ ข้าวโพด  ฝ้าย  ถั่วลิสง  ถั่วเหลือง  มันฝรั่ง  ข้าว  อ้อย  ยาสูบ  ส้ม  สตรอเบอร์รี่  แอสปารากัส ไม้ผล  มะเขือเทศ  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม 20% อีซี, 40% อีซี, 2.5% จี

อัตราการใช้และวิธีใช้ ชนิด  20% อีซี  ใช้อัตรา  25-90 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร  ผสมน้ำกวนให้เข้ากันดีฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช ควรศึกษารายละเอียดการใช้จากฉลาก เพิ่มเติมก่อนใช้

อาการเกิดพิษ  จะมีอาการเซื่องซึม  ตาพร่า  ช่องท้องปวดเกร็ง  แน่นหน้าอก  กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ย  ปวดศีรษะ หายใจขัด ม่านตาหรี่ น้ำลายไหล คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง เหงื่อออกมาก และตัวสั่นผู้ที่ได้รับพิษจะมีอาการคลื่นไส้  ตัวสั่น  น้ำลายฟูมปาก  กล้ามเนื้อหดเกร็ง  หายใจขัดและม่านตาขยาย

การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไปให้รีบนำส่งแพทย์ทันที สำหรับแพทย์ ยาแก้พิษที่ใช้ คือ อะโทรปิน ซัลเฟท

ข้อควรรู้                  

– ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 7-14 วัน

– เป็นพิษต่อปลา อันตรายกับผึ้ง  ไม่ควรใช้ในระยะที่ต้นไม้ออกดอก

– อย่าผสมกับสารที่มีสภาพเป็นด่าง  และไม่เข้ากับซีเน็บ

– มีฤทธิ์ตกค้างสั้นเมื่อฉีดพ่นใบพืช

– ไวไฟ

คลอร์ไพรีฟอส-เม็ทธิล

(chlorpyrifos-methyl)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสเฟท ประเภทไม่ดูดซึม ออกฤทธิ์ได้ในทางสัมผัสและกินตาย  และไอระเหยมีพิษ  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน  (acute oral LD 50)  ทางปาก(หนู) 2,000-3,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้ แมลงศัตรูในบ้านเรือนและโรงเก็บผลิตผลทางการเกษตร  แมลงวัน  ยุง  และแมลงศัตรูพืช  ผลไม้และผัก

พืชที่ใช้ เมล็ดพืชในโรงเก็บ  ผักต่าง ๆ ฝ้าย  ส้ม  องุ่น

สูตรผสม 50% อีซี

อัตราการใช้และวิธีใช้ ตามคำแนะนำในฉลาก

การแก้พิษ  อะโทรปิน ซัลเฟท

ข้อควรรู้

– เป็นพิษต่อปลา

– มีพิษตกค้างระยะสั้นเมื่อฉีดพ่นใบพืช

– อาจใช้ฉีดพ่นกำจัดแมลงศัตรูพืชในโรงเก็บก่อนใช้เก็บผลผลิตได้

– ทำให้ดวงตาและผิวหนังเกิดอาการระคายเคือง

– ไวไฟ

คลอโรเบ็นชิเลท

(chlorobenzilate)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดไรออร์กาโนคลอรีน ที่ออกฤทธิ์ได้ในทางสัมผัสแต่ไม่ดูดซึม

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน  (acute oral LD 50)  ทางปาก(หนู) 702 มก./กก. ทางผิวหนัง(หนู)มากกว่า 5,000 มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้ ไรทุกชนิด

พืชที่ใช้ ส้ม  องุ่น  ถั่วเหลือง  ฝ้าย  ชา  พุทรา  สตรอเบอร์รี่  และผักต่าง ๆ

สูตรผสม 25% อีซี และดับบลิวพี

อัตราการใช้และวิธีใช้ ชนิด  25% อีซี  ใช้อัตรา  20-40 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร  ผสมน้ำกวนให้เข้ากันดีฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช ควรศึกษารายละเอียดการใช้จากฉลาก เพิ่มเติมก่อนใช้

อาการเกิดพิษ ผู้ได้รับพิษจะมีอาการมึนงง  ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  อาการชาเกิดขึ้นบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย กล้ามเนื้อกระตุก  ตาโปน  สั่น  ชักเกร็ง  และชักกระตุก  ถ้ากลืนกินเข้าไปจะมีอาการคลื่นไส้  อาเจียน  ถ้ารุนแรงจะมีอาการตัวซีด  และคล้ำ  เพราะขาดออกซิเจน และหมดสติ

การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังและเกิดพิษให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ ถ้าเข้าปากให้รีบนำส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ทำให้คนไข้อาเจียน โดยใช้ยา Syrup of IPECAC 30 ซีซี  แล้วให้กินถ่านยาแอ๊คติเวทเต็ดชาโคล เพื่อดูดซับพิษ หากอาการไม่ดีขึ้น  ให้ล้างท้องด้วย Isotonic salineหรือ Sodium bicarbonate 5% แล้วรักษาตามอาการ

ข้อควรรู้

– ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 21 วัน

– เป็นพิษกับสัตว์เลือดอุ่นเล็กน้อย  ปลอดภัยกับแมลงที่เป็นประโยชน์

– ผสมได้กับสารกำจัดแมลงและสารกำจัดเชื้อราอย่างอื่นได้ ยกเว้นชนิดที่มีสภาพเป็นด่างสูง

– อย่าใช้กับไม้ดอก ไม้ประดับในสภาพที่มีอากาศร้อนเกิน 32 องศาเซลเซียส

คลอเฟนทีซิน

(chlofentezine)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดไข่และไร เท็ทตราซิงค์(tetrazinc) ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน  (acute oral LD 50)  ทางปาก(หนู)มากกว่า 3,200 มก./กก. ทางผิวหนัง(หนู)มากกว่า1,332  มก./กก.ทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง

ศัตรูพืชที่กำจัดได้ ไรทุกชนิด

พืชที่ใช้ แอปเปิล  ส้ม  ฝ้าย  แตงกวา  แตงโม  พริกไทย  องุ่น  ผักต่าง ๆ และไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม 50% อีซี  และ 50% ดับบลิวพี

อัตราการใช้และวิธีใช้  ศึกษาจากฉลาก

การแก้พิษ  ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการที่ปรากฏ

ข้อควรรู้                   

– เป็นสารกำจัดแมลงที่มีการเจาะจงในการกำจัดไข่และไรในระยะตัวอ่อนได้ดีเป็นพิเศษ

– ปลอดภัยกับผึ้ง และแมลงที่เป็นประโยชน์

– ออกฤทธิ์ช้า

– ให้ผลดีในระยะ  10-12 อาทิตย์

คูมาฟอส

(coumaphos)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสเฟท  ประเภทดูดซึม

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (หนู)  ประมาณ  56-230  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้ เหา  เห็บ  หมัด  ขี้เรื้อน  แมลงวัน  เหลือบ  ตัวเบียฬภายนอกตัวสัตว์  screwworm  ไรไก่  ยุง  และแมลงศัตรูปศุสัตว์อื่น ๆ

สัตว์ที่ใช้ แพะ  แกะ  ม้า  หมู  สุนัข  ไก่  และเป็ดและโรงเรือน

สูตรผสม 25%  ดับบลิวพี  ,  1%  และ  5%  ฝุ่น

อัตราการใช้และวิธีใช้ ศึกษารายละเอียดจากฉลาก

การแก้พิษ อะโทรปินซัลเฟท  หรือ  2-PAM  ร่วมกับอะโทรปิน

ข้อควรรู้                   

– อย่าฉีดพ่นกับสัตว์ที่อยู่ในกรงและที่ที่มีอากาศถ่ายเทไม่ดี

– อย่าใช้กับสัตว์ป่วยหรือลูกสัตว์ที่มีอายุน้อยกว่า  3 เดือน

– ใช้ป้องกัน screwworm ได้  10-20  วัน

ไซอาโนฟอส

(cyanophos)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสเฟท

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (หนูตัวเมีย)  610  มก./กก.  (หนูตัวผู้)  580  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  2,500  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้ หนอนเขียวผัก  หนอนกระทู้กะหล่ำ  หนอนใย  หนอนแมลงวันหอม  เพลี้ยอ่อน  แมลงเต่าทอง หนอนเจาะฝักถั่ว  แมลงวันบ้าน  ยุง  แมลงสาบ  เรือด  และแมลงศัตรูพืชอื่น ๆ

พืชที่ใช้  พืชตระกูลกะหล่ำ  ไม้ผล  มันฝรั่ง  มะเขือ  ถั่วเหลือง  ยาสูบ  และผักต่าง ๆ รวมทั้งในบ้านเรือน

สูตรผสม 50%  อีซี.

อัตราการใช้และวิธีใช้ ศึกษารายละเอียดจากฉลาก

ข้อควรรู้                   

– ไม่กำจัดไร

– เป็นพิษต่อปลาปานกลาง  เป็นพิษต่อผึ้ง

– ออกฤทธิ์น๊อคแมลงได้เร็ว

ไซอาโนเฟ็นฟอส

(cyanofenphos)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสเฟต  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส  กินตาย  และในทางหายใจ

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (หนู)  89  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  2,000 มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้ หนอนกอชนิดต่าง ๆ  หนอนใยผัก  หนอนคืบ  หนอนกระทู้  หนอนม้วนใบ  หนอนเจาะสมอ  แมลง  บั่ว เพลี้ยจักจั่นชนิดต่าง ๆ  เพลี้ยกระโดด  แมลงหวี่ขาว  มวนเขียว  หนอนแมลงวันเจาะยอด  ข้าวฟ่าง เพลี้ยอ่อน  ด้วงงวงเจาะสมอ  และอื่น ๆ

พืชที่ใช้  ฝ้าย  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  ชา  ยาสูบ  องุ่น  ข้าว  ถั่วเหลือง  และผักต่าง ๆ

สูตรผสม  25%  อีซี.

อัตราการใช้  ผักและถั่วเหลืองใช้อัตรา  20-40  ซีซี.  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ฝ้าย  ข้าวโพดและข้าวฟ่าง  ใช้อัตรา  40-60  ซีซี.  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร

วิธีใช้ ผสมกับน้ำกวนให้ผสมกันดีแล้ว  ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ ทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนังและดวงตา  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไปจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน  อ่อนเพลีย  เวียนศีรษะ  ตาพร่า  แน่นหน้าอก  หายใจขัด  หน้าท้องเกร็ง  ท้องเดิน  น้ำลายไหล  น้ำตาและเหงื่อออกมาก  มือและเท้าสั่น  ม่านตาหรี่  เนื้อตัวเขียวคล้ำ  ในขั้นรุนแรงจะมีอาการชักระบบหายใจล้มเหลวและตาย

การแก้พิษ เมื่อเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไปให้รีบนำส่งแพทย์ทันที  สำหรับแพทย์ให้ใช้ยา  2-PAM  ขนาด  1-2  มก.  ฉีดแบบ  IV หรือ  IM  ช้า ๆ ร่วมกับน้ำยา  isotonic  saline  5%  ถ้ามีอาการชักอยู่อีกให้ฉีดซ้ำภายใน  10-12 ชม.  ถ้าคนไข้มีอาการ  cyanosis  ควรให้  atropine  sulplets  ขนาด  2-4  มก.  และให้ซ้ำจนกว่าอาการจะหมดไป

ข้อควรรู้                   

– เป็นพิษต่อปลาและผึ้ง

– เป็นพิษต่อสัตว์เลือดอุ่นน้อย

ไซฮาโลธริน

(cyhalothrin)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงไพรีทรอยด์  ประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ ชนิด  Technical  Grade  มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (หนูตัวผู้)  79  มก./กก. (หนูตัวเมีย)  56  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนูตัวเมีย)  696  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้ เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยจักจั่น  แมลงหวี่ขาว  ด้วงหมัดกระโดด  หนอนใยผัก  หนอนกระทู้  หนอนคืบ  หนอนกินใบและดอก  หนอนเจาะฝัก  หนอนม้วนใบ  หนอนเจาะสมอ  และหนอนผีเสื้ออื่น ๆ รวมทั้งไรชนิดต่าง ๆ

พืชที่ใช้  ผักต่าง ๆ  หอม  มะเขือเทศ  แตง  ถั่วชนิดต่าง ๆ  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  มะม่วง  ส้ม  ไม้ผลอื่น ๆ และไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม 2.5%  และ  5%  อีซี.

อัตราการใช้  ชนิด  2.5%  อีซี.  ใช้อัตรา  8-16  ซีซี.  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ชนิด  5%  อีซี.  ใช้อัตรา  8-16  ซีซี. ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  สำหรับฝ้ายกับพืชทั่วไป  ใช้อัตรา  15-20  ซีซี.  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ศึกษารายละเอียดการใช้จากฉลากเพิ่มเติมก่อนใช้

วิธีใช้  ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช

อาการเกิดพิษ เมื่อสัมผัสถูกผิวหนังอาจมีอาการระคายเคืองเป็นผื่นคันในรายที่แพ้อาจมี อาการคัดจมูกกล้ามเนื้อกระตุก  ชัก  ถ้าแพ้มากอาจมีอาการรุนแรง  คนไข้อาจหมดสติ  โดยทั่วไปอาการพิษที่เกิดขึ้นจะไม่แน่นอน

การแก้พิษ  ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไป  ห้ามทำให้ผู้ป่วยอาเจียน  ให้ผู้ป่วยดื่มนมสด  1  แก้ว  แล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ให้ล้างท้องคนป่วยด้วยน้ำหรือน้ำเกลือธรรมดา  แล้วให้ยา  diazepam  ขนาด  2-5  มก.  โดยฉีดแบบ  IV  หรือ  IM และฉีดซ้ำทุก  2  ชม.  ถ้าผู้ป่วยมีอาการชัก  หรือหายใจไม่ออก  ควรให้ออกซิเจนช่วย

ข้อควรรู้  ใช้กำจัดแมลงศัตรูภายนอกของวัว  และแกะได้

ไซฟลูธริน

(cyfluthrin)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงไพรีทรอยด์  ประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (หนูตัวผู้)  540  มก./กก.  (หนูตัวเมีย)  1,189  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  มากกว่า  5,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้ หนอนกระทู้หอม  หนอนม้วนใบ  หนอนคืบ  หนอนเจาะสมอชนิดต่าง ๆ  หนอนชอนใบ  หนอนใยผัก หนอนผีเสื้อยาสูบ  แมลงสามง่าม  แมลงสาบ  ปลวก  ยุง  ด้วงงวง  แมลงวัน  มด

พืชที่ใช้ ฝ้าย  ส้ม  องุ่น  ยาสูบ  ข้าว  ข้าวโพด  ถั่วเหลือง  มันฝรั่ง  มะเขือเทศ  และผักต่าง ๆ

สูตรผสม  5% และ 10%  อีซี.

อัตราการใช้และวิธีใช้ กับผักต่าง ๆ ใช้อัตรา  15  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  องุ่น  ฝ้าย  และพืชอื่น ๆ ใช้อัตรา  5-10  ซีซี ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ จะมีอาการกล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน  ทำให้การเคลื่อนไหวผิดปรกติ  หายใจขัด  เซื่องซึม

การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไปให้รักษาตามอาการที่ปรากฏ  ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  ห้ามคนไข้รับประทาน  นม น้ำมัน  ไขมันและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่

ข้อควรรู้                   

– ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  7-14  วัน

– เป็นพิษต่อปลาและผึ้ง

– ใช้ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่นได้

– ออกฤทธิ์เร็ว

ไซเปอร์มีธริน

(cypermethrin)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงไพรีทรอยด์  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส  และกินตาย

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (หนู)  200  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  มากกว่า 1,600  มก./กก.  ทำให้ผิวหนังและดวงตาเกิดอาการระคายเคือง

ศัตรูพืชที่กำจัดได้ หนอนเจาะสมออเมริกัน  หนอนเจาะสมอสีชมพู  หนอนคืบ  หนอนใยผัก  หนอนกระทู้หอม  หนอนกระทู้ควายพระอินทร์  และหนอนผีเสื้ออื่น ๆ  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไก่แจ้  เพลี้ยไฟ  มวนแดง

พืชที่ใช้  ข้าว  ส้ม  ยาสูบ  ฝ้าย  องุ่น  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  กาแฟ  ถั่วเหลือง  ไม้ผล  ผักต่าง ๆ  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่ว ๆ ไป

สูตรผสม 10% ,15%  และ 25% อีซี.

อัตราการใช้และวิธีใช้  แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ความเข้มข้นและชนิดของพืช  ให้ศึกษารายละเอียดอัตราการใช้จากฉลาก ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ  ถ้าได้รับปริมาณมากอาจทำให้มีอาการตัวสั่น  กล้ามเนื้อกระตุกแขนขาไม่มีแรง  และอาจถึงกับเป็นอัมพาต  สำหรับผู้แพ้เมื่อถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการคันเป็นผื่นแดง

การแก้พิษ ถ้ากลืนกินเข้าไปอย่าทำให้อาเจียนหรือให้ของเหลวใด ๆ แก่คนไข้  ให้คนไข้นอนเหยียดคว่ำ  แล้วนำส่งแพทย์ทันที  ถ้าถูกตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ ทันที  อย่างน้อย  15  นาที  ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ สำหรับแพทย์ให้ล้างท้องคนไข้ด้วย  sodium  bicarbonate  5% แล้วฉีด  diazepam  ขนาด  2-5  มก.  แบบ  IV  หรือ  IM  ถ้าจำเป็นอาจฉีดซ้ำได้ทุก ๆ  2  ชม.  ถ้าคนไข้หายใจไม่ออกต้องให้ออกซิเจนแล้วฉีดอะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  1-2  มก.ทุก  30  นาที รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                  

– เป็นพิษต่อปลาและเป็นอันตรายกับผึ้ง  ไม่ควรใช้ในระยะที่พืชออกดอก

– ออกฤทธิ์น๊อคแมลงได้เร็วและมีความคงตัวดี

– ผลในการกำจัดส่วนใหญ่ได้รับจากการที่ตัวยาถูกตัวหนอน  เมื่อใช้กับพืชที่มีการเพาะปลูกหนาแน่น  จึงควรเพิ่มปริมาณฉีดพ่น

– อัตราและช่วงเวลาการใช้เปลี่ยนแปลงไปตามชนิดของพืช  ซึ่งควรศึกษารายละเอียดก่อนใช้ทุกครั้ง

– แมลงที่ต้านทานสารกำจัดแมลงกลุ่ม  ออร์กาโนฟอสเฟทและออร์กาโนคลอรีน  ส่วนมากจะแพ้สารกำจัดแมลงชนิดนี้

– ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยวไม่มี

ไซโรมาซีน

(cyromazine)

การออกฤทธิ์ เป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตของหนอนแมลง  โดยไม่ให้หนอนลอกคราบเจริญเป็นตัวเต็มวัย

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (หนู)  มากกว่า  5,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู) มากกว่า  2,000  มก./กก.  ทำให้ดวงตาและผิวหนังเกิดอาการระคายเคืองเล็กน้อย

ศัตรูพืชที่กำจัดได้ ใช้ควบคุมการเจริญเติบโตของหนอนแมลงวันโดยเฉพาะ

สถานที่ใช้ กองมูลสัตว์ในคอกสัตว์เลี้ยง  ไก่  หมู  และวัว

สูตรผสม 25%  ดับบลิวพี

อัตราการใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา  250  กรัม  ผสมกับน้ำ  10  ลิตร  เมื่อใช้ฉีดโดยวิธีฉีดพ่นหรือราด  ถ้าใช้โดยวิธีโรยหรือหว่านให้ใช้อัตรา  250  กรัม / 1  ตารางเมตร  ก่อนใช้ควรอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลาก

อาการเกิดพิษ เมื่อถูกผิวหนังมาก ๆ จะทำให้ผิวหนังระคายเคือง  หรือถ้าพิษเข้าสู่ร่างกายมาก ๆ จะมีอาการคลื่นไส้ หายใจขัด   กล้ามเนื้อกระตุก  และจะกลับคืนสู่สภาพปรกติได้ภายใน  2-3  วัน  หลังจากที่สารพิษถูกขับออกทางปัสสาวะ

การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำที่สะอาดหลาย ๆ ครั้ง  ถ้ากลืนกินเข้าไปทำให้อาเจียนโดยการดื่มน้ำเกลืออุ่นหรือล้วงคอ  รักษาตามอาการ

ดี ดี ที

(D D T)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนคลอรีน  ออกฤทธิ์ทั้งในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (คน)  250  มก./กก.  (หนู)  113  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้ ใช้กำจัดแมลงได้อย่างกว้างขวาง

พืชที่ใช้ ปัจจุบันห้ามใช้กับพืชทุกชนิด ใช้ได้เฉพาะในการกำจัดยุงที่เป็นพาหะนำเชื้อไข้มาเลเรียเท่านั้น

สูตรผสม 75%  ดับบลิวพี

ข้อควรรู้                   

– เป็นอันตรายต่อพืชตระกูลแตง

– มีการสะสมอยู่หน้าผิวดินและสะสมในไขมันสัตว์และคน

– มีความคงตัวสูงและคงสภาพอยู่ได้นาน

– เมื่อใช้ไปนาน ๆ แมลงจะเกิดความต้านทาน

– ปัจจุบันอนุญาตให้นำเข้าและใช้เฉพาะในทางสาธารณสุขเท่านั้น  ไม่อนุญาตให้นำเข้ามาใช้ในทางการเกษตร

เดลต้ามีธริน  หรือดีคามีธริน

(deltamethrin  or  decamethrin)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงไพรีทรอยด์  ประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  128  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  มากกว่า  2,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้ หนอนเจาะสมอฝ้าย  หนอนกระทู้  หนอนคืบกินใบฝ้าย  หนอนม้วนใบ  หนอนใยผัก  หนอนผีเสื้อขาว หนอนแก้วส้ม  หนอนชอนใบ  หนอนเจาะลำต้น  หนอนกอสีชมพู  หนอนกระทู้หอม  มวนแดง  มวนเขียว  เพลี้ยไฟ  ด้วงงวงและเพลี้ยอ่อน

พืชที่ใช้ ฝ้าย  มะเขือเทศ  ส้ม  ข้าว  ข้าวโพด  ยาสูบ  พริก  อ้อย  ถั่วต่าง ๆ  ผักตระกูลกะหล่ำ  กระเทียมและหอม

สูตรผสม 3% , 5%  อีซี  0.5%  ยูแอลวี  2.5%  ดับบลิวพี

อัตราการใช้และวิธีใช้ ชนิด  3%  อีซี  เมื่อใช้กับพืชทั่วไป  ใช้อัตรา  5-10  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  เมื่อใช้กับฝ้าย  ข้าว ยาสูบ  พริก  ให้ใช้อัตรา  10-15  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  สำหรับสูตรผสมชนิดอื่นให้ศึกษารายละเอียดอัตราการใช้จากฉลาก  ควรผสมให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  ฉีดซ้ำได้ตามความจำเป็น  จะให้ผลในการคุ้มกันประมาณ  7-21  วัน

อาการเกิดพิษ  ถ้าถูกผิวหนังหรือดวงตาจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง  ถ้าดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน  แน่นหน้าอก  หายใจไม่ออก  ความดันโลหิตต่ำ  หัวใจเต้นช้าลง  แล้วตามด้วยการมีความดันโลหิตสูง  หัวใจเต้นเร็วมีอาการทางประสาท  ตกใจง่าย  ซึม  ตัวสั่นและชักกระตุก

การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง  ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไปให้รีบนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์ทำให้คนไข้อาเจียนแล้วให้รับประทานยาลดกรด  2-3 วัน  ในรายที่มีอาการทางประสาท  ให้ยาบาร์บิทูเรท  ที่ออกฤทธิ์ปานกลางฉีดเข้ากล้ามเนื้อ  หรือ  IV ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                   

– เป็นพิษต่อปลาและสัตว์น้ำอย่างอื่น

– เป็นพิษต่อผึ้ง  จึงไม่ควรใช้ในระยะที่ต้นไม้กำลังออกดอก

– เป็นพิษต่อแมลงวันบ้านมากกว่าไพเรธรินประมาณ  1,000  เท่า

– ออกฤทธิ์เร็ว  ขับไล่แมลงได้เล็กน้อย

– คงตัวอยู่ได้ประมาณ  3-4  สัปดาห์  มีประสิทธิภาพในการกำจัดหนอนแมลงปากดูดได้ดี

– ประสิทธิภาพและความคงตัวอาจลดลงได้ในสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงกว่า  35  องศาเซลเซียส

ไดอะลิฟอส

(dialifos)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสเฟท  ออกฤทธิ์เมื่อกินเข้าไปและเมื่อสัมผัสถูกไอเป็นพิษเมื่อหายใจเข้าไป

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  43-53  มก./กก.  (Technical  grade)  ชนิด  40%  อีซี  มีพิษเฉียบพลันทางปาก  62  มก./กก.  ทางผิวหนัง  145  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้ หนอนเจาะสมอฝ้ายและหนอนผีเสื้ออื่น ๆ  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยแป้ง  เพลี้ยไฟ  แมลงหวี่ขาว  ไรสนิมและไรแดง

พืชที่ใช้ ส้ม  องุ่น  ฝ้ายและผักต่าง ๆ

สูตรผสม  40%  อีซี

อัตราการใช้และวิธีใช้ โดยทั่วไปใช้อัตรา  25-50  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตรกวนให้เข้ากันดี  แล้วใช้ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  ควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลาก

อาการเกิดพิษ เมื่อได้รับพิษไม่ว่าจะโดยทางปาก  ผิวหนังหรือสูดดมเข้าไป  จะมีอาการมึนงง  ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย ม่านตาหรี่  ตาพร่า  คลื่นไส้  อาเจียน  แน่นหน้าอก  ปวดท้องเกร็ง  น้ำตาและน้ำลายไหล  เหงื่อออกมาก  กล้ามเนื้อกระตุก  ตัวเขียวคล้ำขาดออกซิเจน

การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ  ถ้าเข้าปากและมีอาการเป็นพิษรุนแรง  ให้คนไข้กินยา  อะโทรปินซัลเฟท  1/100  เกรน  2  เม็ด  แล้วนำคนไข้ส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ให้ฉีดอะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  2-4  มก.แบบ  IV  ให้กับคนไข้  และฉีดซ้ำทุก  5-10  นาที จนกว่าอาการจะดีขึ้นหรือเกิดอาการ  atropinization  ในรายที่อาการไม่ดีขึ้นอาจให้ยา  2-PAM  ร่วมกับอะโทรปินซัลเฟทได้  แล้วรักษาตามอาการ

ข้อควรรู้ ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  7  วัน

ไดอะซิโนน

(diazinon)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสเฟท  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase inhibitor

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  300-400  มก./กก.  ทางผิวหนัง  3,600  มก./กก.  เป็นอันตรายเมื่อสัมผัสถูก  หายใจและกินเข้าไป

ศัตรูพืชที่กำจัดได้ หนอนกอ  หนอนกระทู้  หนอนม้วนใบ  แมลงบั่ว  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยแป้ง  มวนดอกรัก แมลงวันทอง  ตักแตน  เห็บ  เหา  หมัด  เหลือบ  มอดยาสูบ  มอดข้าวสาร  ด้วงงวงช้างและมด

พืชที่ใช้ ข้าว  ส้ม  กล้วย  องุ่น  กาแฟ  ชา  อ้อย  ยาสูบ  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  ฝ้าย  บร๊อคโคลี่  กะหล่ำปลี  กะหล่ำดอก  คื่นฉ่าย  หอม  ผักอื่น ๆ  ถั่วต่าง ๆ  แตงโม  ไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม 3% , 5% , 10% , 14%  จี  40%  ดับบลิวพี  และ  60%  อีซี

อัตราการใช้และวิธีใช้ ชนิด  10%  จี  ในแปลงเพาะกล้าข้าวใช้อัตรา  4-5  กก./ไร่  ในนาข้าวใช้  2-3  กก./ไร่  ชนิด  60%  อีซี  ใช้  15-60  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช

อาการเกิดพิษ เมื่อได้รับพิษเข้าไปจะทำให้มีอาการมึนงง  ปวดศีรษะ  ตาพร่า  คลื่นไส้  อาเจียน  ท้องร่วง  เหงื่อออกมาก  อ่อนเพลีย  เป็นตะคริว  ขาดออกซิเจน  อึดอัดแน่นหน้าอก  ม่านตาหรี่  น้ำตาและน้ำลายไหลออกมาก  กล้ามเนื้อกระตุก

การแก้พิษ ถ้าสัมผัสถูกผิวหนังต้องล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลายครั้ง  ถ้าเข้าปากให้รีบนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ให้ยาอะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  2-4  มก.  ฉีดเข้าทางเส้นเลือด  และฉีดซ้ำทุก ๆ  5-10  นาที  จนเกิดอาการ  atropinization  ในรายที่รักษาด้วยอะโทรปินซัลเฟทอย่างเดียวไม่หาย  ให้ใช้ยา  2-PAM  รักษาร่วมกัน  ห้ามใช้ยาพวกมอร์ฟีน  ธิโอฟิลลีน  และ  แอมมิโนฟิลลีน กับคนไข้

ข้อควรรู้                   

– ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  14  วัน

– เป็นพิษต่อผึ้งจึงไม่ควรใช้ในระยะที่ต้นไม้กำลังออกดอก

– เป็ดและห่านอ่อนแอกับสารกำจัดแมลงชนิดนี้มาก

– ห้ามใช้ผสมกับสารพวกคอปเปอร์  (copper)

– ใช้ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่นได้

– เป็นอันตรายเมื่อถูกกับผิวหนัง  หายใจหรือกินเข้าไป

ไดโคลเฟนไธออน

(dichlofenthion)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดไส้เดือนฝอย  แมลงในดิน  ออร์กาโนฟอสเฟท  และมีฤทธิ์ในการกำจัดแมลงได้เล็กน้อย ออกฤทธิ์ได้นานวัน  ไม่ดูดซึม  เป็น  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  270  มก./กก.  ทางผิวหนัง  6,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้ ไส้เดือนฝอยที่ไม่ทำให้เกิดซิส  (cyst)  แมลงที่อยู่ในดิน  และแมลงศัตรูปศุสัตว์

สูตรผสม  2.5%  Oil  และ  1%  AE

อัตราการใช้และวิธีใช้  ศึกษารายละเอียดจากฉลาก

อาการเกิดพิษ ผู้ได้รับพิษจะมีอาการ  ปวดศีรษะ  มึนงง  เบื่ออาหาร  อ่อนเพลีย  ตาพร่า  ปลายลิ้นและเปลือกตาจะมีอาการกระตุก  น้ำตาและเหงื่อออกมาก  คลื่นไส้  อาเจียน  ปวดเกร็งช่องท้อง  แน่นหน้าอก  หัวใจเต้นช้า  ชัก  หมดสติ  และอาจเป็นอัมพาต

การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง  ให้รีบล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้าเข้าปาก ให้รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์  สำหรับแพทย์ให้ฉีดผู้ป่วยด้วยยา  อะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  2  มก.  แบบ IV  หรือ  IM  และฉีดซ้ำทุก  10-15  นาที  ห้ามใช้ยา  Phenothiazines  Barbiturates. , Opiates และ  Theophyllines.

ไดคลอวอส

(dichlorvos)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสเฟท  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส  กินตาย  และมีฤทธิ์เป็นสารรมควันพิษได้ด้วย

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  56-58  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  500  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้ หนอนคืบกะหล่ำ  หนอนใยผัก  หนอนกระทู้ฝักข้าวโพด  หนอนกระทู้ผัก  หนอนเจาะโคนต้นกล้าถั่ว หนอนแก้วส้ม  หนอนชอนใบ  หนอนกระทู้กล้าข้าว  หนอนกระทู้ควายพระอินทร์  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยหอย  ไรต่าง ๆ  นอกจากนี้ยังใช้กำจัดแมลงศัตรูในบ้านเรือนในทางสาธารณสุขและในทางปศุสัตว์  เช่น  เหา  ไร  หมัด  ยุง  แมลงวัน  แมลงสาบ  มอดยาสูบ  ด้วงงวงและด้วงคอหยัก

พืชที่ใช้ ฝ้าย  องุ่น  ผักต่าง ๆ  แตง  มะเขือเทศ  ส้ม  ยาสูบ  กล้วย  ข้าว  ชา  และพืชอื่น ๆ  สำหรับในทางปศุสัตว์  ใช้กำจัดศัตรูของ  วัวเนื้อและวัวนม  หมู  แพะ  แกะและสัตว์ปีก

สูตรผสม 50%  อีซี

อัตราการใช้และวิธีใช้ ในการกำจัดศัตรูพืช  ใช้อัตรา  20-40  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ในทางปศุสัตว์ใช้อัตรา  0.05%  ทาตามตัวสัตว์  หรือใช้  2-5  ซีซี  ต่อเนื้อที่  100  ลูกบาศก์เมตร  โดยฉีดพ่นเป็นหมอกควัน

อาการเกิดพิษ  ผู้ได้รับพิษจะมีอาการอ่อนเพลีย  ปวดศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  เหงื่อออกมาก  ม่านตาหรี่  ตาพร่า ท้องร่วงและหัวใจอาจวายอย่างกะทันหัน

การแก้พิษ ถ้ามีอาการเกิดที่ผิวหนัง  ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ให้รีบนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ให้ใช้ยา  อะโทรปินซัลเฟท  ฉีดให้คนไข้ทันที  ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจให้ได้ถึง  1-2  มก.  วันละหลายครั้ง  และอาจใช้  2-PAM  ร่วมรักษาด้วยก็ได้

ข้อควรรู้                   

– ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  1-4  วัน

– เป็นอันตรายต่อผึ้ง  ไม่ควรใช้ในระยะที่ต้นไม้กำลังออกดอก

– เป็นอันตรายต่อปลา  อย่าปล่อยให้ปนเปื้อนกับน้ำในสระ

– ให้ผลในการน๊อคแมลงได้อย่างรวดเร็ว

– ใช้ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่นได้

– สารตกค้างมีฤทธิ์อยู่ได้  2-3  สัปดาห์

– อย่าใช้ผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

ไดโคโฟล

(dicofol)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดไรออร์กาโนคลอรีน  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  690  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  1,000-1,230  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้ ไรชนิดต่าง ๆ  กำจัดได้ทั้งในระยะที่ไรเป็นตัวอ่อนและตัวแก่

พืชที่ใช้ ส้ม  องุ่น  ฝ้าย  มะม่วง  มะนาว  ปอ  กุหลาบ  ชา  แตงกวา  มะเขือ  แตงโม  พริกไทย  ฟักทอง  สตรอเบอร์รี่  มะเขือเทศ  พืชไร่  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม 18.5% , 25%  อีซี  18.5%  และ  25%  ดับบลิวพี

อัตราการใช้และวิธีใช้  ชนิด  18.5%  อีซี  ใช้อัตรา  25-50  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  กวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  เมื่อตรวจพบว่ามีไรศัตรูพืชระบาด  สำหรับสูตรผสมชนิดอื่น  ให้ศึกษาอัตราการใช้จากฉลาก

อาการเกิดพิษ จะทำให้ผู้ได้รับพิษมีอาการปวดศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  กระวนกระวาย  เจ็บที่ปลายลิ้น  ริมฝีปากและบริเวณคางคล้ายกับถูกแทง  ขากรรไกรแข็งและปวด  ในกรณีที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการชักและตายได้

การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง  ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลายครั้ง  ถ้ากลืนกินเข้าไปต้องรีบนำคนไข้ส่งแพทย์  ถ้าไม่มีวิธีรักษาต้องทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการให้ดื่มน้ำ  1-2 แก้ว  แล้วล้วงคอด้วยนิ้วจนคนไข้อาเจียน  ทำซ้ำจนอาเจียนออกหมด  ถ้าคนไข้หมดสติอย่าทำให้คนไข้อาเจียน  และอย่าให้อาหารแก่คนไข้  อาจให้ยาถ่ายกับคนไข้ได้แต่ต้อง  ไม่ใช่ยาถ่ายประเภทที่มีน้ำมันและอย่าให้คนไข้ดื่มนม  สำหรับแพทย์  ถ้าคนไข้มีอาการชักหรือสั่น  ให้ฉีดด้วยยา  บาร์บิทูเรท  ร่วมกับแคลเซียมโซลูชั่น  10%  เข้าทางเส้นเลือด  ห้ามใช้มอร์ฟีนกับคนไข้

ข้อควรรู้                   

– ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  2-7  วัน

– เป็นอันตรายต่อเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง  หรือเมื่อกลืนกินเข้าไป

– ทำให้ดวงตาและระบบหายใจเกิดอาการระคายเคือง

– เป็นพิษต่อปลา

– ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่นที่ใช้กันโดยทั่ว ๆ ไปได้

– ไม่เป็นอันตรายต่อแมลงที่มีประโยชน์

ไดโครโตฟอส

(dicrotophos)

การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสเฟทประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก  22  มก./กก.  ทางผิวหนัง  225  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้ เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยไก่แจ้  เพลี้ยกระโดด  เพลี้ยแป้ง  เพลี้ยหอย  ไรชนิดต่าง ๆ หนอนม้วนใบ  หนอนกระทู้กล้า  หนอนกระทู้ควายพระอินทร์  หนอนกอ  หนอนเจาะลำต้น  หนอนใยผัก  แมลงดำหนาม  บั่ว  แมลงสิง  มวนเขียว  มวนแดง  ด้วงงวงเจาะสมอ  และแมลงอื่น ๆ

พืชที่ใช้ ข้าว  มันฝรั่ง  ธัญพืช  ส้ม  อ้อย  ปาล์ม  ยาสูบ  ทุเรียน  ถั่วลิสง  กาแฟ  ผักต่าง ๆ  และไม้ผลทั่วไป

สูตรผสม  24% , 33%  อีซี  และ  50%  อีซี

อัตราการใช้และวิธีใช้ สำหรับชนิด  24%  อีซี  โดยทั่วไปใช้อัตรา  20-40  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  กวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  ภายหลังจากตรวจพบว่ามีแมลงศัตรูพืชรบกวน  สำหรับสูตรความเข้มข้นชนิดอื่นให้ศึกษารายละเอียดจากฉลากก่อนใช้

อาการเกิดพิษ  ผู้ได้รับพิษจะมีอาการวิงเวียนและปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  คลื่นไส้  ตาพร่า  เหงื่อออกมาก  แน่นหน้าอก ปวดท้อง  น้ำลายไหล  และกล้ามเนื้อเกร็ง

การแก้พิษ  ถ้าถูกผิวหนังให้รีบล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ให้รีบนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ให้ใช้ยาอะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  2  มก.  ฉีดแบบ  IV  และฉีดซ้ำทุก  15  นาที  จนเกิดอาการ  atropinization  อาจใช้ยา  2-PAM  รักษาร่วมกับอะโทรปินซัลเฟทได้  แต่ห้ามใช้มอร์ฟีนและยาที่มีส่วนผสมของมอร์ฟีนโดยเด็ดขาด

ข้อควรรู้                   

– ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  2-7  วัน

– ออกฤทธิ์ได้เร็ว  สามารถเข้าหรือใช้ผสมร่วมกับสารกำจัดศัตรูพืชทั่วไปได้

– หลังการใช้ภายใน  8  ชั่วโมง  สารชนิดนี้จะถูกดูดซึมเข้าไปในต้นพืชได้มากกว่า  50%  และสามารถออกฤทธิ์อยู่ได้นาน  7-21  วัน



เข้าชม : 2193


ความรู้เกี่ยวกับ IT 5 อันดับล่าสุด

      โควิด-19 16 / มี.ค. / 2563
      ยาฆ่าแมลง 20 / ก.ค. / 2560
      ประวัตินางสีดา 20 / ก.ค. / 2560
      กาแฟมีประโยชน์หรือโทษ 20 / ก.ค. / 2560
      การปลูกข้าวโพดในกระถาง 20 / ก.ค. / 2560


 
ศูนย์การเรียนรู้ตำบลตลิ่งชัน
บ้่านป่าเส หมู่ที่ 4 ตำบลตลิ่งชัน  อำเภอจะนะ  จังหวัดสงขลา
โทรศัพท์ 091-1658-997 , 08-4969-9521 , 08-1189-9884 
  
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05